วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘แนะแนวชีวิต’  บทบาทของ‘ครูแนะแนว’

บทความพิเศษ : ‘แนะแนวชีวิต’ บทบาทของ‘ครูแนะแนว’

วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

“เด็กที่เข้ามาหาส่วนใหญ่เราพบว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว บางปัญหาเกินกว่าที่เราจะช่วยเหลือเยียวยา บางปัญหาที่วนเวียนเข้ามาและยากแก่การแก้ไข ทำให้ต้องปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำงานของตัวเองใหม่คิดว่าจะทำอย่างไรจะป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่ามาตามแก้ปัญหา เพราะงานแนะแนวจริงๆ แล้ว คืองานป้องกันมากกว่างานแก้ปัญหา”

คำกล่าวของ “ครูเป้า” จุฑาทิพย์ ยงพาณิชย์ ครูแนะแนวประจำโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเดิมเป็นนักวิชาการศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เมื่อได้เห็นว่าใช้ความรู้ได้ไม่คุ้มค่าเพราะนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ประโยชน์จากครูแนะแนวน้อยมากเนื่องจากเวลามีปัญหาส่วนใหญ่จะคิดแก้ไขปัญหากันเอง ขณะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้องการครูแนะแนวมากกว่า เพราะเด็กๆ เหล่านี้ไม่รู้จะไปพึ่งใคร และบางเรื่องก็ละเอียดอ่อนเกินกว่าที่เพื่อนรุ่นเดียวกันจะเข้าใจ


นั่นทำให้ จุฑาทิพย์ ตัดสินใจโอนย้ายมาเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนแห่งนี้ แต่เส้นทางการเป็นครูแนะแนวตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ไม่มีคำว่าง่าย ต้องพบเจอสารพันปัญหา และเมื่อได้ข้อสรุปว่าต้องเริ่มจากการป้องกัน จึงเสนอขอให้ผู้บริหารโรงเรียนก่อตั้ง “ศูนย์ให้บริการให้คำปรึกษาวัยรุ่น” หรือ “ศูนย์วัยใสเพื่อนใจวัยเรียน” ขึ้นเมื่อปี 2551 ซึ่งระยะแรกเด็กมักจะมาด้วยปัญหาเรื่องการเรียน แต่ช่วงหลังๆ กลับพบว่าเด็กเข้ามาขอคำปรึกษาด้วยเรื่องส่วนตัวและปัญหาชีวิตมากกว่าเรื่องเรียนต่อ ซึ่งบางเรื่องก็ซับซ้อนและยากเกินกว่าเด็กคนหนึ่งจะรับไหว

“จริงอยู่ที่เด็กเดินมาหาเราเพราะปัญหาบางอย่าง แต่เป็นปัญหาปลายน้ำแล้ว ไม่ใช่ต้นเหตุแห่งปัญหา เช่น เราไปเยี่ยมบ้านเด็กคนหนึ่งด้วยเหตุผลเพราะโรงเรียนกำลังจะให้ทุนการศึกษากับเขา แต่เมื่อไปเยี่ยมบ้านเด็กๆ จริง กลับพบว่า เขาอยู่ในสภาพครอบครัวที่แตกแยก สภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีเราก็ต้องรีบช่วยเหลือและป้องกันให้เพื่อให้พ้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว หรือบางครอบครัวเราเจอทั้งปัญหาละเมิดสิทธิเด็ก ทั้งเรื่องการใช้แรงงานเด็ก เรื่องยาเสพติด เราต้องให้คำแนะนำเด็กอย่างเร่งด่วน” ครูเป้า ระบุ

ข้อค้นพบนี้ทำให้ “การเยี่ยมบ้าน” กลายเป็นสิ่งที่ครูเป้าให้ความสำคัญ โดยเวลาลงพื้นที่แต่ละครั้งจะดูทั้งสภาพแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ บรรยากาศ การปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว รวมถึงสอบถามถึงวิถีชีวิตในบ้าน สถานที่การนอน นอนกับใคร ใครอยู่บ้านบ้างการอาบน้ำ แต่งตัว อนึ่ง “เด็กที่มีปัญหาหรือเสี่ยงส่วนใหญ่จะอยู่ห้องเช่า นอนรวมกัน” ซึ่งจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง เช่น พ่อแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ หรือนักเรียนหญิงเปลี่ยนเสื้อผ้าและนอนตรงไหน จากนั้นต้องรีบให้ความรู้กับเด็กในเชิงป้องกัน

จุฑาทิพย์ เล่าต่อไปว่า “เรื่องเพศ” เป็นหัวข้อที่เด็กๆ มักจะเข้ามาขอคำปรึกษา ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์และโรคติดต่อที่เกี่ยวข้อง “เด็กนั้นกล้าที่จะเล่าหากเขาไว้ใจ” ซึ่งก็จะมีหลายกรณี เช่น หากเพิ่งไปมีเพศสัมพันธ์มาก็จะแนะนำให้รีบกินยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง หรือผู้ที่เป็นชายรักชายก็แนะนำเรื่องการป้องกัน
สถานที่ตรวจโรค ฯลฯ ทั้งนี้ “ในฐานะที่เป็นครูแนะแนว การที่เด็กกล้าเดินมาถามตรงๆ แสดงว่าไว้ใจและต้องการความช่วยเหลือ” เพราะเรื่องเพศเป็นประเด็นละเอียดอ่อนมาก

ขณะที่ “ปัญหาครอบครัว” เป็นหัวข้อรองลงมา ซึ่งมักเกิดกับเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจน พ่อแม่มีความเครียดสูงเกิดความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายร่างกาย หรือการสื่อสารเชิงลบทำให้พูดคุยกันไม่เข้าใจ ซึ่งเมื่อมองให้ลึกถึงต้นเหตุแห่งปัญหาก็คือ “ความไม่พร้อม” ของพ่อแม่ โดยต้องยอมรับว่าบางคนเรียนไม่จบ บางคนมาแต่งงานมีลูกทั้งๆที่ไม่มีอาชีพ ทำให้เลือกงานไม่ได้ ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการสร้างคุณภาพชีวิตลูก เมื่อโตขึ้นก็มีโอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาสูง และสุดท้ายปัญหาก็จะวนกลับมาที่ความเหลื่อมล้ำในสังคม

ซึ่งในเวลาต่อมา ครูเป้า ได้รู้จักกับ “โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดพิษณุโลก” ที่สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็น“ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager : CM) และสหวิชาชีพ” ในปี 2562 เพราะด้วยการทำหน้าที่เป็นครูแนะแนวมากว่า 1 ทศวรรษ ก็ด้วยความหวังว่าหากเด็กได้รับการศึกษาที่ดีอย่างเสมอภาค ปัญหาสังคมก็จะลดลง

“หัวใจเราเบิกบานเหมือนเราเห็นแสงสว่าง เห็นความหวัง เหมือนว่าเรามีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เราก็เทหมดใจให้กับการทำเพื่อเด็ก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคให้กับเด็ก ไม่ใช่แค่ความเสมอภาคทางเพศหรือความเสมอภาคทางสังคม แต่เราพยายามทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ตัวเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นเพื่อภาพรวมของสังคมไทยที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ถ้าทุกคนรู้บทบาทของตัวเองและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง” จุฑาทิพย์ กล่าว

ครูเป้า ยังกล่าวอีกว่า ในการเข้าร่วมกับโครงการนี้ไม่ได้ทำงานลำพังเพียงคนเดียว แต่ยังมีภาคีเครือข่ายที่เข้ามาช่วยเหลือเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาอีกหลายหน่วยงาน เช่น หากเป็นปัญหา เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ท้องไม่พร้อม ภาวะซึมเศร้า จะมีสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ศูนย์สุขภาพจิต เข้ามาช่วยเด็กทั้งด้านความรู้และสุขภาพกายใจ หรือในกรณีเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและถูกผลักออกจากครอบครัวจะมีบ้านพักเด็กเข้ามารับหน้าที่ดูแลต่อหรือบ้านเด็กที่เข้าข่ายถูกค้ามนุษย์บ้านสองแควรับไป

ส่วนกรณีปัญหายาเสพติด ครูเป้าจะส่งไปยังสถานบำบัดภาคเหนือบ้านพระเมตตา ให้โอกาสเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กพึ่งตนเองไม่ได้ไม่ว่าจะปัญหาใดก็ตาม จะต้องมีผู้ใหญ่หรือมีองค์กรภายนอกโรงเรียนเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ และหากมองเรื่องความยั่งยืน ก็จะต้องมีกองทุนของจังหวัดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเด็กโดยเฉพาะ นอกเหนือจากกองทุนของโรงเรียน

“แท้จริงแล้วครูอาจจะไม่ใช่ผู้แก้ไขปัญหาให้เด็กได้ทุกเรื่อง แต่สิ่งที่ครูปฏิบัติต่อเด็กเท่าเทียมกันคือการเป็นผู้รับฟังที่ดี และชี้แนะให้เห็นทางทั้งมืดและสว่าง เพราะสุดท้ายเด็กต้องเป็นผู้เลือกทางของเขาเอง ไม่ใช่ครูแนะแนว” ครูเป้า กล่าวในท้ายที่สุด

SCOOP@NAEWNA.COM

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'อุ๊งอิ๊งค์'วางฤกษ์ 9 โมง เข้ากระทรวงวัฒนธรรมวันพรุ่งนี้

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved