วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ‘อ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ’  ตัวอย่างพัฒนา‘ทุกฝ่ายยิ้มได้’

สกู๊ปพิเศษ : ‘อ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ’ ตัวอย่างพัฒนา‘ทุกฝ่ายยิ้มได้’

วันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : อ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ
  •  

“ชลบุรี” ดินแดนชายทะเลตะวันออก เป็นทั้ง“เมืองท่องเที่ยว” มีพื้นที่ขึ้นชื่อระดับโลกอย่างพัทยาและบางแสน “เมืองอุตสาหกรรม” มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และเป็นที่ตั้งของท่าเรือแหลมฉบัง ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในปี 2560 ระบุว่า ชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด ณ ราคาตลาดต่อหัวต่อหนึ่งปี (GPP per Capita) อยู่ที่ 581,475 บาท เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดข้างเคียงอย่างระยอง ซึ่งอยู่ที่ 1,095,667 บาท และมากกว่าเมืองหลวงคือกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ที่ 573,907 บาท

แต่อีกด้านหนึ่ง “ยังมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม” ซึ่งต้องพึ่งพาทรัพยากรน้ำ แต่ที่ผ่านมา “พื้นที่เกษตรมักถูกน้ำท่วมซ้ำซาก” เมื่อเกิดฝนตกหนัก น้ำป่าปริมาณมากจะไหลหลากมาสมทบกับน้ำจากทางตะวันออกของอำเภอพานทอง ที่ไหลล้นเข้าไปในตัวคลองและบ่าลงมาทางใต้ จน “คลองหลวง” ซึ่งเป็นคลองหลักของ อำเภอบ่อทอง เกาะจันทร์ พนัสนิคม และพานทอง ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน แต่เมื่อถึงฤดูแล้ง พื้นที่เหล่านี้กลับขาดแคลนน้ำ


กระทั่งในปี 2558 เมื่อโครงการ “อ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงทุเลาเบาบางลง ซึ่ง วุฒิชัย นรสิงห์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทรฯ จ.ชลบุรี เล่าว่า กรมชลประทาน มีการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯมาตั้งแต่ปี 2508 และมีแผนการก่อสร้างในปี 2515 แต่ในเวลานั้นต้องชะลอโครงการไว้ก่อน เนื่องจากต้องศึกษาด้านวิศวกรรมเพิ่มเติมรวมถึงต้องจัดหาที่ดิน ก่อนที่ในปี 2552 จึงได้เริ่มก่อสร้าง

ส่วนที่ได้ชื่อว่าเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2525ในครั้งนั้น “ในหลวงรัชกาลที่ 9” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานใน จ.ชลบุรี ทั้งนี้ พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ แบ่งเป็นพื้นด้านฝั่งซ้าย 1.7 หมื่นไร่ และฝั่งขวา 2.7 หมื่นไร่ อ่างเก็บน้ำมีความบรรจุ 98 ล้าน/ลบ.ม. แบ่งการบริหารน้ำ 1.การผลิตน้ำประปา 13 ล้านคิว/ปี 2.การอุปโภค-บริโภค 5 ล้านคิว/ปี และ 3.ภาคการเกษตรและการรักษาระบบนิเวศ 70 ล้านคิว/ปี

อีกปัจจัยที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จคือ “ความเสียสละของชาวบ้าน” ที่ยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อาทิ ประจวบ สืบญาติ อายุ 77 ปี เล่าว่า เดิมประกอบอาชีพปลูกต้นยูคาลิปตัสมีรายได้พอสมควร “แม้จะได้ค่าชดเชยไม่มากเมื่อเทียบกับราคาที่ดิน แต่เมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศก็ไม่รู้สึกเสียดาย” จึงไม่ได้เรียกร้องหรือคัดค้านอะไร

ขณะที่ ระเวง มิ่งสอน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8บ้านหนองแฟบ ต.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี เล่าว่า เป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ ต้องเปลี่ยนอาชีพจากการทำไร่ทำนา มาทำประมงและแพปลาซึ่งไม่คุ้นชิน โดยได้รับเงินสนับสนุนซื้ออุปกรณ์ในการทำประมง เช่น เรือ ชูชีพ แห เบ็ด “แม้จะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัว..แต่ชีวิตก็ดีขึ้นเมื่อเทียบกับอาชีพเดิมในอดีต” เพราะไม่ต้องกังวลกับภัยธรรมชาติซึ่งเมื่อเกิดทีไรหนี้สินก็ตามมาเสมอ

“คนหนึ่งหาปลาได้วันละ 40-50 ตัว ขายได้ประมาณ 400-500 บาท แต่ถ้าเป็นพวกมืออาชีพวันวันหนึ่งจะมีรายได้ 2,000-3,000 บาท ดีกว่าทำงานโรงงานเสียอีก ปลาที่แพปลาแห่งนี้จะมีคนกลางมารับซื้อไปจำหน่ายต่อถึง จ.จันทบุรี ระยอง และบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านในท้องถิ่นมาซื้อปลาอีกด้วย มีรายการสั่งซื้อทุกวันอย่างน้อยสุดวันละประมาณ 400-500 กิโลกรัม แต่เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 1 ตัน หรือมากกว่า เฉลี่ยคิดเป็นรายได้ตันละ 2,000-3,000 บาท” ระเวง กล่าว

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านหนองแฟบ ต.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี ยังกล่าวอีกว่า การเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรมาเป็นชาวประมง ไม่เพียงแต่จับปลาส่งขายไปวันวันหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ปลาร้า ปลาส้ม ปลาเกลือ ปลาหมักลูกชิ้นปลา “ชีวิตมีความสุขดี” โดยปัจจุบันมีการรวมกลุ่มในชื่อ กลุ่มผู้จับสัตว์น้ำหนองแฟบ มีสมาชิกทั้งหมด 54 คน

ด้านหนึ่งอ่างเก็บน้ำได้ช่วยให้เกษตรกรผู้ที่เพาะปลูกพืชมีน้ำใช้อย่างเพียงพอและลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม แต่อีกด้านหนึ่งผู้ต้องเสียสละที่ดินและเปลี่ยนไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะชาวประมงก็มีรายได้ที่ดีขึ้นด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า..นี่คือตัวอย่าง “โครงการพัฒนาที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่

รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved