วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘สุนัขจรจัด’พรวด!‘จิตสำนึก-ศก.’ปัจจัยหลักถูก‘ทิ้ง’ เปิดโมเดลแก้ปัญหา

‘สุนัขจรจัด’พรวด!‘จิตสำนึก-ศก.’ปัจจัยหลักถูก‘ทิ้ง’ เปิดโมเดลแก้ปัญหา

วันศุกร์ ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 15.28 น.
Tag : สุนัขจรจัด ทารุณสัตว์ สุนัขชุมชน
  •  

‘สุนัขจรจัด’พรวด!‘จิตสำนึก-ศก.’ปัจจัยหลักถูก‘ทิ้ง’ เปิดโมเดลแก้ปัญหา

13 พฤษภาคม 2565 ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) เปิดเผยว่า วันก่อนเห็นข่าวโครงการสุนัขชุมชนเมืองทองธานีแล้วรู้สึกชื่นชม และขอเป็นกำลังใจ และยังมีอีกหลายๆโครงการที่ดี เช่น โครงการจัดการปัญหาสุนัขในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แบบมีส่วนร่วมจากชุมชนอย่างยั่งยืน หรือโครงการสุนัขชุมชนตลาดแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม นับว่าเป็นความพยายามของหลายภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย


จากการสำรวจของกรมปศุสัตว์เมื่อปี 2563 พบว่า มีสุนัขจรจัดทั่วประเทศ จำนวนกว่า 2.3 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2557 มีสุนัขจรจัดเพียง 7.3 แสนตัว หรือมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว ในระยะเวลา 6 ปี และมีแนวโน้มจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ดร.สาธิต กล่าวว่า ส่วนใหญ่ปัญหาสุนัขจรจัดเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะจากการที่ผู้เลี้ยงไม่ต้องการเลี้ยงหรือมีปัญหาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น หรือเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวถูกเลิกจ้างงาน เลี้ยงไม่ไหว การย้ายที่อยู่อาศัยหรือการละเลยขาดจิตสำนึกรับผิดชอบ นำสุนัขมาปล่อยทิ้งในที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก ถ้าอัตราการเพิ่มขึ้นของสุนัขดังกล่าวมีอย่างต่อเนื่อง และถ้าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องละเลยหรือขาดมาตรการแก้ไขปัญหาที่ดีและจริงจัง อาจจะนำมาสู่ปัญหาต่างๆมากมาย เช่น การสร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญจนนำมาสู่ความขัดแย้งของคนในชุมชนได้ รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ เช่น พิษสุนัขบ้าหรือการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย

สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามหาแนวทางร่วมกันในการบูรณาการ การแก้ไขปัญหาในหลากหลายวิธี เช่น การผ่าตัดทำหมัน การจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์ ก็อาจยังไม่เพียงพอที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ทั่วถึง

ทั้งนี้ “โครงการสุนัขชุมชน” จึงเกิดขึ้นจากหลายๆ แนวคิดที่ร่วมกันเสนอและผลักดันทั้งภาครัฐ เช่นกรมปศุสัตว์ ภาคเอกชน นักวิชาการ ซึ่งอาจแบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก สุนัขไม่มีเจ้าของไม่มีผู้ดูแลเลย กลุ่มที่ 2 สุนัขไม่มีเจ้าของแต่มีผู้ดูแลให้อาหารบ้าง กลุ่มที่ 3 คือ สุนัขที่อยู่ในชุมชน มีคนให้อาหารและคอยดูแลบ้าง อาจมีการตั้งชื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในชุมชน สามารถจับไปทำหมันและฉีดวัคซีนได้  

โครงการสุนัขชุมชน ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนคือโครงการจากกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดสวัสดิภาพสัตว์และบริการทางการแพทย์ ก็ได้จัดโครงการสุนัขชุมชนเช่นกัน โดยได้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดโครงการ เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลสุนัขจรจัดเป็นไปอย่างมีระบบ ลดปัญหาการเพิ่มจำนวนและลดปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน และที่สำคัญเพื่อให้สุนัขในชุมชนได้รับการจัดสวัสดิภาพที่ดีตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ภายในระยะเวลา 3 ปี 2565-2567 มีพื้นที่ดำเนินการ 25 ชุมชนต้นแบบนำร่องเพื่อเป็นการทดลองและพร้อมจะขยายผลไปทั่วประเทศ

ทั้งนี้ มีรูปแบบกิจกรรม เช่น การลงทะเบียนประวัติสุนัขทุกตัวของชุมชน  การทำเครื่องหมาย การฝังไมโครชิพหรือทำสัญลักษณ์  การตรวจสุขภาพพื้นฐาน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี การกำจัดเห็บหมัดและถ่ายพยาธิ การผ่าตัดทำหมันเพื่อควบคุมจำนวนประชากร หรือแม้แต่การมีเครื่องหมายหรือปลอกคอที่สามารถระบุพฤติกรรมได้ เช่น ปลอกคอสีเขียว หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมที่ทุกคนจับต้องได้ ปลอกคอสีเหลือง หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมที่คนดูแลเท่านั้นจับต้องได้ ปลอกคอสีแดง หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมหวาดระแวงไม่มีใครจับต้องได้  ผลที่คาดว่าจะได้รับ จำนวนสุนัขจรจัดในชุมชนลดลงในแต่ละปี ลดการปล่อยและทอดทิ้งสุนัข สุนัขได้รับการจัดสวัสดิภาพที่ดี ลดปัญหาการสงเคราะห์สัตว์ช่วยเหลือสัตว์แบบเคาะกะละมังเลี้ยง และได้รูปแบบที่เหมาะสมในการขยายผลและต่อยอดในการจัดการสุนัขจรจัดอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

“โครงการสุนัขชุมชน ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เป็นแนวความคิดที่ดี ในการกระจายรูปแบบและวิธีการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมที่ต้องเริ่มจากคนในชุมชนด้วยกันเอง และมีหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนช่วยกันสนับสนุนทรัพยากรทางบริหาร ในการแก้ปัญหาของชุมชนให้ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยชุมชนและเพื่อชุมชนนั้น แต่ที่สำคัญขอฝากไว้ว่า ต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อการปรับรูปแบบให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทและปัญหาที่แท้จริงของชุมชนนั้น ต่อไป” ดร.สาธิต กล่าว

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

TRUE แจงด่วน! ขออภัยเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น กำลังเร่งแก้ไข ยันดีแทคใช้ได้ปกติ

‘โรม’อัดรัฐบาลอืดอาด ไร้น้ำยาแก้ปัญหาสารพิษ‘แม่น้ำกก’ ชี้ช่องคุยจีน-ฟ้องศาล

จับโค้ช 18 มงกุฏตุ๋นเหยื่อร่วมลงทุนก่อนเชิดเงินหนี เสียหายกว่า 5.9 ล้าน

เสียงร้องจากก้นหลุม! ถึงเวลาทบทวนความปลอดภัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved