วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
คุมโรค-สิทธิฯ  ‘โควิด’สมดุล2ด้าน

คุมโรค-สิทธิฯ ‘โควิด’สมดุล2ด้าน

วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag : โควิด-19
  •  

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในหลายมิติ ทั้งด้านสุขภาพที่มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ด้านเศรษฐกิจที่กิจการต่างๆ ถูกรัฐใช้มาตรการ “ล็อกดาวน์” สั่งปิดเพื่อควบคุมไม่ให้โรคระบาดขยายตัวเป็นวงกว้าง ซึ่งทั้ง 2 ด้านนำไปสู่ผลกระทบด้านสังคมในประเด็น “สิทธิมนุษยชน” โดยสำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องนี้

ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำหน้าที่แทนประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่าว่า นับตั้งแต่การระบาดระลอกแรกช่วงเดือน มี.ค. 2563 ซึ่งรัฐบาลสั่งปิดสถานที่ต่างๆ เกือบทั้งหมดเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดขยายตัวเป็นวงกว้าง ในเวลานั้น กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนกรณีการถูกละเมิดสิทธิ โดยในจำนวนนี้เป็นเรื่อง“สิทธิแรงงาน” เสียค่อนข้างมาก


เช่น เมื่อสถานประกอบการถูกสั่งปิด นายจ้างได้สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ใช้วิธีกดดันให้พนักงานลาออกเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงฉวยโอกาสเลิกจ้างพนักงานที่เป็นหญิงตั้งครรภ์-ผู้พิการ โดย กสม. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งพบว่านายจ้างส่วนหนึ่งรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ขณะที่อีกส่วนเลือกจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

“กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขามีกองทุนที่จะดูแลแรงงานที่กำลังตั้งครรภ์ แล้วบางคนก็กำลังจะคลอดลูก ซึ่งพ่อแม่ถูกเลิกจ้าง ผลกระทบไปอยู่กับลูกก็มีมากมาย แล้วที่สำคัญบางคนร้องว่าตัวเองเป็นเสาหลักของครอบครัวด้วย พอถูกเลิกจ้างครอบครัวก็ได้รับผลกระทบมากอันนั้นก็เป็นส่วนใหญ่ที่ร้องมา” ประกายรัตน์ ยกตัวอย่าง

อีกเรื่องที่มีข้อร้องเรียนมายัง กสม. หลายกรณีคือ “สิทธิด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว” เช่น ในช่วงแรกๆ ที่ภาครัฐเริ่มใช้แพลตฟอร์มไทยชนะ ให้ประชาชนลงชื่อเข้า-ออกสถานที่ต่างๆ ก็มีความกังวลว่ารัฐบาลกำลังเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชนผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือหรือไม่ หรือมีผู้สงสัยว่ามีการทำวิจัยโดยไม่บอกกล่าวผู้เข้าร่วมหรือไม่ กรณีลดวันกักตัวลงแต่เพิ่มความถี่จำนวนครั้งการตรวจหาเชื้อต่อบุคคลเพิ่มขึ้น เป็นต้น

รวมทั้งยังมีกรณีอื่นๆ เช่น มีผู้ร้องเรียนว่าถูกเจ้าหน้าที่จับกุมคุมขัง แต่ในระหว่างนั้นไม่ได้รับอาหารและยาที่จำเป็น อีกทั้งยังให้เข้ารับการตรวจคัดกรองว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องเรียนก็ไม่เข้าใจว่ามาตรวจเพื่ออะไร หรือกรณีผู้ติดเชื้อเอดส์ (HIV/AIDS) ร้องเรียนว่าได้รับเบี้ยยังชีพล่าช้า ทั้งนี้ กสม. ให้ความสำคัญกับประชากรกลุ่มเปราะบางซึ่งต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ แต่ก็ต้องตรวจสอบตามข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายด้วย

อย่างไรก็ตาม บางกรณีก็พบหน่วยงานที่รับผิดชอบกับเรื่องนั้นๆ โดยตรงตั้งรับได้รวดเร็วจนประชาชนพอใจในระดับหนึ่ง เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่เป็นมาตรการจ่ายเงิน 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบช่วงจากมาตรการสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมโรค ที่เจ้าภาพหลักคือกระทรวงการคลัง ตั้งโต๊ะให้ประชาชนมาแจ้งอุทธรณ์กรณีถูกระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตัดสิทธิ์ เรื่องนี้จึงไม่มีการร้องเรียนมายัง กสม.

แต่อีกด้านหนึ่ง “เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยรวม ประชาชนเองก็ต้องยอมสละสิทธิ์บางอย่างบ้าง” เช่น จะเห็นว่าปัจจุบันเมื่อออกจากบ้านแต่ละคนจะสวมหน้ากากปิดปาก-จมูก “บางคนอาจจะบอกว่าอยากสวยไม่ใส่หน้ากากได้ไหม? แต่หากไม่ใส่แล้วมีเชื้อโควิด-19 ในร่างกายก็อาจแพร่เชื้อต่อให้ผู้อื่นได้” หรือมาตรการงดขายอาหารแบบนั่งรับประทานในร้าน ช่วงเวลา 21.00-06.00 น. หากเป็นสถานการณ์ปกติก็ถือว่าละเมิดสิทธิ์ แต่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่มีความรุนแรงเรื่องนี้ก็ต้องนำมาชั่งน้ำหนักกับสิทธิด้วย

“วันนี้ทางสหประชาชาติเอง สำนักงานข้าหลวงใหญ่เขาออกข้อมูล แถลงการณ์หรือข้อเสนอแนะกลไกต่างๆ ที่จะให้กรรมการสิทธิฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเรื่องโควิด แต่อย่างไรเขาก็สรุปสุดท้าย ยืนยันวิกฤติครั้งนี้ ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสุขภาพแห่งสหประชาชาติ รวมถึงผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ 60 กว่าคน เขาก็สรุปมาว่าต้องใช้มาตรการสาธารณสุขเท่านั้น และมาตรการฉุกเฉินที่สำคัญต่างๆ ต้องนำมาใช้ แต่มาตรการฉุกเฉินก็ให้ผนวกหลักสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ คือทุกคนต้องเท่าเทียมกัน” ประกายรัตน์ ระบุ

ประกายรัตน์ ยังกล่าวถึงการเลือกปฏิบัติหรือแสดงท่าทีรังเกียจผู้ติดเชื้อ หรือประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 โดยประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งพบพฤติกรรมการตีตราในการระบาดทั้ง 2 รอบ เช่น คนจากพื้นที่ที่ถูกระบุว่ามีสถานการณ์การระบาดรุนแรง ถูกคนบางส่วนจากพื้นที่อื่นๆ ปฏิเสธไม่อยากให้เดินทางเข้าพื้นที่ หรือเมื่อมีข่าวว่าพบการติดเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก คนไทยบางส่วนก็แสดงท่าทีรังเกียจแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

ซึ่ง กสม. ได้ออกแถลงการณ์ข้อห่วงใยไปถึงรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ด้านหนึ่งขอชื่นชมที่ยกระดับมาตรการควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว แต่อีกด้านก็ขอให้ไม่มีการเลือกปฏิบัติไม่ว่าคนไทยหรือชาวต่างชาติ รวมถึงหามาตรการสื่อสารสร้างความเข้าใจด้วย อาทิ ในช่วงที่พบรายงานการระบาดรอบใหม่ที่ จ.สมุทรสาคร ในช่วงแรกๆ ที่พบแรงงานต่างด้าวติดเชื้อถึง 500 คน

เรื่องนี้เข้าใจได้ว่าเมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มดี ธุรกิจเริ่มเคลื่อนได้ ผู้ประกอบการก็มีความต้องการแรงงาน นำไปสู่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยไม่ผ่านการคัดกรองโรค ประเด็นนี้ กสม. ได้เสนอแนะให้ทำการคัดแยกให้ดีระหว่างแรงงานที่ติดและไม่ติดเชื้อ รวมถึงหาช่องทางสื่อสารเป็นภาษาเมียนมา ลาวและกัมพูชาซึ่งเป็น 3 ประเทศที่มีประชากรเข้ามาทำงานในไทยจำนวนมาก เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เข้าถึงแรงงานเหล่านี้ด้วย

“พูดถึงการสนับสนุนปัจจัยที่เพียงพอต่อการดำรงชีพของประชาชน อันนี้ได้เสนอไปแล้ว เพราะการดำรงชีพของประชาชนในพื้นที่ที่ควบคุมสูงต้องระวัง หนึ่งคือเหมือนเขาจะตกงานด้วย ช่วงนี้โรงงานปิด อย่างตลาดกุ้งปิด ตลาดประมงปิด เขาก็ไม่มีงานทำ ก็จะเห็นว่ามีนายจ้างบางคนก็เอาแรงงานไปทิ้งด้วย แล้วเขาจะกินอยู่ มีชีวิตอยู่ได้อย่างไร” ประกายรัตน์ กล่าว

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในท้ายที่สุดว่า ถึงกระนั้น ยังเห็นด้านดีๆ ของประชาชนชาวไทย คือการเกิดขึ้นของ“ตู้ปันสุข” ที่ผู้พอมีกำลังทรัพย์ซื้อวัตถุดิบจำพวกข้าวสารอาหารแห้งมาใส่ไว้ เพื่อให้ผู้ตกทุกข์ได้ยากหยิบไปเท่าที่จำเป็น ส่วนการระบาดในรอบนี้รัฐบาลยังไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบเหมือนรอบแรก บางอาชีพยังสามารถประกอบกิจการได้

ซึ่งก็หวังว่าสถานการณ์คงไม่รุนแรงถึงขั้นต้องกลับไปใช้มาตรการเต็มที่แบบนั้นอีก!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

รัฐบาลชวนร่วมงานมหกรรมSoftPower

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved