วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองปริแตก สาเหตุการจากไปของ 'ไอน์สไตน์'

หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองปริแตก สาเหตุการจากไปของ 'ไอน์สไตน์'

วันพุธ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 15.57 น.
Tag : หลอดเลือดแดงใหญ่ ไอน์สไตน์ แพทย์ นายแพทย์เทิดภูมิเบญญากร ศัลยแพทย์หลอดเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  •  

ช่วงนี้ชื่อของ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพได้ถูกหยิบยกมาในหลากหลายสื่อ แต่ใครจะรู้บ้างว่าโรคอะไรที่คร่าชีวิตอัจฉริยะผู้นี้ และมีวิวัฒนาการในการรักษาโรคนี้อย่างไรในปัจจุบัน ในฐานะศัลยแพทย์หลอดเลือด ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ

… ในปี 1948 ไอน์สไตน์เริ่มมีอาการปวดท้องเรื้อรังจึงได้ทำการปรึกษานายแพทย์ Rudolph Nissen ศัลยแพทย์ผู้มีชื่อเสียงในขณะนั้น Nissen แนะนำให้ทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง การผ่าตัดเปิดท้องพบว่าสาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรังมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง Nissen รู้ดีว่าการปล่อยให้หลอดเลือดโป่งพองต่อไปอาจนำไปสู่การปริแตก และเสียชีวิตได้ในที่สุด Nissen จึงตัดสินใจใช้แผ่น Polyethene ยึดตรึงบริเวณด้านหน้าผนังหลอดเลือดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และหวังว่าจะช่วยหยุดการโป่งพองของหลอดเลือดได้ การผ่าตัดในคราวนั้นผ่านไปได้ด้วยดี หลังจากพักฟื้นในโรงพยาบาล 3 สัปดาห์ ไอน์สไตน์จึงได้กลับบ้าน


 

 

อีก 5 ปีต่อมา... ในวันอังคารที่ 12 เมษายน 1955 ไอน์สไตน์เริ่มมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และปวดร้าวไปยังกลางหลัง คณะแพทย์ให้การวินิจฉัยว่ามีการปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง และมีเลือดออกภายในช่องท้อง คณะแพทย์แนะนำให้ไอน์สไตน์เข้ารับการผ่าตัด แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธการผ่าตัด และยืนยันขอเลือกการเผชิญหน้ากับโรคอย่างสงบ

ในบทความนี้ผมจะขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm, AAA) โรคที่คร่าชีวิตอัจฉริยะผู้นี้กันครับ (ขออนุญาตเรียกโรค AAA ครับ) เบื้องต้นต้องมาทำความรู้จักหลอดเลือดแดงใหญ่ก่อนครับ หลอดเลือดแดงใหญ่ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่าหลอดเลือดเอออต้าร์ (aorta) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย รับเลือดที่ออกมาจากหัวใจวิ่งผ่านช่องอก ทอดยาวลงมายังช่องท้อง และแตกแขนงบริเวณสะดือส่งผ่านเลือดไปยังขาทั้งสองข้าง

 

 

โรค AAA คือการที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องมีการขยายขนาดมากกว่า 50% ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดผนังหลอดเลือดบางตัวลง และนำไปสู่การปริแตก ตำแหน่งที่พบการโป่งพองได้บ่อยคือ บริเวณใต้ต่อหลอดเลือดเลี้ยงไต ความเสี่ยงของโรคนี้ คือ เพศชาย การสูบบุหรี่ อายุมากกว่า 60 ปี ความดันโลหิตสูง และประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรค AAA

ความน่ากลัวของโรค AAA คือ 80% ของผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่เมื่อมีอาการ เช่นปวดท้อง ปวดทะลุร้าวไปหลัง หน้ามืด ใจสั่น และความดันโลหิตตก อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการปริแตกของผนังหลอดเลือด หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะมีอัตราการเสียชีวิตเกือบ 100% การตรวจร่างกายในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จะพบก้อนเต้นได้บริเวณช่องท้อง หรืออาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจหาโรคอื่น การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่สามารถหารอยโรคได้อย่างแม่นยำ

 

 

ข้อมูลในปัจจุบันพบว่ายังไม่มียาที่สามารถออกฤทธิ์ชะลอการขยายขนาด หรือลดขนาดของหลอดเลือดที่โป่งพอง ดังนั้นการผ่าตัดจึงเป็นการรักษามาตรฐาน การผ่าตัดจะทำในผู้ป่วยที่มีการโป่งพองของหลอดเลือดมากกว่า 5 ซม. ในผู้หญิง และ 5.5 ซม. ในผู้ชาย โดยการผ่าตัดมี 2 รูปแบบ คือ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgical repair) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ทำมาอย่างยาวนาน ศัลยแพทย์จะทำการเปิดหน้าท้อง ตัดหลอดเลือดส่วนที่มีการโป่งพองออก และใช้หลอดเลือดเทียมมาทดแทนหลอดเลือดส่วนที่ขาดหายไป ส่วนอีกรูปแบบการรักษาคือ การใส่สายสวนหลอดเลือดบริเวณขาหนีบ (Endovascular aneurysm repair, EVAR) เป็นการรักษาในรูปแบบใหม่ โดยศัลยแพทย์จะทำการเปิดหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง ทำการสอดหลอดเลือดเทียมที่มีขดลวดภายใน (stent) แล้วประกอบเข้าตามลักษณะหลอดเลือดผู้ป่วยในแต่ละราย การผ่าตัดลักษณะนี้มีบาดแผลขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว และลดระยะเวลาการรักษาตัวภายในโรงพยาบาล เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบเปิดหน้าท้อง แต่อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีการรักษายังต้องคำนึงถึงหลากหลายปัจจัยประกอบกัน โดยขึ้นกับความเหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก

 

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ทำให้ผมอดคิดไม่ได้เลยว่าจริง ๆ แล้วไอน์สไตน์อาจจะมองเห็นวิธีการรักษาโรค AAA ในอนาคตที่ต้องทำการใส่วัสดุอุปกรณ์เข้าไปในร่างกายจากประโยคที่ว่า “ฉันต้องการจากไปเมื่อฉันต้องการ ชีวิตจะไร้รสชาติหากต้องอยู่ต่ออย่างผิดธรรมชาติ ฉันทำงานของฉันจบแล้ว ถึงเวลาไปแล้ว ฉันจะจากไปอย่างสง่างาม” (I want to go when I want. It is tasteless to prolong life artificially. I have done my share, it is time to go. I will do it elegantly.) หลังจากต่อสู้กับโรค AAA ได้เพียง 5  วัน ไอน์สไตน์ได้จากไปอย่างสงบในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1955 เวลา 1.15 น. ในวัย 76 ปี ทิ้งผลงานก้องโลกให้เป็นที่จดจำของอนุชนคนรุ่นหลัง. -008

บทความโดย ผศ.นพ. เทิดภูมิ เบญญากร ศัลยแพทย์หลอดเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ส่อง‘สายงานแพทย์’ที่มีความต้องการสูง แนะ‘ทักษะ’จำเป็น ดันเติบโตในอาชีพ ส่อง‘สายงานแพทย์’ที่มีความต้องการสูง แนะ‘ทักษะ’จำเป็น ดันเติบโตในอาชีพ
  •  

Breaking News

เปิดโปรแกรม'นายกฯอิ๊งค์' เตรียมร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 46

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2568

'หมอวรงค์' สั่งสอน 'ทนาย-รมต.อุ๊งอิ๊งค์' ปมจะเอาเงินระบายข้าว 18 ล้านชดใช้แทน ชี้'คนละส่วน' ทุจริตต้องจ่ายเอง!

‘ชวน–นิพนธ์’ ร่วมงาน Roadshow สานต่อความร่วมมือเศรษฐกิจไทย–จีน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved