วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เกษตรกรบ้านคาปลูกอ้อยพันธุ์คั้นน้ำแปรรูป 'น้ำตาลอ้อยสด' เพิ่มมูลค่าช่วงสู้โควิด

เกษตรกรบ้านคาปลูกอ้อยพันธุ์คั้นน้ำแปรรูป 'น้ำตาลอ้อยสด' เพิ่มมูลค่าช่วงสู้โควิด

วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 14.19 น.
Tag : เกษตรกร คั้นน้ำ โควิด น้ำตาลอ้อยสด\\\' บ้านคา ปลูกอ้อยพันธุ์ แปรรูป
  •  

เกษตรกรชาวอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี หันมาปลูกอ้อยพันธุ์เพื่อคั้นน้ำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลใส่แม่พิมพ์มีลวดลาย มีทั้งแบบคั้นน้ำบรรจุขวดส่งขายตามตลาดเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ ในยุค #โควิด -19 หลังจากปลูกอ้อยส่งขายโรงงานมีราคาถูก

อ้อยเป็นพืชที่มีหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงาน นำไปแปรรูปผลิตเป็นน้ำตาลทราย บางสายพันธุ์นิยมปลูกเพื่อคั้นน้ำสดบรรจุขวด สุดแล้วแต่เกษตรกรจะเลือกปลูกสายพันธุ์ไหนที่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่เกษตรกรกลุ่มหนึ่งใน ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้รวมกลุ่มปลูกสับปะรดแปลงใหญ่อยู่แล้ว ได้หันมาปลูกอ้อยสายพันธุ์ที่สงขายโรงงานด้วย แต่ช่วงการระบาดของไวรัสโควิด -19 ผลผลิตอ้อยที่ขายส่งโรงานมีราคาตกต่ำ เหลือประมาณตันละ 650 - 700 บาท ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในครอบครัว จึงทำให้เกษตรกรมีแนวคิดหันมาปลูกอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นสายพันธุ์แบบคั้นน้ำ มีรสชาติหวาน หอม ได้ผลผลิตสูงและราคาดีกว่าอ้อยโรงงานในช่วงนี้ 


นายจันทร์ เรืองเรรา อายุ 63 ปี และนางละเวก เรืองเรรา สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 74/1 หมู่ 5 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา ได้แบ่งพื้นที่ดินของตัวเองประมาณ 2 ไร่ ปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ได้ไม่นาน ทั้งยังก่อสร้างเตาลักษณะแบบโบราณใช้ไฟฟืนในการเคี่ยวกวนน้ำตาลที่ต้องใช้ความอดทน จึงจะได้ผลผลิตแต่ละกะทะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ทั้งยังมีเคล็ดลับการใส่สมุนไพรบางชนิดลงไป เพื่อยืดอายุของน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการทำน้ำตาลของที่นี่ 

 

 

นายจันทร์ เรืองเรรา ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.บ้านคา กล่าวว่า ปัจจุบันทำอาชีพปลูกอ้อย และไร่สับปะรด แต่ต้องประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด 19 อีกทั้งเจอเรื่องปัญหาผลผลิตมีราคาตกต่ำ จึงได้มองถึงกระบวนการแปรรูปในฐานะที่เป็นศูนย์การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จากอ้อยเมื่อปีที่ผ่านมาประสบปัญหาราคาโรงงานไม่ค่อยดี จึงได้รวมกลุ่มเกษตรกรที่เคยทำสับปะรดแปรรูป และเคยกวนสับปะรดจากแปลงใหญ่มาแล้ว จึงสานต่อเรื่องการแปรรูปน้ำตาลอ้อยจากการนำผลผลิตในไร่ของเกษตรกรในกลุ่มที่ทำอาชีพเดียวกันมาทำเรื่องอ้อยต่อไป เพื่อแปรรูปเป็นน้ำตาลก้อน น้ำตาลสดขาย 

ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกอ้อยประสบปัญหาคล้ายกัน จึงให้เพื่อนเกษตรกรในกลุ่มนำอ้อยมารวมกัน และคั้นเป็นน้ำเคี่ยวด้วยไฟฟืนแบบโบราณเป็นก้อนและบรรจุขวดจำหน่ายในศูนย์เรียนรู้ตลาดเกษตรกร จ.ราชบุรี ตลาด  อ.จอมบึง และตลาด  อ.โพธาราม  

 

 

อีกส่วนมีลูกค้าได้สั่งซื้อที่ศูนย์ฯ แต่ละวันจะเคี่ยวน้ำตาลได้ประมาณ 14 - 15 กิโลกรัม ช่วงเช้าจะไปขาย ช่วงบ่ายจึงกลับมาทำน้ำตาล หากทำทั้งวันสามารถเคี่ยวได้ประมาณ 20 - 30 กิโลกรัม นำไปทำขนมและทำกับข้าว ที่โดดเด่นคือนำไปชงใส่ในกาแฟจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ หวานแบบธรรมชาติจากอ้อย ส่วนผสมการทำน้ำตาลจะไม่ใช้สารกันบูด ไม่ใช้สารฟอกขาว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ศูนย์ฯแห่งนี้ ซึ่งจะมีกระบวนต่าง ๆ ที่สะอาด ปลอดภัย

เรื่องการแบ่งปันผลกำไรนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีอ้อยที่ปลูกกันเองในไร่อยู่แล้ว จึงให้ทุกคนมาเคี่ยวน้ำตาลที่ศูนย์ฯ ซึ่งจะเป็นสถานที่กลางเรื่องการให้วัสดุอุปกรณ์ให้ปอกและหีบน้ำอ้อยนำไปเคี่ยวและนำผลผลิตกลับไปที่บ้าน เป็นการเริ่มต้นการทำในการทดลองเพื่อให้รู้ว่าเป็นอีกมุมมองแก้ไขปัญหาเรื่องราคาอ้อยตกต่ำ และเรื่องการผลิตเอาน้ำตาลอ้อยไว้ใช้เองในครัวเรือน เหลือจึงแบ่งปันและขายออกไป

 

 

สำหรับขั้นตอนการทำนั้น หลังจากไปตัดอ้อยมานำลำต้นไปล้างน้ำให้สะอาด และปอกเปลือกนอกออก นำเข้าเครื่องหีบ เมื่อได้น้ำอ้อยแล้ว จะนำไปแช่กับเนื้อไม้พะยอม ก่อนเทใส่กระทะ ผ่านผ้าขาวบางกรองให้สะอาด เพื่อไม่ให้มีเศษไม้ติดไป จากนั้นเคี่ยวบนเตาไฟด้วยความร้อน การแช่ในเนื้อไม้พะยอมจะทำให้น้ำอ้อยมีลักษณะเหนียวเป็นยางมะตูมไม่แห้ง ซึ่งในเนื้อไม้พะยอมนั้นจะมีรสชาติฝาดมีข้อดีคือ เนื้อไม้ป้องกันไม่ให้น้ำอ้อยบูดและแห้ง น้ำอ้อยที่หีบแล้วน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัมจะต้องใช้เนื้อไม้พะยอมประมาณ 2 กำมือผสมเข้ากัน พอได้เวลาก็กรองเอาเนื้อไม้ออกนำไปเคี่ยวบนเตาไฟประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง 

พอเคี่ยวได้ที่นำลงจากเตามาปั่นด้วยไม้ให้เหนียวก่อนไปเทลงเบ้าแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้รออุ่นพอเหมาะจึงขยับแม่พิมพ์ออก จะได้ก้อนน้ำตาลอ้อยที่มีลวดลายตามแม่พิมพ์แบบต่าง ๆ ที่สวยงาม มีทั้งแบบเป็นก้อนบรรจุถุง เป็นถ้วยพลาสติ๊ก ชั่งน้ำหนักครึ่งกิโลกรัมขาย 35 บาท 

 

 

สำหรับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.บ้านคา แห่งนี้ ถือเป็นอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจเป็นแบบอย่างเรื่องแก้ไขปัญหาพืชผลทางเกษตรตกต่ำ ช่วงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ซึ่งได้มีผลกระทบในภาคการเกษตรเกือบทุกสาขาอาชีพได้เป็นอย่างดี แม้จะอยู่ในขั้นเริ่มดำเนินการ แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ทำให้การรวมกลุ่มปลูกอ้อยคั้นน้ำซึ่งต่อยอดมาจากการปลูกสับปะรดแปลงใหญ่ กลายเป็นอาชีพเสริมรายได้อีกทางที่ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง

สำหรับประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่นายจันทร์ เรืองเรรา ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอบ้านคา เบอร์ 089- 9101254 
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มะพร้าวน้ำหอมราชบุรีล้นตลาด! ราคาดิ่งเหลือ 4 บาท เกษตรกรขาดทุนหนักวอนรัฐแก้ปัญหาด่วน มะพร้าวน้ำหอมราชบุรีล้นตลาด! ราคาดิ่งเหลือ 4 บาท เกษตรกรขาดทุนหนักวอนรัฐแก้ปัญหาด่วน
  • พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ
  • ‘สตูล’เปิดฤดูผสมพันธุ์ดอก-เก็บผล-แปรรูป ยกระดับ‘สละสุมาลี’สู่ผลไม้เศรษฐกิจแห่งท่าแพ ‘สตูล’เปิดฤดูผสมพันธุ์ดอก-เก็บผล-แปรรูป ยกระดับ‘สละสุมาลี’สู่ผลไม้เศรษฐกิจแห่งท่าแพ
  • เคยเห็นไหมวัวออกลูกแฝด 4 ตัว เจ้าของเผยเป็นไปตามความฝันของพ่อก่อนเสียชีวิต เคยเห็นไหมวัวออกลูกแฝด 4 ตัว เจ้าของเผยเป็นไปตามความฝันของพ่อก่อนเสียชีวิต
  • ชาวโพธารามใช้พื้นที่ 8 คูณ 20 เมตรปลูกมะเขือเทศอินทรีย์ 3 เดือนรับเงินแสน ชาวโพธารามใช้พื้นที่ 8 คูณ 20 เมตรปลูกมะเขือเทศอินทรีย์ 3 เดือนรับเงินแสน
  • \'ชาวสวนละมุด\'เกาะยอได้เฮ! เข้าสู่ฤดูเก็บผลผลิตส่งลูกค้าตามออเดอร์ที่สั่ง 'ชาวสวนละมุด'เกาะยอได้เฮ! เข้าสู่ฤดูเก็บผลผลิตส่งลูกค้าตามออเดอร์ที่สั่ง
  •  

Breaking News

(คลิป) ‘โฆษก ภท.’ฟาด‘เดชอิศม์’งบจะกระจุก-กระจาย ขึ้นที่คนอนุมัติ เซ็งอะไรๆก็‘พรรคสีน้ำเงิน’

(คลิป) วิเคราะห์การไต่สวนคดี! 'นช.ทักษิณ'ชั้น14 เตือน! ระวังให้การเท็จ 'ซักซ้อมมาอย่างดี แต่รายระเอียดเป๋'

เขตดินแดงแห่งใหม่ สูง 18 ชั้นเตรียมเปิดให้บริการก.ค.นี้

‘อิ๊งค์’ปลื้ม‘มวยไทย’ บรรจุ‘กีฬาทหารโลก’ ชูเป็นความสำเร็จซอฟต์พาวเวอร์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved