5 ต.ค.61 จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านผลผลิตทางเกษตรและประมงพื้นบ้าน แต่ในขณะนี้ภาคประมงไปไม่รอดยิ่งเฉพาะประมงทะเล ที่ถูกรัฐ วางกฎกติกา เป็นกฎเหล็กที่ร่างเป็นกฎหมาย ควบคุมกิจการกิจกรรมของประมงทะเล ทั้งหมดทั่วประเทศ ด้วยเหตุผลทางด้านการต่างประเทศ รัฐเลือกเอา กฎของ ยูเอ็นแต่ไม่เลือกเศรษฐกิจอันดับต้นๆของประเทศไทยที่ได้จากการทำประมงทะเล รวมทั้งแหล่งการใช้แรงงานภาคประมงทะเล เกี่ยวกับภาคประมงทะเล จึงจบหลายคนจึง หาทางเลือกใหม่ ในการประกอบอาชีพจากภาคประมงมาภาคเกษตรดูบ้าง เช่นนายขจรเกียรติบรรเลงจิต เกษตรกรตำบลบางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่พัฒนาที่ดินจำนวน 5 ไร่ เพาะพันธุ์ไส้เดือนขาย
นอกจากขายแล้ว ยังผลิตปุ๋ยชีวภาพ จากมูลไส้เดือน และส่วนผสมต่างๆขายเป็นปุ๋ยสำเร็จรูปขายดีจน ผลิตไม่ทันต้องจ้างแรงงานมาช่วยหลายคนด้วยกัน
นาย เอ๋ หรือ ขจรเกียรติ กล่าวว่า เริ่มต้นเป็นชาวประมงทะเล พอมีครอบครัวแล้วจึงเลิกอาชีพประมงทะเลหันมาทำประมงพื้นบ้าน เลี้ยงปลาต่างๆท้ายสุดขุดบ่อเลี้ยงปลาสวยงาม ปรากฏว่าตลาดปลาสวยงามไป ไม่รอดขาดทุนเป็นล้านบาท ลังเลอยู่นานพอสมควรว่าจะเริ่มต้นอะไรดี จึงปรึกษากับนักวิชาการการเกษตร ว่าจะลงทุนทำอะไรดีที่ได้เงินเร็ว และแน่นอนนักวิชาเกษตรแนะนำว่า เลี้ยงไส้เดือนแล้วเอามูลไส้เดือน มาทำปุ๋ยชีวภาพขายให้กับเกษตรกรชาวสวน เพราะมูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยที่วิเศษมาก วิเศษกว่า ขี้แดดนาเกลืออีก ลองทำดูเริ่มจากเล็กๆไปหาใหญ่ก่อน อย่าทำใหญ่ก่อน เพราะถ้ามันเกิดไม่ดีขึ้นมาจะได้ไม่เสียหายมาก เมื่อเห็นด้วยกับนักวิชาการการเกษตรจึงลองดูไปหาพันธุ์ไส้เดือน มาประมาณสัก 10 กะละมังซักผ้า เห็นจะได้
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ประกอบการเลี้ยงไส้เดือนมาศึกษา และดูงานจากผู้ที่เคยเพาะเลี้ยงไส้เดือนมาก่อนซื้อหนังสือมาอ่าน แล้วศึกษาไป ลงมือปฏิบัติ ทดลองไปพลางๆก่อน เมื่อเพาะเลี้ยงไส้เดือน รุ่นแรกเสร็จในเวลาที่เรียนรู้มา เมื่อมันมีขุยดิน ที่คนดั่งเดิมจะเรียกกันว่า ขี้ไส้เดือน ที่มันถ่ายแล้ว ทยอยออกมากองเป็นพะเนินนั้น เมื่อนำมาตากแดดให้แห้งจากดินเหนียวเป็นดินร่วน และผสมส่วนต่างๆเช่นขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ และขี้เลื่อยเก่าที่คลายความร้อนระอุแล้ว สูตรปุ๋ยน้ำหมัก ชีวภาพเป็นหัวเชื้อ ผสมกันเข้าแล้ว เข้าเครื่องโม่ในระหว่างนั้น ต้องฉีดน้ำ หล่อเลี้ยง พอให้แฉะมีความชื้นแล้ว นำมาผึ่งแดด หรือในที่โล่งลมถ่ายเทได้ ผึ่งไว้สัก 3-4 วัน ก็ตักมาใส่เครื่องโม่ชุดที่ 2 ที่ใช้เวลาโม่นานหน่อยไม่ต้องเติมน้ำเข้าช่วย เพราะเป็นการโม่ให้แห้งจากนั้นก็ตักใส่ถุงปุ๋ย แล้วนำไปแช่น้ำ สัก 3 วัน จึงนำมาเพาะไส้เดือน เพาะในถุงนั้นเลย หรือหาภาชนะอื่นๆ ที่ไม่รั่ว เช่น กะละมังพลาสติก ทิ้งไว้ประมาณ ไม่เกิน 3 วัน ไส้เดือนจะไขขี้มันออกมา ให้เก็บมูลไส้เดือนมาเลี้ยงอย่างเดียว
จากนั้นก็ทดลองเอาปุ๋ย ไส้เดือนไปใช้กับพืชสวนที่ปลูกไว้ เช่น มะนาว มะกรูดน้อยหน่า ทับทิม ชมพู่ฝรั่งเวียตนาม ฝรั่งกิมจู ละมุด พุทรา กล้วย อ้อยมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้ผลผลิตค่อนข้างจะสูงมากคุณภาพก็ดีมากส่วนอีกแปลงหนึ่ง ทดลองพืชล้มลุกบ้างเช่น ขิงข่าตะไคร้ กะเพา หัวระพา ต้นหอม ผักชี พริกตระกูลต่างๆ ได้ผลดีเช่นกัน ขั้นตอนแรก ทำแจกเพื่อนบ้านกิน บ้าง ญาติๆบ้าง จากนั้นก็จำหน่ายให้แม่บ้าน ใส่ท้ายรถ ไปจำหน่ายในตลาดนัด
โดยทั่วไปเมื่อผลผลิตดี คุณภาพดีนักวิชาการเกษตรให้การรับรองการันตี ให้ก็มีผู้มาเรียนรู้มากขึ้น นักเรียน นักศึกษาเริ่มเข้ามามากขึ้นทุกวัน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดจึงให้เปิดศูนย์เรียนรู้ สำหรับกลุ่มที่จะมาดูงานและให้เปิดเป็นวิสาหกิจชุมชน ของตำบลบางยี่รงค์อ.บางคนทีไป พร้อมกับให้หาคนงานมาผลิต
เพราะมีลูกค้ามาสั่งซื้อมากขึ้นบางรายซื้อเป็นคันรถกระบะ ส่วนใหญ่มาจากไกลๆถามว่าทราบจากไหน บ้างตอบว่าทราบจากเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน บางรายก็บอกว่าทราบมาจากสื่อ และจากนักวิชาการเกษตรที่ไปอบรม ได้แนะนำให้มาดูงานที่นี้พร้อมให้ซื้อตัวอย่างไปทำดูด้วยพอเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ภาคเกษตรกรรมและเพาะเลี้ยงสัตว์ ประเภทเลื้อยคลานคือไส้เดือนกิจการเริ่มโตมากขึ้น มีทั้งผู้มาเรียนรู้ ผู้มาดูงานจึงต้องขยาย กิจการมากขึ้น เพิ่มโรงงานอีก 2-3 คูหา เพิ่มคนงานแล้วให้แม่บ้านจัดการเรื่องการจัดจำหน่ายดูแลเรื่องการเงิน ส่วนเรื่องวิทยากร ก็ช่วยกันหากคณะใหญ่ลงมามากก็จะต้องช่วยกันในด้านการสาธิต วิธีการ เลี้ยงการดูแล และการเก็บผลผลิต และการส่งจำหน่ายแบ่งหน้าที่กันไปส่วนเรื่องรายได้ต้องกล่าวถึงการลงทุนก่อน ลงทุนเป็นล้านๆบาทแต่เก็บได้ทีละ 1-2 หมื่น ใหม่ๆท้อแท้เหมือนกัน
กลัวไม่คุ้มทุน เหมือนตอนเลี้ยงปลาสวยงามแต่ในที่สุดจากรายได้เป็นหมื่น เริ่มเป็นแสนบางเดือนได้ถึง 2-3 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ในหลักแสน อย่าคิดว่ารวยนะยังใช้หนี้ ตอนเลี้ยงปลาสวยงาม ยังไม่หมด ดียังต้องส่งลูกเรียนจนจบมหาวิทยาลัย ลูกเรียนจบเมื่อนั้นคงจะสบายกับเขาบ้าง
ส่วนราคาจำหน่าย ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนใช้ชั่งกิโลขาย แต่ส่วนใหญ่ใส่ถุงสำเร็จรูปจำหน่ายราคาถุงละ 35 บาทขึ้นไป ถ้าซื้อ 3ถุง จะคิดแค่ 100 บาท และยังมีถุงขนาดกลาง ราคาถุงละ 50–150 บาท ส่วนถุงใหญ่เท่ากับถุงปุ๋ย ราคา 150- 200 บาท ถ้าซื้อเยอะ แล้วไม่ได้เอารถมายินดีส่งถึงสวนเลย ขอค่าจัดส่งบ้างเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับผู้ที่จะนำสายพันธุ์ไส้เดือนไปเพาะเลี้ยงเอง ขยายพันธุ์เอง ก็มาติดต่อได้จะจำหน่ายเป็นถุงๆ ปุ๋ย ที่ใช้เพาะไส้เดือนอยู่แล้วส่วนราคา ไม่สามารถตกลงทางเอกสารได้เพราะไม่มีข้อมูล ว่าต้องการตัวโตขนาดไหนตัวโตจนให้ผลผลิตได้แล้วก็มี พึ่งจะอนุบาลก็มีต้องมาเลือกเอง และมาตกลงราคากันหน้าฟารม์กันเลย เพราะไม่สามารถนับเป็นตัวได้ถ้าจะชั่งกิโล ก็จะมีปัญหาเรื่องดิน ที่ ไส้เดือนอยู่น้ำหนักมันจะไม่เท่ากัน ทางที่ดี มาดูด้วยตนเองที่เพาะไว้จำหน่าย มีทั้งในถุงปุ๋ย และในกะละมังพล๊าสติกดำ
เมื่อไม่นานมานี้ ทางสำนักงานเกษตรจังวัดสมุทรสงคราม ได้มอบใบประกาศ ให้ว่าศูนย์เรียนรู้ ไส้เดือนตาหวานแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร อย่างเป็นทางการสถาบันไหน หน่วยงานไหน ต้องการมาดูงานหรือมาอุดหนุนกิจการยินดีต้อนรับทุกคณะขอให้บอกล่วงหน้าเท่านั้น โทรมากก่อนแล้วกันจะได้ไม่ผิดหวัง โทร. 092-258-6598
ยังมีอีกคำถามหนึ่ง ที่ต้องการถามและมีคนฝากถาม ว่าทำไมจึงตั้งศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนตาหวาน เพราะไส้เดือนไม่มีตา หรือมีก็แทบจะมองไม่เห็น สัตว์ประเภทนี้ ใช้การสื่อสารจากการสัมผัส เสียมากกว่า ได้รับคำตอบว่า เป็นเพราะแม่บ้านผมตาหวานมาก จนเป็นเอกลักษณ์ ประจำตัวจึงใช้ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนตาหวาน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี