วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘เหลื่อมลํ้า’ฝังลึกข้ามรุ่น  เชื้อไฟปะทุ‘สังคมขัดแย้ง’

‘เหลื่อมลํ้า’ฝังลึกข้ามรุ่น เชื้อไฟปะทุ‘สังคมขัดแย้ง’

วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : ความเหลื่อมล้ำ
  •  

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “พลังแห่งยุคสมัย ตอนที่ 1 : ความเหลื่อมล้ำระหว่างรุ่น” ความโดยศูนย์วิจัยเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CRISP) ซึ่ง ผศ.ดร.ธร ปีติดล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นเรื่องระหว่างชนชั้นกลางระดับบน (ซึ่งมักเข้าร่วมกับกลุ่มเสื้อเหลืองและกลุ่ม กปปส.) ที่มีการศึกษาสูง มีอาชีพที่มั่นคง มีฐานะดี กับชนชั้นกลางระดับล่าง (ซึ่งมักเข้าร่วมกับกลุ่มเสื้อแดง) ที่ฐานะทางเศรษฐกิจแม้จะไม่ใช่คนจนแต่ก็ยังไม่ถึงขั้นฐานะดี เช่น เกษตรกร คนทำงานภาคบริการหรือผู้ประกอบการรายย่อยในเมือง

เมื่อมองย้อนไปถึงการพัฒนาของประเทศไทย ช่วงปี 2524-2535 ด้านหนึ่งเป็นช่วงที่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคนที่ได้รับประโยชน์ ซึ่งคนเหล่านี้กลายมาเป็นชนชั้นกลางระดับบน ในขณะที่ช่วงปี 2535-2556 อันเป็นยุคที่ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเริ่มลดลง คนที่เป็นชนชั้นกลางระดับบนไปแล้วพบว่าได้ส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจลดลง และคนกลุ่มที่กลายมาเป็นชนชั้นกลางระดับล่างก็คือคนที่ได้ประโยชน์มากขึ้นจากสถานการณ์นี้ อนึ่ง ชนชั้นกลางทั้ง2 ประเภท ยังผูกโยงตนเองกับมุมมองทางการเมืองคนละแบบตามยุคสมัยที่เติบโตมา


ถึงกระนั้น “สาเหตุที่ทำให้คน2 ชนชั้นนี้ขัดแย้งกันอาจไม่ใช่เรื่องที่คนมีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำในแนวตั้ง(หรือแนวดิ่ง) แต่เป็นการที่คนได้รับการปฏิบัติไม่เท่ากันหรือความเหลื่อมล้ำในแนวราบ (หรือแนวขวาง-แนวนอน)” ซึ่งในมุมมองฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองเข้าไม่ถึงอำนาจทางการเมือง การกำหนดนโยบายรัฐและกระบวนการยุติธรรม หรือ 2 มาตรฐาน แต่ในทางกลับกันอีกฝ่ายก็ไม่ไว้ใจนักการเมือง การเลือกตั้งและรัฐสภา มองว่าเป็นการเมืองแบบประชานิยม ในขณะที่พวกตนยึดมั่นในการเมืองแบบศีลธรรม

ผศ.ดร.ธร กล่าวต่อไปว่า แต่การบิดระบบการเมืองเพื่อเอาชนะกันภายใต้ความขัดแย้งที่ยาวนาน ได้ทำให้ระบบการเมืองบิดเบี้ยวและนำไปสู่การออกมาเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ต้องการการเมืองแบบศีลธรรม แต่ต้องการลดปัญหา2 มาตรฐานลงอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตาม ระยะหลังๆ จะพบว่าความเหลื่อมล้ำแนวตั้งก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยนอกจากคนร้อยละ 10 หรือร้อยละ 1 ที่เป็นกลุ่มชนชั้นบนสุดแล้วคนอื่นๆ ที่เหลือในสังคมแทบไม่มีทางเติบโตทางเศรษฐกิจได้ เรื่องนี้อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่ออกมาเคลื่อนไหว

“ความน่าสนใจของความขัดแย้งยุคใหม่ คือคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจโดนผลักจากทุกปัจจัยที่โยงกับความเหลื่อมล้ำทั้งแนวดิ่งและแนวราบ เป็นบริบทใหม่ที่ยิ่งน่าสนใจ จริงๆ สำหรับคนรุ่นใหม่อีกประเด็นที่น่าอึดอัดนั่นเป็นเรื่องDissonant (ไม่ลงรอยกัน) Value(คุณค่า) ที่ยังอยู่ในสังคมกับความจริงที่เขาต้องเจอ คือ Value ในสังคมไทยเป็น Value ในลักษณะทั้งนับถือความขยัน เรื่องมารยาท มันเป็น Value ที่เหมาะกับเศรษฐกิจที่คนมันยังไต่ได้ คนยังโตได้ มันเหมาะกับเศรษฐกิจที่มีการกระจายให้คนมีส่วนแบ่งจากการเติบโต

แต่พอมาปัจจุบันบริบทมันเป็นอีกแบบ Value แบบนี้มันยิ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงของเขา คิดว่าความอึดอัดที่คนรุ่นใหม่ต้องเจอคือสภาพที่คนรุ่นเก่ายังบอกเขาว่าถ้าคุณไม่ Follow (ทำตาม) Value เหล่านี้คุณถึงไปไม่ได้ คุณไม่ขยันพอ คุณไม่ทำตัวในระบบพอแต่สำหรับคนรุ่นใหม่ ความเป็นจริงที่เขาเจอ ต่อให้เขาตาม Value พวกนั้นเขาก็ไปไหนไม่ได้”ผศ.ดร.ธร กล่าว

ผศ.ดร.ธร ยังกล่าวอีกว่า“หากพูดถึงการเมืองเชิงศีลธรรมในแบบอารยประเทศไม่ควรจะมีปัญหา 2 มาตรฐานเกิดขึ้น” แต่สำหรับประเทศไทย การเมืองศีลธรรมกลับมาพร้อมกับปัญหา2 มาตรฐานแล้วก็ทำให้คนในสังคมทะเลาะเบาะแว้งกัน ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในแนวราบ ก็คือต้องทำให้การเมืองเชิงศีลธรรมไม่มีคำว่า 2 มาตรฐาน ระบบการเมืองจะเป็นที่ยอมรับกันได้และความขัดแย้งก็จะไม่ปะทุ

ขณะที่ วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการส่งต่อความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากเรื่องแรกว่าด้วยทรัพย์สินเงินทองที่เป็นมรดกแล้ว ยังมีเรื่องที่สองซึ่งเกี่ยวกับโอกาสที่เกิดจากสายสัมพันธ์ด้วย เช่นพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่รู้จักกันก็สามารถฝากบุตรหลานเข้าทำงานได้ ซึ่งความเหลื่อมล้ำอย่างหลังนั้นทำให้ลดลงได้ยากกว่าอย่างแรกที่สามารถออกแบบกลไกกรองได้ เช่น การเก็บภาษีมรดก

เมื่อดูสภาพเศรษฐกิจ ในยุคก่อนหน้าที่เป็นยุคอุตสาหกรรมหนักประกอบกับเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี ความขยัน (Work Hard) จึงเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ และค่านิยมนี้ก็ถูกส่งต่อถึงคนรุ่นถัดมา แต่ก็กลายเป็นความเหลื่อมล้ำประการที่สามโดยยกตัวอย่าง “การสำรวจค่านิยมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมทางสังคม พ.ศ.2560 (World ValueSurvey)” ที่มีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง1,500 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป ในแต่ละประเทศ

ซึ่งหากแบ่งตามช่วงอายุ เป็น 18-29 ปี, 30-49 ปี และ 50 ปีขึ้นไป จะพบว่า คนทุกช่วงวัยยังคงให้ความสำคัญกับความขยันอย่างมาก แม้หน้าตาของเศรษฐกิจยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนไปก็ตาม “แต่การให้ความสำคัญเพียงความขยันอย่างเดียวก็อาจเป็นดาบสองคมได้เช่นกัน” เพราะแม้ด้านหนึ่งจะมีคนขยันที่ประสบความสำเร็จได้จริง แต่อีกด้านหนึ่งลำพังความขยันอย่างเดียวอาจไม่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้หากอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ไม่เท่าเทียม

“ถ้าเราไป Focus (มุ่งเน้น) ที่ Effort (ความพยายาม) การลงแรงอย่างเดียว มันอาจจะเป็นตัวตอกย้ำให้ความเหลื่อมล้ำมันยังคงอยู่ วิธีคิดเหล่านี้มันมักจะส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้โดยไม่ยาก คือวิธีคิดที่เป็นกระแสหลัก คนที่จะคิดออกไปนอกเหนือจากกระแสหลักมันมีต้นทุนอยู่ ถ้าเราอธิบายตามเศรษฐศาสตร์แบบ Neo Classic ก็คือเราวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ กลุ่มนักศึกษาที่ออกมาประท้วงก็อาจมองหลุดไปจากกรอบที่สังคมวางไว้อยู่พอสมควรมันมีต้นทุนของความเห็นต่างในสังคมนี้” วีระวัฒน์ กล่าว

วีระวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงนำมาซึ่งความเปราะบางไม่มั่นคง มีความสมานฉันท์น้อย ซึ่งมาจากการที่วิถีชีวิต (Lifestyle) ของคนระดับบนกับระดับล่างแตกต่างกันอย่างมากจนต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งในต่างประเทศแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการออกแบบระบบจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไปดูรายได้ของแต่ละคนก่อนหักภาษีด้วย

โดยประเด็นหลังนี้ยังเกี่ยวข้องกับการให้คุณค่าต่องานไม่เท่ากัน เช่น ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น มีข่าวการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นกับคนงานทำความสะอาดสนามบิน แต่ในประเทศไทยไม่มีเรื่องราวทำนองนี้ หรืออาชีพที่ประเทศไทยมองว่าเป็นงานระดับล่าง คุณภาพชีวิตของคนในอาชีพนั้นในต่างประเทศก็ไม่ได้ย่ำแย่อะไรมากนัก เพราะรายได้ก่อนหักภาษีก็ไมได้เหลื่อมล้ำมากอยู่แล้ว ซึ่งมาจากการตีค่าว่างานอะไรควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด

ด้าน ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความขัดแย้งในแนวตั้งมาจากประสบการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน โดยคนที่ประสบความสำเร็จเป็นใหญ่เป็นโตในวงการต่างๆ ในปัจจุบัน เติบโตมาในยุค 1960-1990 (ปี 2503-2542) อันเป็นช่วงที่ทุนต่างชาติไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว และคนที่เติบโตในยุคนั้นก็ได้ประโยชน์ไปด้วย ค่านิยม (Value) ของคนยุคนั้นจึงเน้นไปที่เพียงมีความขยันแล้วจะประสบความสำเร็จ

แต่สำหรับคนที่เติบโตมาในยุคหลังจากนั้น พบว่าความขยันอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไปในขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของไทยไม่สามารถรองรับโลกที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับการผูกขาดโดยกลุ่มทุนรายใหญ่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการไม่มีพื้นที่ทางการเมืองสำหรับคนรุ่นใหม่ซึ่งคนรุ่นใหม่นั้นมีความคาดหวังมากกว่าคนเสื้อแดงอย่างมาก และหากรัฐไม่เลิกมองคนรุ่นใหม่ว่าเป็นภัยคุกคาม ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเมืองได้ซึ่งคนรุ่นใหม่วางเดิมพันในการเคลื่อนไหวสูงมาก เพราะไม่มีโอกาสทางเศรษฐกิจมากเท่าคนรุ่นก่อน

“เราลองเสนอสัก 2-3 Scenario (ฉากทัศน์) Scenario ที่ 1 คือ Best Case (จบแบบดีที่สุด) คือ Political Institute (โครงสร้างทางการเมือง) ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง อันนี้คือ Best Practice (แนวปฏิบัติที่ดี) ทั้งการกระจายเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ การปรับโครงสร้างภาษี ถ้าชนชั้นนำไทยเรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์การเมืองทั่วโลกที่เมื่อมันมาถึงจุดนี้ ที่พลังของการอยากเปลี่ยนแปลงกับพลังที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานานมันมีพลังพอๆ กัน

โครงสร้างทางการเมืองยังต้องยอมเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นมันจะเกิดประวัติศาสตร์สงครามบนท้องถนนที่ยาวนาน และมันไม่ดีต่อชนชั้นนำเลย Scenario ที่ 2 ซึ่งคิดว่าเป็น Protected Conflict (ความขัดแย้งยังดำรงอยู่) คือเราจะเห็นความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนานจากนี้เป็นอีกสิบๆ ปี เพราะทั้ง 2 ฝ่าย ชนชั้นนำระดับสูงต้นทุนในการจัดการกับปัญหาของเขามันไม่แพงที่จะไม่เปลี่ยน เพราะที่ผ่านมาเขาไม่เปลี่ยน เขาจัดการให้ฝ่ายที่อยากเปลี่ยนหายไป หรือไม่ยอมรับโดยที่ต้องยอมรับ อันนี้เกิดเขาทำได้

แต่ถ้าเกิดเขาทำไม่ได้ความขัดแย้งมันจะต่อเนื่องยาวนานอีกเป็นสิบปี เพราะ Demographic Change มันไม่ได้เกิดขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า เรากำลังพูดถึงอีก 20 ปีเรากำลังพูดถึงให้คนรุ่นนี้ที่อายุ 70 ให้อายุ 90 อย่างท่านนายกฯ อายุ 60 กว่า ฉะนั้นอายุการทำงานของนักการเมืองยังอยู่ได้อีก 70 ก็ทำงานได้ Worst Case (จบแบบเลวร้ายที่สุด) คือระบบไม่ปรับ และพลังในการเปลี่ยนแปลงก็ไม่สามารถท้าทายการเปลี่ยนแปลงได้ สังคมของไทยก็ยังต้องอยู่ต่อการสืบทอดความเหลื่อมล้ำทั้ง 3 ด้านต่อไป ก็เลือกเอาว่าสังคมไทยจะเป็นแบบไหน” ผศ.ดร.กนกรัตน์ กล่าวในท้ายที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สาวใหญ่สุดทน! โร่แจ้งความ ‘ผัวตีนโหดตบ-เตะหน้าปูด’ เผยกินกับข้าวเยอะก็โดน

'สจ.กอล์ฟ'อ่วม! ตร.แจ้งข้อหาเพิ่ม'ซ่องโจร' 'บิ๊กอู๊ด'ยื่นคัดค้านประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด

4 ผู้สมัครลุ้นชิง ผอ.ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์รอบสุดท้าย 29 พ.ค.นี้

ไม่เอาก็โง่! 'ราชวงศ์กาตาร์'เตรียมมอบเครื่องบินเจ็ทสุดหรูให้'ทรัมป์'ใช้เป็น'แอร์ฟอร์ซวัน'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved