ภูมิปัญญาและศิลปะฝีมือแทงหยวกทำปราสาทผึ้งที่กำลังจะสูญหายและกำลังจะถูกส่งจากรุ่นสู่รุ่นต่อ ณ ที่ตรงนี้อุดรธานี การแทงหยวกทำปราสาทผึ้ง บ้านบ่อน้ำ อ.เมืองอุดรธานี หนึ่งเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง
ในยุค 4.0 หรือ 5.0 การแทงหยวกยังคงเป็นอีกหนึ่งงานฝีมือและศิลปะที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญของคนแทบสุวรรณภูมิ โดยส่วนใหญ่จะเห็นในพิธีกรรมงานบุญสำคัญๆ ทั้งงานมงคลและงานไม่เป็นมงคล ไม่ว่าจะเป็นงานแห่เทียน งานบวช งานบุญ และงานศพ งานฝีมือนี้จะแทงหยวกกล้วยให้มีลวดลายต่างๆ และประกอบติดกับโครงสร้างไม้ไผ่เป็นปราสาทและติดดอกผึ้ง ประดับตกแต่งให้สวยงามแห่หรือเอาไปทำพิธีเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและถวายเป็นพุทธบูชา ปัจจุบันที่ บ้านบ่อน้ำ อ.เมือง จ.อุดรธานี ยังคงมีชาวบ้านยังมีการทำและคงอนุรักษ์ไว้พร้อมส่งต่อภูมิปัญญาให้ผู้สืบเชื้อสาย
นายอุดร จำปาหอม อายุ 76 ปี เล่าว่า วิธีทำปราสาทผึ้งนั้นก็ไม่ยาก วัสดุหลักที่นำมาทำก็เอามาจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่และต้นกล้วยตานี การทำเริ่มจากทำฐานให้คล้ายคานหาม ปัจจุบันประยุคเอาวัสดุเหลือใช้คือกล่องโฟมมาทำฐานด้วย ต่อด้วยการตั้งเสา 4 มุม ใส่ขื่อ 4 ตัว ยึดให้แน่ด้วยเส้นลวดให้แข็งแรง การทำนั้นไม่ยากแต่จะเสียเวลาตรงตอนประกอบ การแทงหยวกเป็นลวดลายต่างๆ และตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งการประดับตกแต่งจะตกแต่งด้วยกาบกล้วย หยวกกล้วย ดอกไม้ และขี้ผึ้ง เอกลักษณ์ของปราสาทจะสวยงานขึ้นกับลวดลายการแทงหยวก โดยลวดลายที่นำมาใช้ตกแต่งมี 4 แบบ คือ ลายเขี้ยวหมา ลายตีนเต่า ลายฟันสาม และลายนกน้อย รวมระยะเวลาในการทำแต่ละหลังราว 8-10 ชั่วโมง
ตามความเชื่อซึ่งสืบทอดต่อกันมา ปราสาทผึ้งคนเราจะนำไปร่วมในพิธีกรรมงานบุญสำคัญๆ ทั้งงานมงคลและงานไม่เป็นมงคล ส่วนใหญ่ที่ทำเขาจะเอาไปทำพิธีเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อว่าปราสาทผึ้งนี้จะเป็นที่สถิตให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว “ซึ่งว่าไปแล้ววิชาการทำปราสาทผึ้งและการแทงหยวกนั้น สมัยก่อนตอนหนุ่มๆไม่มีอะไรทำตอนนั้นไปนั่งดูผู้ใหญ่เขาทำก็ทำเป็น การนั่งดูหากนั่งดูตรงข้ามจะทำไม่เป็น ให้นั่งข้างๆแล้วสังเกตวิธีทำจนทำเป็น ทำมาแล้วนานกว่า 40 ปี” เคยมีคนมาขอเรียนขอความรู้แต่ก็ไม่เคยสอนใคร
ด้านนายธนากร จำปาหอม อายุ 41 ปี ลูกชาย เปิดเผยว่า การสืบทอดวิชาการทำปราสาทและแทงหยวกจากพ่อนั้น ถือว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ดี มันหาคนที่ทำแบบนี้ได้ยาก หากเป็นคนยุคใหม่แล้วน้อยมากที่จะเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ อย่างน้อยก็อนาคตอาจจะเป็นอาชีพเสริม และก็ได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีโบราณ ก็ถือว่ามีความภูมิใจที่ได้วิชานี้จากพ่อ การทำก็ถือว่ายากเล็กน้อยแต่เราก็ใช้ความพยายาม การทำปราสาทนั้นก็ไม่ยากแต่จะยากตรงการควบคุมให้ลวดทั้งหมดมีความสมดุลกันโดยไม่ต้องใช้แบบ จุดนี้ถือว่ายากที่สุด
แต่นับวันอาชีพทำปราสาทผึ้งและแทงหยวกที่ต้องโชว์ฝีมือในการแทงหยวก กำลังจะเลือนจางหายไป น้อยคนนักที่อยากสืบสานจากรุ่นปู่ รุ่นพ่อ มายังรุ่นลูกและรุ่นหลาน ลูกหลานมองข้ามหันหน้าเข้าเมืองหางานทำหรืองานอื่นที่ดูแล้วจะมั่นคงกว่านั่นเอง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี