วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิด‘3 สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์’แบบละเอียด ฉบับ‘กรธ.-โคทม-สมชัย’

เปิด‘3 สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์’แบบละเอียด ฉบับ‘กรธ.-โคทม-สมชัย’

วันอังคาร ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562, 07.58 น.
Tag : เปิด3สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์แบบละเอียด กรธ. โคทม สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ กกต. วิธีคำนวณส.ส. Like สาระ
  •  

เปิด‘3 สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์’แบบละเอียด ฉบับ‘กรธ.-โคทม-สมชัย’

ก่อนหน้านี้ “ทีมข่าวแนวหน้าออนไลน์” ได้เสนอวิธีการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ “ปาร์ตี้ลิสต์” ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมเสนอต่อ กกต. ซึ่งคาดว่ามีทั้งหมด 3 วิธีที่จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ กกต. ภายในสัปดาห์นี้ แม้ผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคาดว่าจะมีการพิจารณาว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” คำร้องดังกล่าวไว้พิจาณาหรือไม่


งานนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องคำนึงว่าหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวินิจฉัย กกต.จะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่าคำร้องดังกล่าวผิดหรือไม่ผิดรัฐธรรมนูญ หรือ กกต.จะเดินหน้าลุยเคาะวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อต่อไป เพื่อประกาศผลการรับรองการเลือกตั้งในวันที่ 9 พ.ค.นี้ ให้ได้ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ได้เปิดประชุมสภานัดแรก

ทางทีมข่าวฯ ได้รวบรวมรายละเอียดของทั้ง 3 วิธีคิดคำนวณ ดังนี้

1.วิธีการคำนวณที่ กกต. มีอยู่ และสอดคล้องต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ “กรธ.”

เป็นสูตรที่คำนวณอัตราส่วน “โอเวอร์แฮง ซีท” โดยวิธีการเกลี่ยที่นั่ง ส.ส. ตามลำดับ พรรคที่มีเศษทศนิยมมากที่สุด พรรคละ 1 ที่นั่ง จนครบ 150 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการเกลี่ยไปตามลำดับ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคะแนนพึงมีต่อ ส.ส. 1 คน ทำให้พรรคที่อยู่ในเกณฑ์ทศนิยม ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รวม 25 พรรค แม้มีคะแนนเลือกตั้ง ไม่ถึงคะแนนพึงมีต่อ ส.ส. 1 คน ก็ตาม

โดยวิธีดังกล่าวมี 2 พรรคการเมืองที่จะไม่ได้รับจัดสรรส.ส.บัญชีรายชื่อ “พรรคเพื่อไทย” ได้ ส.ส.โอเวอร์แฮง ซีท และ “พรรคประชาชาติ” ที่ได้ค่าเฉลี่ย ส.ส.พึงมี หารมาแล้วได้ 6 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่พรรคได้ส.ส.แบบแบ่งเขต

ประกอบด้วย  1.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 2.พรรคอนาคตใหม่ 3.พรรคประชาธิปัตย์ 4.พรรคภูมิใจ 5.พรรคเสรีรวมไทย 6.พรรคชาติไทยพัฒนา 7.พรรคเศรษฐกิจใหม่ 8.พรรคเพื่อชาติ 9.พรรครวมพลังประชาชาติไทย 10.พรรคชาติพัฒนา 11.พรรคพลังท้องถิ่นไท 12.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 13.พรรคพลังปวงชนไทย 14.พรรคพลังชาติไทย

15.พรรคประชาภิวัฒน์ 16.พรรคพลังไทยรักไทย 17.พรรคไทยศรีวิไลย์ 18.พรรคประชานิยม 19.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 20.พรรคประชาธรรมไทย 21.พรรคประชาชนปฏิรูป 22.พรรคพลเมืองไทย 23.พรรคประชาธิปไตยใหม่ 24.พรรคพลังธรรมใหม่ และ25.พรรคไทรักธรรม

2.วิธีการคำนวณของ “นายสมชัย ศรีสุทธิยากร” อดีต กกต.

เป็นวิธีคำนวณ แบบเกลี่ยที่นั่ง ส.ส.ตามลำดับพรรคที่มีเศษทศนิยมสูงสุด แต่ให้เฉพาะพรรคที่มีคะแนนเลือกตั้ง ที่ไม่ต่ำกว่า คะแนนพึงมี ต่อ ส.ส. 1 คน  ทำให้มีพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ เพียง 14 พรรค โดยไปเพิ่มที่นั่ง ส.ส.โอเวอร์แฮง ซีท ที่เกิน มา 1 ที่นั่ง ให้กับพรรคอนาคตใหม่ ในรอบที่ 2 เนื่องจากเป็นพรรคที่มีคะแนนส่วนต่างของจำนวนส.ส.พึงมีกับเศษทศนิยม ที่สามารถเพิ่ม ส.ส. ได้

ประกอบด้วย  1.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 2.พรรคอนาคตใหม่ (ได้จำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 2 ที่นั่ง) 3.พรรคประชาธิปัตย์ 4.พรรคภูมิใจ 5.พรรคเสรีรวมไทย 6.พรรคชาติไทยพัฒนา 7.พรรคเศรษฐกิจใหม่ 8.พรรคเพื่อชาติ 9.พรรครวมพลังประชาชาติไทย 10.พรรคชาติพัฒนา 11.พรรคพลังท้องถิ่นไท 12.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 13.พรรคพลังปวงชนไทย 14.พรรคพลังชาติไทย

3.วิธีคำนวณของ “นายโคทม อารียา” อดีต กกต. (ชุดแรก)

วิธีนี้คล้าย กับของ นายสมชัย มีพรรคได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพียง 14 พรรคเช่นกัน เนื่องจากเป็นการคำนวณ เฉพาะพรรคที่มีคะแนนเลือกตั้ง ที่ไม่ต่ำกว่า คะแนนพึงมี ต่อ ส.ส. 1 คน 

“ต่างกัน” ตรงที่การคำนวณอัตราส่วนโอเวอร์แฮง ซีท “อ.โคทม” คำนวณโดยการตัดเศษทศนิยม ของพรรคเพื่อไทย  และพรรคประชาชาติ “ทิ้ง” เนื่องจากเป็นพรรคที่คำนวณแล้วไม่ได้ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม และเพิ่มที่นั่ง ส.ส.โอเวอร์แฮง ซีท ที่เกิน มา1 ที่นั่ง ให้กับ “พรรคอนาคตใหม่”

ประกอบด้วย  1.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 2.พรรคอนาคตใหม่ 3.พรรคประชาธิปัตย์ 4.พรรคภูมิใจ 5.พรรคเสรีรวมไทย 6.พรรคชาติไทยพัฒนา 7.พรรคเศรษฐกิจใหม่ 8.พรรคเพื่อชาติ 9.พรรครวมพลังประชาชาติไทย 10.พรรคชาติพัฒนา 11.พรรคพลังท้องถิ่นไท 12.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 13.พรรคพลังปวงชนไทย 14.พรรคพลังชาติไทย

ล่าสุด “นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย” อาจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า วิธีการคำนวณของ “อ.โคทม” มีความเป็นไปได้มากที่สุด จาก 3 วิธีดังกล่าว เพราะเป็นวิธีการคำนวณที่ยึดอยู่ในหลักการที่การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ต้องคำนวณเฉพาะพรรคที่มีคะแนนไม่ต่ำกว่าคะแนนพึงมีต่อ ส.ส. 1 คนเท่านั้น และต้องไม่นำ “พรรคเพื่อไทย” และ “พรรคประชาชาติ” ที่มี ส.ส.เขต ครบตามจำนวนพึงมีอยู่แล้ว ไม่ต้องนำมาคำนวณอีก

สุชาดา วันทอง

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ประธาน กกต.ยัน เรียก สว.รับทราบข้อกล่าวหา เป็นไปตามกฎหมาย

‘ทรัมป์’หนุนขึ้นภาษีคนรวย ร่วมจ่ายช่วยชนชั้นกลาง-รากหญ้า

ประธาน กกต.ลงพื้นที่ประจวบ-เพชรบุรี ดูความพร้อมก่อนเลือกตั้งเทศบาล

แชร์ว่อน! หนังสือกรมการปกครอง ขอเลิกเรียก'ลุง-ป้า' 'มท.'ชี้แจงแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved