วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทยจี้แก้กม.  เข้มงวดใช้เครนหลังเกิดเหตุถล่มบ่อยครั้ง

นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทยจี้แก้กม. เข้มงวดใช้เครนหลังเกิดเหตุถล่มบ่อยครั้ง

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : สมาคมวิศวกรโครงสร้าง เครน เครนถล่ม
  •  

(บน) 23 ม.ค. 2562 เหตุเครนถล่มในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมย่าน ถ.พระราม 36 ซอย 45 ทำให้มีคนงานเสียชีวิต 5 ศพ และบาดเจ็บ 5 คน

(ล่าง) 19 มิ.ย. 2562 เหตุเครนถล่มในโครงการก่อสร้างโรงแรมย่านเจริญกรุง-บางรัก ซอยเจริญกรุง 36 ทำให้โรงยิมของ รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์ ได้รับความเสียหาย และมีนักเรียนบาดเจ็บ 10 คน


ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย กล่าวถึงเหตุการณ์เครนถล่มที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรุงเทพฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องร่วมมือกันในการป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต โดยในทางเทคนิคและในทางกฎหมาย สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1.กำหนดให้เครนหรือปั้นจั่นเข้าข่ายเป็นโครงสร้างอาคารตามความหมายของ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพื่อให้ต้องมีการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการติดตั้งและการใช้งานเครน

“กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้การขออนุญาตเฉพาะส่วนที่เป็นตัวอาคารเท่านั้น แต่ทาวเวอร์เครนถือว่าเป็นเครื่องจักรในการก่อสร้างจึงไม่ต้องขออนุญาต ทั้งที่ในความเป็นจริงทาวเวอร์เครนมีลักษณะเป็นโครงสร้างเหล็ก จึงควรกำหนดให้เข้าข่ายเป็นอาคารด้วย เพื่อที่จะต้องขออนุญาตก่อสร้างเช่นเดียวกับอาคารทั่วไป” นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย กล่าว

ศ.ดร.อมร กล่าวต่อไปว่า 2.เครนที่ใช้ในการก่อสร้างมี 2 ลักษณะได้แก่ ทาวเวอร์เครนชนิดแขนราบ (Hammer Crane) และ ทาวเวอร์เครนชนิดแขนกระดก (Lufting Crane) เนื่องจากทาวเวอร์เครนชนิดแขนราบมีพื้นที่ทำการกว้างตามแนวรัศมี ซึ่งอาจยื่นล้ำออกไปนอกขอบเขตไปพื้นที่ข้างเคียง จึงควรจำกัดการใช้งานในเขตที่มีอาคารข้างเคียงและควรพิจารณาใช้งานทาวเวอร์เครนชนิดแขนกระดกซึ่งมีพื้นที่ทำการแคบภายในอาคารที่กำลังก่อสร้าง เพราะจะทำให้เกิดความปลอดภัยมากกว่า

3.ควรมีกฎหมายกำหนดให้ต้องตรวจสภาพเครนตามอายุการใช้งาน เนื่องจากเครนที่ใช้ส่วนใหญ่มักผ่านการใช้งานมาแล้วหลายครั้ง ทำให้สภาพไม่สมบูรณ์ เป็นสนิม น๊อตและสลิงยึดไม่ครบถ้วน และ 4.เจ้าพนักงานท้องถิ่นควรบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะต้องจัดให้มีนายตรวจ ตรวจตราสถานที่ก่อสร้างเป็นประจำ เช่น มีวิศวกรที่มีใบอนุญาตกำกับการก่อสร้างหรือไม่ มาตรการในการป้องกันสิ่งของตกหล่นพื้นที่ข้างเคียง เป็นต้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

True CJ ยืนหนึ่งแห่งปี! กวาดรางวัลใหญ่ ด้วยผลงานซีรีส์คุณภาพ 'Good Doctor หมอใจพิเศษ'

'เบนซ์ พรชิตา'Victoria’s Secret เมืองไทย 'มิค'เสิร์ฟแฟชั่นคู่รักปีกแดงไฟลุก

‘หมอเปรม’ยื่น‘มงคล’ขอชะลอการเลือกกรรมการองค์กรอิสระ

‘สมศักดิ์’วีโต้แล้ว! มติ‘แพทยสภา’ลงโทษหมอคดีชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved