10 กรกฎาคม 2565 เฟซบุ๊กแฟนเพจ สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ด้านการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย โพสต์ข้อความระบุว่า
วัชพืชน้ำร้ายแรง..."จอกหูหนูยักษ์" อาจได้อวดสายตาชาวโลกใน #งานมหกรรมพืชสวนโลก จ. อุดรธานี ปี 2569
แต่ปัญหายังติดอยู่ตรงที่..จอกหูหนูยักษ์ ยังติดอยู่ในบัญชีรายชื่อสิ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไข พ.ศ. 2521 2550 และ 2551 ซึ่งกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้กำกับดูแล ได้ประกาศให้ "จอกหูหนูยักษ์" เป็น "สิ่งต้องห้าม" ลำดับที่ 349 ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ ปี 2521 แต่ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "เฟิร์นน้ำซาลวิเนีย"
บทลงโทษ คือ "หากผู้ใดครอบครองสิ่งต้องห้าม จะต้องเป็นผู้ทำลาย และหากเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำลาย สามารถเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้ครอบครองได้ และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ขัดขืน ขัดขวาง การกระทำ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ล่าสุดปี 2565 .มีรายงานว่าพบ "จอกหูหนูยักษ์" ระบาดไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่หนองหาน-กุมภวาปี จ. อุดรธานี หรือ ชาวบ้านเรียกว่า "#ทะเลบัวแดง" พื้นที่ 22,000 ไร่ มีปริมาณจอกหูหนูยักษ์อยู่มากกว่า 2 ล้านตัน ทำให้เรือนำนักท่องเที่ยวชมความงามของทะเลบัวแดง ไม่สามารถวิ่งรับผู้โดยสารได้เพราะ มีจอกหูหนูยักษ์"มีความหนาแน่นมาก
ที่จริง.การระบาดของ "จอกหูหนูยักษ์" ใน จังหวัดอุดรธานี เริ่มต้นในปี 2560 ในจำนวนไม่มาก แต่"จอกหูหนูยักษ์" ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพียง 1 ต้นสามารถ เพิ่มปริมาณครอบคลุมพื้นที่ 64,750 ไร่ ได้ ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ซึ่งเร็วกว่าผักตบชวาหลายเท่า ถึงแม้ว่าชุมชนร่วมแรง ร่วมใจ กันกำจัดโดยการเก็บต้นจอกหูหนูยักษ์ ไปทิ้งนอกพื้นที่แหล่งน้ำ ..แต่ก็ทำได้แค่เพียงปีละ 10% เท่านั้น
การดูแลรักษาแหล่งน้ำ เป็นเรื่องที่มีหน่วยงานรับผิดชอบมากมาย ยกตัวอย่างเช่นในบริเวณเขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร อยู่ในความรับผิดชอบของ #กรมชลประทาน ส่วนในพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเช่นบึงบอระเพ็ดและอีกหลายแห่งทั่วประเทศ อยู่ในความรับผิดชอบของ #กรมประมง ในพื้นที่แม่น้ำที่ใช้สัญจรไปมาทางน้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ #กรมเจ้าท่า ในพื้นที่ แหล่งน้ำของชุมชน อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. และ อบจ.
ดังนั้น การจัดการวัชพืชร้ายแรงตัวนี้คงไม่สามารถดำเนินการได้เฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากทุกหน่วยงานทำงานร่วมกัน และบูรณาการวิธีป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพ เราคงกำจัด จอกหูหนูยักษ์" และวัชพืชน้ำชนิดอื่นๆ ให้หมดไปจากประเทศไทยได้โดยเร็ว
สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ อีก 4 ปีข้างหน้า ใน งานมหกรรมพืชสวนโลกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ เราคงไม่ได้อวดความงดงามของทะเลบัวแดง แต่อาจจะได้อวด "จอกหูหนูยักษ์ ..วัชพืชกักกันร้ายแรง "แทน‼️ นอกจากจังหวัดอุดรธานีแล้ว ยังมีรายงานว่าพบ "จอกหูหนูยักษ์" ระบาดในพื้นที่แหล่งน้ำอีกหลายจังหวัดได้แก่ สกลนคร กาฬสินธุ์ ลำปาง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรีสมุทรสงคราม สงขลา ที่เป็นพื้นที่รวมกันหลายหมื่นไร่ นอกจากนั้นยังพบว่า เจ้าหน้าที่ปล่อยให้มีการซื้อขายจอกหูหนูยักษ์ ทางออนไลน์อีกด้วย
แบบนี้เรายังสมควรเรียก "#จอกหูหนูยักษ์" ว่าเป็น "#สิ่งต้องห้าม" "#วัชพืชกักกัน" อยู่อีกหรือไม่ งานนี้..กรมวิชาการเกษตรเท่านั้น.ที่ต้องออกมาชี้แจงให้สังคมรับทราบ. 012
ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.facebook.com/1868825710042450/posts/3180539135537761/
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี