28 ตุลาคม 2562 ผศ.ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุสาหกรรมการเกษตรมีความต้องการใช้งานพลาสติกที่สูงขึ้นตามปริมาณเกษตรกรที่สนใจในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นซึ่งการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบพลาสติกสังเคราะห์โดยทั่วไปไม่ค่อยได้รับความนิยมนำกลับมารีไซเคิล เนื่องจากมีการปนเปื้อนสูงทำให้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากต่อการที่จะเตรียมวัตถุดิบพลาสดิกขึ้นมาใหม่นี้
ตลอดจนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านปริมาณขยะจากพลาสติกเพิ่มมากขึ้นและในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้น จะมีการใช้สารเคมีพวกสารประกอบ พาทาเลก ที่เป็นสารตัวเติมประเภทพลาสติไซเซอร์ (สารที่ใส่ลงในพลาสติกแล้วทำให้พลาสติกยืดหยุ่นดีขึ้น)สารประกอบพาทาเพทนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะเตรียมผลิตไบโอคอมโผสิตฟิล์ม จากพอลิแลคติกแอชิดหรือพีแอลเอ ผสมกากกาแฟ โตยใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติปราศจากการใช้สารเคมี เพื่อพัฒนาเป็นพลาสวติกด้านการเกษตรถุงเพาะปลูก ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนและมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง
ผลงาน " NU Bio Bag " ถุงปลูกย่อยสลายทางชีวภาพจากพลาสติกพีแอลเอผสมกากกาแฟ เป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ โดยทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาจากผลงานวิจัย เข้ามาช่วยในกระบวนการผสมระหว่างพลาสติกพีแอลเอกับกากกาแฟ โดยใช้เครื่องบดผสมแบบเกลียวคู่ (twin-scew extruder) และขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่าฟิล์มด้วยเครื่องเป่าฟิล์ม (blow film extruder) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถผลิตได้ระดับอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตมีความสะดวกรวดเร็ว ราคาค่าใช้จ่ายไม่แพง และผลิตภัณฑ์ฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟนี้ จัดเป็นพลาสติกที่มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีเข้ามาเจือปนในผลิตภัณฑ์
โดยผลงานนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในด้านการเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ถุงปลูกเพาะชำพืช ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% พร้อมทั้งสามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟ นำไปใช้ในงานถุงใส่ผลิตภัณฑ์ทางสปา/โรงแรม เช่น ถุงใส่หมวกคลุมผม ถุงใส่คัทเติ้ลบัต โดยทางโรงแรมสุโขทัเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย และโรงแรมแลดูปราณ รีสอร์ท จ.ประจวบคีรีขันธ์กำลังใช้งานจริงของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟ เพื่อนำไปใช้งานทางด้านฟิล์มบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้อง เนื่องจากฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟสามารถช่วยป้องกันแสงยูวีได้ จึงช่วยรักษาโปรตีนในขัวกล้องให้ทนต่อแสงยูวี เพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาข้าวกล้องให้มีคุณภาพที่ดี โดยนวัตกรมนี้ถือว่าเป็นการรักษ์โลกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีต้นทุนต่ำและสามารนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ อีกทั้งได้ผลิตภัณฑ์ถุงปลูกเพาะชำพืช ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ช่วยลดเวลาในขั้นตอนการนำกล้าไม้ลงปลูกเพราะไม่ต้องอีกถุงก่อนลงปลูกอีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการขาดของรากพืชได้ นอกจากนี้ไบโอคอมโพสิตฟิล์มจากพีแอลเอผสมกากกาแฟ ที่สามารถย่อยสลายได้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่มาจากพลาสติกจากเชื้อเพลิง ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี