วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ยกระดับ ‘ผ้าฝ้ายทอมือ’  ภูมิปัญญาผสานงานวิจัย

สกู๊ปแนวหน้า : ยกระดับ ‘ผ้าฝ้ายทอมือ’ ภูมิปัญญาผสานงานวิจัย

วันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ผ้าฝ้ายทอมือ
  •  

“โอท็อป (OTOP)” หรือโครงการ “1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์” มีเป้าหมายยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สินค้าขึ้นชื่อทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งจากจุดเริ่มต้นในปี 2544 โครงการ OTOP ก็ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาตามลำดับ ไม่เพียงแต่สินค้าที่เป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรือสิ่งของที่จับต้องได้เท่านั้น ยังรวมถึงไปถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมด้วย

“ผ้าฝ้ายทอมือ” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อของไทย โดย “จังหวัดเชียงใหม่” เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตที่สำคัญ ดังที่ ผศ.ดร.ชินานาฏ วิทยาประภากร อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) เล่าว่า ที่ “อำเภอฮอด” มีลูกค้าสั่งซื้อผ้าฝ้ายทอมืออย่างต่อเนื่องจนเกิดปัญหาผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด เนื่องจากจำนวนสมาชิกกลุ่มทอผ้ามีน้อย อีกทั้งยังพบปัญหาเรื่องคุณภาพด้วย


“มีปัญหาเบื้องต้นหลายอย่าง เช่น การควบคุมคุณภาพด้านความสม่ำเสมอของเฉดสีธรรมชาติ การย้อมอย่างไรไม่ให้สีตกสีซีด การอบเส้นด้ายให้แห้งเพื่อป้องกันเชื้อราและกลิ่นเหม็นอับ การเพิ่มผลิตภาพและลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต การออกแบบลายประยุกต์ การทอผ้าให้ทันกับออเดอร์ (Order) ที่สั่งเข้ามา ซึ่งตอนนี้กำลังการผลิตมีน้อย แต่ออเดอร์ที่เข้ามาเยอะมาก ทางกลุ่มทอไม่ทัน” ผศ.ดร.ชินานาฏ ระบุ

ผศ.ดร.ชินานาฏเล่าต่อไปว่า ปัญหาทั้งหมดที่ได้จากการสอบถามช่างทอผ้าในชุดชนดังกล่าว นำไปสู่การทำงานวิจัย “โครงการการยกระดับคุณภาพผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ต่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า” เพื่อสนับสนุนกลุ่มทอผ้าฝ้ายที่ อ.ฮอด โดยค้นหาแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต การลดต้นทุนพลังงาน การใช้น้ำในกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและใช้ให้น้อยที่สุดเพื่อลดปริมาณการปล่อยน้ำทิ้งสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิตแต่ยังคงคุณค่าและเอกลักษณ์ของผ้าฝ้ายทอมืออำเภอฮอดเอาไว้ โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้มีวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วม 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มอาชีพผ้าฝ้ายอำพัน และ 2.กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านตาลกลาง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) ยกระดับคุณภาพผ้าฝ้ายทอมือ จากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้

โครงการ แบ่งงานวิจัยออกเป็น 4 หัวข้อ 1.การล้างเส้นด้ายฝ้ายก่อนการย้อมสีด้วยเทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิ้ล (MNBs) โดยใช้เทคโนโลยีฟองอากาศขนาดเล็กทดแทนการใช้สารเคมีและความร้อนสูงในการทำความสะอาดกำจัดไขมันในเส้นด้ายฝ้าย เนื่องจากไขมันที่ขัดขวางการยึดติดของโมเลกุลสีในเส้นด้ายฝ้ายถูกกำจัดออกไป ลดปัญหาสีซีด สีจาง กระบวนการนี้ทำให้ใช้น้ำน้อยลงถึงร้อยละ 75

นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการปรับสภาพผิวของเส้นด้ายฝ้ายให้มีความเรียบมากขึ้น เทคโนโลยี MNBs จัดเป็นเทคโนโลยีสะอาดที่ใช้ต้นทุนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.การสกัดสีจากพืชธรรมชาติด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์ด้วยเครื่อง Pulse electric field (PEF) จากเดิมทางกลุ่มทอผ้าใช้เวลาในการต้มแช่เปลือกไม้เพื่อสกัดสีแล้วทิ้งไว้ให้น้ำย้อมเย็นตัวลงประมาณ 24 ชั่วโมง แต่เทคโนโลยีสนามไฟฟ้าพัลส์ใช้เวลาสกัดสีจากเปลือกไม้เพียงแค่ประมาณ 10-15 นาที ทำให้ช่วยลดทั้งเวลาและพลังงาน

3.เครื่องอบเส้นด้ายแสงอินฟราเรดร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ เดิมทีทางกลุ่มทอผ้าใช้เครื่องอบผ้า ก่อนนำไปตากตามสภาพธรรมชาติโดยใช้เวลา 2-3 วัน หากฝนตกทำให้เส้นด้ายไม่แห้ง เหม็นอับ มีเชื้อรา จากผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถลดเวลาการอบเหลือเพียงระดับชั่วโมงเท่านั้น ภายใต้ปริมาณเส้นด้ายและสภาวะของเครื่องที่เหมาะสม ทำให้ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น

4.กี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติ เป็นการเพิ่มกำลังการผลิต ออกแบบและอนุรักษ์คุณค่าลวดลายดั้งเดิมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เดิมทีชาวบ้านทอได้ 4-5 เมตร/คน/วัน ขณะที่ผ้าที่ผ่านการทอด้วยกี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติสามารถเพิ่มกำลังการทอได้มากกว่า 10 เมตร/คน/วัน นอกจากนี้คณะวิจัยได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพ เช่น ลักษณะท่านั่งที่ไม่แข็งจนเกินไป ท่าเหยียดงอแขนและการใช้แรงงานของผู้ทอด้วย

“กระบวนการตั้งแต่เตรียมเส้นด้ายไปจนถึงการย้อมสีธรรมชาติใช้เวลา 2-3 วัน แต่ถ้าลดเวลาลงด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาโดยที่ชาวบ้านใช้งานได้ง่าย จะตอบโจทย์ของกลุ่มทอผ้าฝ้ายได้ตรงจุด อย่างการล้างเมื่อก่อนล้างด้วยสบู่เหลว บางครั้งล้างน้ำออก พอไปย้อมไขมันออกไม่หมด ก็ไปขัดขวางการยึดติดของเม็ดสีกับเส้นใย งานวิจัยก็จะลดขั้นตอนการล้างโดยใช้น้ำสิ้นเปลืองลง หรือการออกแบบกี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัตินอกจากมีกำลังการผลิตที่มากขึ้นแล้วยังคำนึงถึงการดูแลเรื่องสุขภาพ ลงรายละเอียดเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน” ผศ.ดร.ชินานาฏ กล่าว

ตัวอย่างความเห็นของผู้ใช้งาน อำพัน ทิพราชา ประธานกลุ่มอาชีพผ้าฝ้ายอำพัน กล่าวว่า ผ้าฝ้ายที่ทอเป็นซิ่นของกลุ่มจะใช้การเย็บมือซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าฝ้ายที่นี่นั่นคือ “มีเล็บเย็บมือ” ที่มีความประณีตบรรจงซึ่งต้องใช้เวลานาน ซึ่งงานวิจัยของ มทร.ล้านนา ก็ช่วยทำให้ลดขั้นตอนไปได้พอสมควร ปัจจุบันยังมีการนำมาแปรรูปเป็นเสื้อหรือกางเกงเพื่อสามารถเป็นทางเลือกแก่กลุ่มลูกค้า โดยการเย็บขึ้นรูปกลุ่มชาวบ้านจะใช้จักรเย็บ

“งานวิจัยที่ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับ มทร.ล้านนา นั้นทำให้ทางกลุ่มได้ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับผ้าฝ้าย ทั้งเรื่องการย้อมสี การอบ การปรับเปลี่ยนลายใหม่ประยุกต์กับลวดลายเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่ผสมผสานไปด้วยกัน ทำให้ทางกลุ่มมีแนวคิดและเกิดความหลากหลายในการผลิตชิ้นงานมากขึ้น” ประธานกลุ่มอาชีพผ้าฝ้ายอำพัน กล่าว

แม้จะมีเสียงตอบรับที่ดีจากชุมชนช่างทอผ้า แต่ทางคณะผู้วิจัยยังเห็นว่ายังคงต้องศึกษากันต่อไปเพื่อปรับกระบวนการทำงานของเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานได้อย่างลงตัวที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ยังคงรักษาคุณค่าของภูมิปัญญาดั้งเดิมเอาไว้ได้!!!

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สกสว.)

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) 2 คู่หู ชวนจับตา! '4ปราสาท-มวยไทย' เมื่อ'อุ๊งอิ๊งค์'นั่งคุม'ก.วัฒนธรรม'

(คลิป) 'ทักษิณ'นั่งรถกันกระสุน เปิดไทม์ไลน์วันอวสาน 'ตระกูลชิน'

‘อดีตรองอธิการบดี มธ.’ขยี้เงื่อนไข‘พรรคประชาชน’กลบเกลื่อนเหมือนช่วยผ่าทางตัน

กมธ.กิจการเด็กฯลงพื้นที่เชียงราย หวั่นกลุ่มเปราะบางรับผลกระทบหนักสุดสายน้ำปนเปื้อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved