วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘นครแห่งรถติด’คือคำตอบ  ‘รถเมล์ไทย’ไฉนรีบขึ้น-ลง?

‘นครแห่งรถติด’คือคำตอบ ‘รถเมล์ไทย’ไฉนรีบขึ้น-ลง?

วันพฤหัสบดี ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
Tag : รถติด รถเมล์ไทย
  •  

“เคยไปขึ้นรถเมล์ที่ญี่ปุ่น เรานี่ลุกยืนก่อนถึงป้ายจะมารอลง โดนคนขับด่านะ เพราะเขาต้องรับผิดชอบถ้าเราเป็นอะไรขึ้นมา ของเขาต้องรอรถหยุดสนิทถึงจะลุกจากที่นั่งแล้วค่อยเดินลง บ้านเรานี่ไล่ลงอย่างกับหมูกับหมา”, “เราเคยลุกไปกดแล้วมานั่ง ก็โดนไล่ มายืนรอสิ จะลงป้ายนี้ไม่ใช่หรือ แล้วรถพวกนี้ เวลาเบรกก็นะ” , “เห็นด้วยมากที่สุดเลยค่ะเรื่องนี้ แถมการต้องแสดงตัวว่าจะลงโดยการลุกมาเตรียมตัวตอนรถวิ่งนี่ไม่ใช่เลย ไม่ใช่เลย และรถควรจอดทุกป้ายเสมอ ไม่ใช่ถ้าไม่กดกริ่งคือไม่จอด จะ ขสมก. หรือ รถร่วมก็ยังต้องปรับปรุงค่ะ”

บางส่วนจากความเห็นของผู้คนบนโลกออนไลน์ หลังมีเฟซบุ๊คแฟนเพจบางแห่งตั้งคำถาม “ทำไมรถเมล์เมืองไทยผู้โดยสารจะลงจากรถต้องเตรียมตัว? โดยกดกริ่งก่อนถึงป้ายแล้วมายืนรอหน้าประตูรถ” พร้อมกับเปรียบเทียบกับรถเมล์ในประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งจะจอดทุกป้ายไม่ว่าจะมีคนขึ้น - ลงหรือไม่ ขณะเดียวกันผู้โดยสารยังสามารถนั่งจนถึงป้ายให้รถจอดสนิทแล้วค่อยลุกออกมาเดินลงจากรถ “ไม่เห็นต้องรีบร้อน” เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองหลวงของประเทศไทย อันเป็นพื้นที่ที่มีรถเมล์ให้บริการจำนวนมาก


ท่ามกลางความเห็นทำนองก่นด่าบริภาษพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร (กระเป๋า) “สกู๊ปแนวหน้า” ขอใช้พื้นที่สะท้อนมุมมองจาก “คนรถเมล์” อาทิ เรื่องเล่าจาก คนขับรถเมล์สังกัด “องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)” อายุ 39 ปี รายหนึ่ง ที่วิ่งรถเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ - จ.ปทุมธานี (ทิศเหนือ)มาแล้ว 6 ปี เขากล่าวชัดๆ เต็มเสียง “เมืองไทยไม่มีทางทำอย่างในต่างประเทศได้” ด้วยเหตุผลคือ

“ประการแรก..จะไม่มีทางเห็นคนไทยเข้าแถวรอขึ้นรถเมล์เด็ดขาด ทุกคนจะวิ่งกรูกันแย่งขึ้นให้เร็วที่สุดทันที” ซึ่งต่างจากในต่างประเทศที่ผู้ใช้รถเมล์จะยืนต่อแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย “แต่เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจ เพราะต่างคนต่างกลัวจะไม่ได้นั่ง”เนื่องจาก “เชื่อมโยง” กับอีกเหตุผลคือ “ประการที่สอง..การจราจรกรุงเทพฯ ติดขัดมาก” ถ้าเลือกได้ “คงไม่มีใครอยากทนยืน”รวมถึงรอรถคันถัดไปที่อาจใช้เวลานาน

“ที่ผู้โดยสารต้องแย่งกันขึ้นรถ กลัวไม่ได้ไปเป็นเรื่องหลัก รองลงมาคือกลัวไม่ได้นั่ง แล้วรถก็ติดมาก เวลาขับช้าก็บอกว่าลากพอขับเร็วก็บอกหวาดเสียว บางทีก็จอดเทียบป้ายไม่ได้เพราะรอบๆ มีทั้งแท็กซี่ ทั้งรถตู้จอดแช่ เพราะถ้าหักเข้า - หักออกก็ช้าอีก ที่มันเป็นแบบนี้เพราะบัสเลน (Bus Lane) ที่เมื่อก่อนเคยกำหนดไว้ให้เฉพาะรถเมล์วิ่งมันหายไป เพราะจำนวนรถบนถนนเพิ่มขึ้น คือคนใช้รถส่วนตัวกันเยอะ” พนักงานขับรถสังกัด ขสมก. รายนี้กล่าว

ไม่ต่างจาก กระเป๋ารถเมล์สังกัด “รถเอกชนร่วมบริการ” อายุ 48 ปี อีกราย ผ่านชีวิตการเป็นกระเป๋ารถเมล์มาแล้ว 26 ปีในหลากหลายเส้นทางทั่วกรุงเทพฯ - ปริมณฑล เธอเล่าว่า “รถเมล์เข้าป้าย..แค่จอดรอให้ผู้โดยสารขึ้น - ลงให้เรียบร้อย ครู่เดียวก็เจอสารพัดยานพาหนะที่ตามมาข้างหลังบีบแตรไล่แล้ว หนักหน่อยบางคันเปิดกระจกตะโกนด่าก็มี” และเอาเข้าจริงๆ“ผู้โดยสารเองก็รีบจะให้ไปเร็วๆ ด้วย” ถ้าขับช้าก็จะมีทั้งเสียงนินทาไปจนถึงถูกร้องเรียน

“เคยได้ยินผู้โดยสารบ่นว่า “จะไปทันไหม” ทั้งที่เป็นช่วงเวลารถติด บางคนมีบ่น “คนขับกินเต่ามาหรือ” หรือเคยมีกระทั่งคนขับบางคนโดนร้องเรียนข้อหา “ขับรถช้า” แปลกไหม? ปกติเขาร้องเรียนกันมีแต่ขับรถเร็วประมาทหวาดเสียว แต่นี่โดนร้องเรียนเรื่องขับรถช้า เราก็ช่วยชี้แจงว่าคนขับแกอายุมากแล้ว จะให้ขับเร็วได้เท่าไรกัน เลนซ้ายก็มีทั้งรถตู้ แท็กซี่ มีมอเตอร์ไซค์อีก ถ้ารถเมล์ขับตามๆ ไป ไม่ออกเลน 2 เลน 3 ก็ช้า โดนด่าอีก” เธอกล่าว

กระเป๋ารถเมล์สาวใหญ่รายนี้ ยังกล่าวอีกว่า “ขอให้ผู้โดยสารเอาใจเขาใส่ใจเราบ้าง ไม่ใช่เห็นว่าเป็นผู้ให้บริการแล้วจะทำอะไรก็ได้” เช่น บางคนเอาแต่เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใส่หูฟังเพลง ไม่ได้ยินหรือไม่สนใจที่กระเป๋าแจ้งว่าป้ายต่อไปเป็นที่ใด หรือกระเป๋าไปถามว่าลงป้ายไหนก็ไม่บอก พอลงไม่ทันก็มาบ่นว่าคนขับไม่จอด พอเกิดเรื่องขึ้นก็มาโทษผู้ให้บริการ หรือพอไปเตือนไปบอกแม้จะใช้ถ้อยคำสุภาพแต่ก็ถูกด่าหรือแสดงกิริยาไม่พอใจใส่พนักงาน

อีกข้อห่วงใยบนโลกออนไลน์ซึ่งระบุว่า “การที่ผู้โดยสารลุกเดินมารอที่ประตูรถเมล์อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ” ทำให้ในประเทศเจริญแล้วไม่มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้น นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ให้ความเห็นว่า อุบัติเหตุที่เกี่ยวกับรถเมล์แบ่งปัจจัยได้ 3 ส่วน 1.พนักงานขับรถ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการไม่ปิดประตูรถขณะรถกำลังแล่น การเปิดประตูให้ลงโดยยังไม่จอดเทียบป้าย การจอดรถไม่สนิท

รวมถึง “ความรู้สึกไม่พอใจที่ได้ยินเสียงกริ่งหลายครั้ง” บางคนอาจคิดไปว่า “จะกดย้ำอะไรนักหนา” ก็อยากให้เข้าใจว่า “ผู้โดยสารไม่ได้มีแค่คนเดียว..คนขับโปรดใจเย็นอย่าถือเอามาเป็นอารมณ์” ขณะเดียวกัน กระเป๋าก็ควรช่วยบอกคนขับด้วยว่าผู้โดยสารลงครบแล้วหรือยัง 2.ผู้โดยสาร บางครั้งไม่ได้เตรียมตัวแต่พอถึงป้ายก็รีบวิ่งออกมา การรีบลงโดยที่รถยังไม่จอดสนิท ตลอดจน “การใช้โทรศัพท์มือถือขณะยืนบนรถหรือเดินขึ้น - ลงรถ จนจับราวโหนไม่แน่น หรือไม่ดูว่ามีมอเตอร์ไซค์วิ่งมาทางซ้ายหรือไม่” อาจเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้โดยสารก็ต้องระมัดระวังด้วย

และ 3.สิ่งแวดล้อมหรือโครงสร้างเชิงระบบ ซึ่งมีตั้งแต่ “การให้ค่าตอบแทนพนักงานขับรถ - พนักงานเก็บค่าโดยสารแบบเน้นส่วนแบ่งค่าตั๋วเป็นหลัก ในกลุ่มรถเอกชนร่วมบริการ” กดดันให้ต้อง “ทำรอบ” เพื่อให้มีรายได้มากพอเลี้ยงตนเองและครอบครัว หรือ “การจราจรที่ติดขัด” ทำให้เมื่อคนขับรถเมล์จอดรถสนิทไม่ว่าจะชิดป้ายที่เลนซ้ายสุดหรือจอดที่เลนถัดมาก็ตามเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้น - ลงรถ มักถูกยานพาหนะอื่นๆ บีบแตรไล่เพราะ “คนทุกคน - รถทุกคันจะรีบไปให้เร็วที่สุด” เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยกดดันให้คนขับรถเมล์ต้องขับเร็วรวมถึงจอดรถไม่สนิทได้เช่นกัน

“จะโยงโจทย์ไหนเข้ามามันก็พันกันหมด เพราะเมื่อไรก็ตามที่ทุกคนต้องเร่งรีบ ไม่ว่าจะด้วยค่าตอบแทน ไม่ว่าจะด้วยเวลาเพราะรถมันติด พอมันมีปัจจัยพวกนี้เป็นตัวเสริม อีกอันก็ป้ายรถเมล์ตรงสี่แยก สมมุติเป็นแยกใหญ่ ไฟแดงทีก็แดงนาน สมมุติระหว่างรอผู้โดยสารลง ไฟเขียวปุ๊บจะรีบเร่งเลยเพราะเขารู้ว่าถ้าไปไม่ทันมันก็ยาวอันนี้ก็เป็นอีกปัจจัย มันอาจจะต้องมาเน้นสังคมให้ถอยกลับมา ถ้ายังเน้นเรื่องความปลอดภัยเราก็ต้องปรับตัวว่า “เออ!..ไม่ทันก็คือไม่ทัน” แต่ไม่ใช่เร่งเผื่อทัน

เพราะมันก็จะไปพันกับพฤติกรรมอื่นๆ อีก เช่น เห็นไฟเหลือง รู้ว่าแยกนี้ติดนาน เหลืองก็ไปเลย ตามน้ำไป ยิ่งถ้าแยกใหญ่ยิ่งอันตราย มันไปแดงตรงกลางแยก ผู้โดยสารก็ต้องปรับตัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่คนขับฝ่ายเดียว ตัวคุณก็ต้องเตรียมพร้อม ฝ่ายคนขับก็ต้องเข้าใจ และระบบก็ต้องถูกตั้งคำถามว่าเราจะมาอยู่กับการจ่ายค่าตอบแทนตามรอบวิ่ง ตามเปอร์เซ็นต์ตั๋วอีกนานเท่าไร” นพ.ธนะพงศ์ กล่าวในท้ายที่สุด

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวเน็ตร่วมส่งแรงใจทีมสุนัขกู้ภัย\'โคล่า-การ์มิน\'ภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตึกถล่ม ชาวเน็ตร่วมส่งแรงใจทีมสุนัขกู้ภัย'โคล่า-การ์มิน'ภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตึกถล่ม
  • พิษแผ่นดินไหว!! \'น้ำพุร้อน\'หยุดพุ่งจากใต้ดิน \'บ่อน้ำแร่ปาย\'ต้นน้ำสีขุ่นมัว ต้องสั่งปิดชั่วคราว พิษแผ่นดินไหว!! 'น้ำพุร้อน'หยุดพุ่งจากใต้ดิน 'บ่อน้ำแร่ปาย'ต้นน้ำสีขุ่นมัว ต้องสั่งปิดชั่วคราว
  •  

Breaking News

เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved