วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
คลายข้อสงสัย? ทำไมเวลา 'ช้างตกมัน' ต้องแสดงอาการก้าวร้าวดุร้าย-ไม่เชื่อฟังควาญ

คลายข้อสงสัย? ทำไมเวลา 'ช้างตกมัน' ต้องแสดงอาการก้าวร้าวดุร้าย-ไม่เชื่อฟังควาญ

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564, 20.23 น.
Tag : ควาญช้าง ช้างตกมัน
  •  

เพจเฟซบุ๊ก "ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ "การตกมัน" หรือ musth ซึ่งเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และสรีรวิทยาของช้าง ทำให้พฤติกรรมของช้างเปลี่ยนไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สามารถเกิดขึ้นได้กับช้างช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย อายุระหว่าง 16-60 ปี แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับช้างตัวผู้มากกว่า ช้างตัวเมียเกิดขึ้นได้แต่น้อยและไม่รุนแรง ในระยะเริ่มแรกของการตกมัน ต่อมซึ่งอยู่ระหว่างรูหูกับตา (temporal glands) จะค่อย ๆ บวมขยายขึ้น ต่อมาจะมีน้ำมันที่มีกลิ่นฉุน เหม็นสาบรุนแรงไหลเยิ้มออกมาจากรูเปิดของต่อมดังกล่าวเปื้อนบริเวณแก้ม และไหลเข้าปาก


 

                                 ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

ช่วงตกมันช้างตัวผู้จะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น ก้าวร้าว ดุร้าย มีอาการกระสับกระส่าย ไม่อยู่นิ่ง ไม่เชื่อฟังควาญ หรือคนเลี้ยงจนทำลายสิ่งของที่ขวางหน้า ทำร้ายคน หรือแม้แต่ช้างด้วยกัน ส่วนช้างตัวเมียนิสัยจะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แสดงอาการเกเร ดุร้าย แต่จะมีอาการเซื่องซึม

 

                                ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

"ช้างป่า" มักตกมันในช่วงหน้าหนาว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากช้างได้กินอาหารอย่างสมบูรณ์ และมีคุณค่าอาหารสูงในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะ เป็นช่วงที่หญ้าอ่อนมีโปรตีนสูง หน่อไม้มีอยู่มากมายในป่า และแหล่งน้ำมีกระจายอยู่ทั่วไป

"ช้างบ้าน" จะเกิดขึ้นหลังจาก ช้างไม่ต้องทำงานหนัก และร่างกายได้รับการบำรุงเลี้ยงดูจนอ้วนท้วมสมบูรณ์ อาการตกมันจะเกิดขึ้นทุกปี ปีละครั้งหรือสองถึงสามครั้ง แต่ละครั้งกินเวลาไม่เท่ากัน และจะค่อย ๆ หายไปเอง. -008 

 

                                    ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ปรีวิว-ฟันธง!บีบ'เรือใบ'ต้องเฮล่าตั๋วแชมเปียนส์ลีก

'ไข้เลือดออก' แพทย์เตือน4จว.อีสานล่างแตะ500ราย โคราชมากสุด184ราย

‘กกต.’สั่ง‘เลือกตั้งเทศบาล’ใหม่ 11 เขต 9 จังหวัด 22 มิ.ย.นี้ พบ‘ชาวพัทลุง’ใช้สิทธิมากสุด

'อนุทิน'โต้ลั่นไม่เกี่ยวปมฮั้วเลือกสว.​ จี้สื่อฯงัดเอกสารสั่งห้ามสมาชิกภท.เอี่ยวมาตีแผ่​ เชื่อการเมืองชัด ปั้นระดับจุลภาคขยายมหภาค

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved