วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘สุนัขจรจัด รุมกัดเด็ก’...ไขข้อข้องใจ‘กฎหมายคุ้มครองหมา ไม่คุ้มครองคน’(1)

‘สุนัขจรจัด รุมกัดเด็ก’...ไขข้อข้องใจ‘กฎหมายคุ้มครองหมา ไม่คุ้มครองคน’(1)

วันศุกร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 19.48 น.
Tag : กัด แก๊งเขี้ยวสยอง บาดเจ็บ พังงา สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย สุนัข หมา หมากัด หมาจรจัด หมารุมกัดเด็ก Like สาระ TSPCA
  •  

‘สุนัขจรจัด รุมกัดเด็ก’...ไขข้อข้องใจ‘กฎหมายคุ้มครองหมา ไม่คุ้มครองคน’(1)

2-3 วันที่ผ่านมา มีข่าว “สุนัขจรจัด” เกือบ 10 ตัว รุมกัดเด็กอายุ 7 ปี ร่างของเด็กพรุนไปด้วยคมเขี้ยว อาการสาหัส เป็นข่าวที่น่าตกใจ และน่าเป็นห่วงเด็ก


ขณะเดียวกันในสังคมออนไลน์ “นักเลงคีย์บอร์ด” จำนวนมากได้กระหน่ำด่ากฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์กันอย่างเมามัน ในทำนองว่า...

กฎหมายคุ้มครองหมา ... ไม่คุ้มครองคน ...!!!

ความจริงแล้ว ..... พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 มีเจตนารมณ์ป้องกันมิให้เกิดการทารุณกรรมสัตว์ ... อย่างมีเหตุมีผลในตัวเอง ... ไม่ได้มุ่งคุ้มครองสัตว์แบบไม่ลืมหูลืมตา .....

มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมฯ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร" ผมขอเน้นคำว่า...

"โดยไม่มีเหตุอันสมควร"

ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์ โดยมีเหตุอันสมควร ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ...... ครับ

นอกจากนี้ มาตรา 21 ได้บัญญัติกรณีการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ไว้อีกด้วย ซึ่งมีอยู่ถึง “11 กรณี” กรณีตามที่เป็นข่าว อยู่ใน “กรณีที่ 6” คือ การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

หมายความว่า ถ้าสัตว์ทำร้ายมนุษย์ หรือทำร้ายสัตว์อื่น หรือทำลายทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือบาดเจ็บ หรือทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ทุกคนมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะฆ่าสัตว์นั้นได้ เพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินได้

การฆ่าสัตว์ในกรณีนี้ ไม่เป็นการ “ทารุณกรรมสัตว์”!!!

ข้อยกเว้นดังกล่าว เป็นหลักกฎหมายทั่วไปในการป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักสัดส่วนความเหมาะสมตามพฤติการณ์ ย่อมมิใช่การทารุณกรรมสัตว์อย่างแน่นอน

สมมติว่า สุนัขกัดเด็กแล้วผ่านไป 2 วัน ญาติของเด็กช่วยกันจับสุนัขมัดแขวนไว้ แล้วใช้มีดกรีดหนัง เชือดเนื้อสดๆของสุนัข จนกระทั่งสุนัขสิ้นใจตาย เพื่อระบายความแค้น ... อย่างนี้ ....ไม่ใช่การป้องกันที่ชอบด้วยกฎหมาย .... แต่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ .... อาจต้องรับโทษตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 31 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกระทำเดียวกันนี้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 381 ฐานกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับความทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่เรียกกันว่า “กรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท” กรณีอย่างนี้ต้องลงโทษตามบทหนักเพียงบทเดียว...

ถ้าสุนัขที่รุมกัดเด็ก เป็นสุนัขที่มีเจ้าของ และเป็นสุนัขที่ดุ เจ้าของสุนัขอาจมีความผิดฐานเป็นผู้ควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 377 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเจ้าของสุนัขต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 433 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดให้เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรักษาไว้แทนเจ้าของ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น

เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น ฉะนั้น ผมยืนยันได้ว่า กฎหมายมุ่งคุ้มครองทั้งคนและสัตว์ ครับ

กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์มีเรื่องดีๆ ที่คนมักจะไม่ได้พูดถึง นั่นคือ...

“การจัดสวัสดิภาพสัตว์”!!!

มาตรา 22 กำหนดให้เจ้าของสัตว์ต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

คำว่า “การจัดสวัสดิภาพสัตว์” คือ การเลี้ยงหรือการดูแลสัตว์ ที่ทำให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับสัตว์นั้น มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่ มีอาหาร และมีน้ำอย่างเพียงพอ..... และมาตรา 23 กำหนดห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 22 และมาตรา 23 ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท ตามที่บัญญัติในมาตรา 32

ใครที่นำสุนัขไปปล่อยในวัด หรือปล่อยในที่สาธารณะ ให้เป็นสุนัขจรจัด มีความผิดตามมาตรานี้สำหรับ กรณีสุนัขจรจัด กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้แล้ว มาตรา 26 กำหนดว่าในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมาะสม

หมายความว่า เมื่อพบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมะสม คือ ต้องจัดให้สัตว์นั้นมีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับสัตว์นั้น มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่ มีอาหาร และมีน้ำอย่างเพียงพอ .........

ห้ามนำไปวาง “ยาเบื่อ”!!!

ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 ดังกล่าว อาจมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ครับ และอาจเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายปกครองอีกด้วย

งานที่จดทะเบียนไว้ ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ทราบ หากพบสุนัขที่หายแล้ว ต้องแจ้งภายใน 3 วัน (ข้อ 14)

ข้อบัญญัติได้กำหนดวิธีการที่เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติในการเลี้ยงสุนัข เป็นการควบคุมการเลี้ยงสุนัข ตั้งแต่สถานที่เลี้ยง การควบคุมมิให้สุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม ต้องควบคุมมิให้สุนัขก่อเหตุ เดือดร้อนรำคาญ ความเป็นอยู่ของสุนัขเรื่องอาหาร ความสะอาด การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสุนัข เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัขมาสู่คน แยกกักสุนัขที่สงสัยว่าเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของประชาชนพร้อมทั้งแจ้งหน่วยงานราชการ ห้ามเลี้ยงในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่ของบุคคลอื่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลของสุนัขในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานครโดยทันที (ข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18)

ถ้าไม่ประสงค์จะเลี้ยงสุนัขอีกต่อไป ต้องมอบสุนัขพร้อมบัตรประจำตัวสุนัขแก่บุคคลอื่น โดยเจ้าของใหม่ต้องแจ้งหน่วยงานที่จดทะเบียนไว้ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันรับมอบสุนัข หากไม่สามารถหาเจ้าของใหม่ได้ ต้องมอบสุนัขให้กรุงเทพมหานครดูแล โดยเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (ข้อ 19)

นอกจากนี้ มีข้อกำหนดการนำสุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยง ซึ่งต้องพก “บัตรประจำตัวสุนัข” และผูก “สายลากจูง” และสุนัขควบคุมพิเศษต้องใส่อุปกรณ์ครอบปาก และจับสายลากจูงห่างจากตัวสุนัขไม่เกิน 50 เซนติเมตร รวมถึงห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือเกินกว่า 65 ปี นำสุนัขควบคุมพิเศษออกนอกสถานที่เลี้ยง เว้นแต่อยู่ในกรง ที่ขัง หรือเครื่องควบคุมอื่น ที่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะป้องกันสุนัขมิให้เข้าถึงบุคคลภายนอก (ข้อ 20 ข้อ 21)

ข้อบัญญัตินี้ ได้กำหนดว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำ เป็นเจ้าของสุนัขด้วย ทั้งนี้ คงเห็นว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำ เป็นผู้ที่มีจิตเมตตาสงสารสุนัขจรจัด แต่ไม่ต้องการรับผิดชอบเกี่ยวกับสุนัขจรจัด และทำให้สุนัขจรจัดมีชีวิตอยู่ได้ ข้อบัญญัตินี้จึงกำหนดให้ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำ ต้องรับภาระในการควบคุมสุนัขจรจัดด้วย แต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนบทบัญญัติในส่วนนี้แล้ว ทำให้ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำไม่ต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าของสุนัข ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป...

บทความโดย : นายเจษฎา อนุจารี ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย(TSPCA)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มาช้าแต่มา! แม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่รังแรกของฤดูกาล 127 ฟองรอลืมตาดูลูกอีก 55-60 วัน มาช้าแต่มา! แม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่รังแรกของฤดูกาล 127 ฟองรอลืมตาดูลูกอีก 55-60 วัน
  •  

Breaking News

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved