คนส่วนใหญ่มักจะไม่นิยมนำพระที่แตกหรือหักมาไว้ในบ้าน โดยเฉพาะพระที่ทำด้วยปูนมักแตกหักได้ง่าย ผู้เขียนเรียนถามหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ถึงเหตุผล
หลวงปู่ “สมัยก่อนข้าเป็นฆราวาส ก็ห้อยพระหักเพราะเสียดายของ เมื่อก่อนเขาใช้ลวดถัก เดี๋ยวนี้ก็ยังเห็นเขาใช้กัน ไม่เห็นเป็นไร”
ผู้เขียน “แล้วความจริงเป็นอะไรหรือไม่ เพราะเคยฟังมาว่าแม้แต่พระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหัก ยังนำชิ้นส่วนมาแกะเป็นองค์เล็กๆ ใช้กันได้”
หลวงปู่ “พระที่ทำด้วยปูนหรือโลหะ ข้าอธิษฐานว่าเมื่อใดก็ตามที่ของที่ทำละลายเป็นน้ำ เมื่อนั้นจึงขอให้หมดอานุภาพ แล้วเมื่อไรจะละลายเป็นน้ำละแก”
ดังนั้น ถ้าพระของหลวงปู่หัก ไม่ต้องตกใจหรือเสียกำลังใจ เพราะคำตอบมีอยู่อย่างชัดเจน หลวงปู่เพียงแต่บอกว่า “ใครทำพระข้าหัก จะเสียใจไปตลอดชีวิต” ทั้งนี้เพื่อให้ทุกท่านมีความระมัดระวัง เนื่องจากของที่หักแล้วมักเกิดตำหนิ มองดูไม่สวยงามเท่าของที่สภาพสมบูรณ์
ผู้เขียน “การซ่อมแซมพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ที่คอหักหรือชำรุดนั้น มีอานิสงส์มากหรือน้อยกว่าการสร้างใหม่”
หลวงปู่ “ตามพระไตรปิฎกกล่าวว่า ซ่อมมีอานิสงส์มากกว่าการสร้างใหม่”
(คัดลอกจากหนังสือ 37 เรื่องเล่าธรรมะลึกซึ้งเข้าใจง่าย หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี