วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รู้จัก‘อัลปราโซแลม’ จากยารักษาอาการทางจิต สู่เครื่องมือกระทำผิดล่วงละเมิดทางเพศ

รู้จัก‘อัลปราโซแลม’ จากยารักษาอาการทางจิต สู่เครื่องมือกระทำผิดล่วงละเมิดทางเพศ

วันอังคาร ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 14.57 น.
Tag : ยาเสียตัว ล่วงละเมิดทางเพศ เครื่องมือกระทำผิด อัลปราโซแลม ยาเสียสาว
  •  

รู้จัก‘อัลปราโซแลม’ จากยารักษาอาการทางจิต สู่เครื่องมือกระทำผิดล่วงละเมิดทางเพศ

ดูจะไม่จบง่ายๆ กับคดีการเสียชีวิตของ น.ส.ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือแตงโม นักแสดงชื่อดัง แม้จะผ่านมากว่า 2 เดือนแล้วแต่ก็มีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ล่าสุดมีข้อมูลพบ “อัลปราโซแลม (Alprazolam)” ในร่างกายของหนึ่งในผู้ที่อยู่บนเรือขณะเกิดเหตุ โดย พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผบช.ภ.1 ยอมรับว่า พบสารดังกล่าวจริงในคนบนเรือที่เป็นเพศชาย แต่ไม่ขอระบุว่าเป็นใคร


ข้อมูลจาก กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam)  เป็นยากลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ (Benzodiazepine) ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ ลอราซิแปม (Lorazepam) มีชื่อทางการค้า เช่น โซแลม (Zolam) , ซาแนค (Xanax) เป็นต้น ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ มีการดูดซึมยา ( t max) ภายใน 1-2 ชั่วโมง จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 67-72 % และมีค่าครึ่งชีวิต 11.1 – 19 ชั่วโมง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่พบ เช่น คลายกล้ามเนื้อลาย (Muscle Relaxants) ต้านอาการชัก (Antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (Anterograde Amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง และเนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ในทางที่ผิด ดังที่มีการใช้คำว่า “ยาเสียสาว-ยาเสียตัว” เรียกยานี้ในสื่อต่างๆ

ทั้งนี้ ผลข้างเคียงของการใช้ยากลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้ โดยปัจจุบัน อัลปราโซแลม จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยาชนิดนี้ ได้แก่ 1.อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือ ในที่สูง 2.ห้ามดื่มสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ 3.อาจเกิดผลตรงข้ามกับฤทธิ์ของยาที่ให้ (Paradoxical Reaction) 4.อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ หรือไตได้ 5.สตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร โรคต้อหิน

โรคไมแอส ตีเนียแกรวีส (Myasthenia Gravis) โรคพอร์ไฟเรีย (Porphyria) หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ 6.ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง 7.หากใช้ร่วมกับยาอื่น เช่นยากดหรือกระตุ้นประสาท ยาคุมกำเนิด ยาต้านฮิสตามีน รวมทั้ง Cimetidine ควรปรึกษาแพทย์ และ 8.หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ กล้ามเนื้อเปลี้ย หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์

บทความ “อัลปราโซแลม วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท” เขียนโดย ผศ.นพ.สุวิทย์ เจริญศักดิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายการใช้ยาอัลปราโซแลมโดยแพทย์ ว่า สำหรับยาอัลปราโซแลมที่แพทย์ใช้มีอยู่ 3 ขนาด คือ 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลิกรัม และขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีรูปร่างเม็ดรี สีที่เฉพาะตามขนาด คือสีขาว สีชมพู และสีม่วง ตามลำดับ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ยานี้ออกฤทธิ์เร็วหลังจากรับประทานไปประมาณ 20 นาที 

แต่ผลข้างเคียงนั้นพบว่า ผู้ที่ใช้ยาอาจมีอาการหลงลืม โดยจะจำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้หลังจากที่รับประทานยาไป ทำให้เป็นที่มาในการใช้ยานี้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเหยื่อจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่ไม่เกิน 1 วัน และถ้าดื่มน้ำมากๆ ยาก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะจนหมด  นอกจากนี้การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ  และหากหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา มีอาการคลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

อ้างอิง

https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/ViewAcademic.aspx?IDitem=21 (alprazolam หรือ ยาเสียตัว : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1026 (อัลปราโซแลม วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท : ผศ.นพ.สุวิทย์  เจริญศักดิ์)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://www.naewna.com/local/652490 'ผบช.ภ.1'รับพบสาร'Alprazolam' จากชายบนเรือสปีดโบ๊ต ยันไม่กระทบรูปคดี

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved