วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'ทอผ้าขิด'ลวดลายอีสาน สินค้าOTOP ฝีมือชาวนาอำนาจเจริญ

'ทอผ้าขิด'ลวดลายอีสาน สินค้าOTOP ฝีมือชาวนาอำนาจเจริญ

วันพุธ ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 13.56 น.
Tag : ทอผ้าขิด' อำนาจเจริญ หมอน กระเป๋า สินค้าOTOP ชาวนา
  •  

2 พฤศจิกายน 2565 การทอผ้าขิด หนึ่งในสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ต.คำพระ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่รุ่นสู่รุ่น ด้วยลวดลายหลากหลายแบบอีสานแท้ๆ ผลิตเป็นสินค้า กลายเป็นหมอนขิด กระเป๋าและอื่นๆเกือบ 100 ชนิด วางจำหน่ายอยู่ที่ศูนย์วิสาหกิจชุมชนตำบลคำพระ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ทว่าที่โดดเด่น เป็นบุญตาแก่บรรดานักท่องเที่ยวที่พบเห็นมากที่สุดก็คือ การทอผ้าฝ้ายขิดคำพระเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในหลวงรัชกาลที่ 9 (เมื่อครั้งยังไม่สวรรณคต) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2543  ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายขิดยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาว 2,199.99 เมตร ก็มีไว้ให้ชมที่นี่เช่นกัน 


นางสมจิตร หลักวัฒน์ รองประธานศูนย์วิสาหกิจชุมชนตำบลคำพระ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ เล่าถึงความเป็นมาของการทอผ้าฝ้ายขิดคำพระว่า  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้ระบุว่า ยายของนางภา สุพล ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าชิดให้ นางทอง สุพล(เกิดเมื่อปี พ.ศ.2433) โดยเป็นการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ชนิดต่างๆ เพื่อทำเป็นหมอนไว้ใช้ในครัวเรือน

ต่อมาการทอผ้าขิดได้รับความสนใจและรู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากปี พ.ศ.2518 จ.อุบลราชธานี (เมื่อครั้งอำนาจเจริญเป็นอำเภอหนึ่งใน จ.อุบลราชธานี)ได้จัดประกวดผ้าในงานกาชาดจังหวัดอุบลราชธานีและนางทอง สุพล ได้ทอผ้าขิดและทำเป็นหมอนขิดส่งเข้าประกวด ปรากฏว่า ได้รับรางวัลที่ 1 ทำให้ชาวบ้านสนใจและได้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าในหมู่บ้านเรื่อยมา และนำผลงานเข้าประกวดในงานกาชาด จ.อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2523

โดยนางฮู้ ลาภาอุตม์ ได้รับรางวัลที่ 2 จึงถือว่า การทอผ้าขิดคำพระเป็นมรดกตกทอดภูมิปัญญาที่ได้สืบสานต่อกันมา ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม มีการสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนและขยายไปสู่หมู่บ้านใกล้เคียง จึงมีการผลิตหมอนขิดทั้งอำเภอ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ถ้าเอ่ยถึงหมอนขิด จะต้องมาจาก อ.หัวตะพาน เท่านั้น 

นางสมจิตร หลักวัฒน์ รองประธานศูนย์วิสาหกิจชุมชน ต.คำพระ กล่าวว่า ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลคำพระ เมื่อปี พ.ศ.2531 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหัวตะพาน ปัจมีสมาชิกประมาณ 102 คน ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดผ้าขิด ณ ศูนย์ศีลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ.2537 และได้พัฒนาบริหารจัดการกิจการของกลุ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 จนกลายเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบของจังหวัดอำนาจเจริญ

ซึ่งกิจกรรมของกลุ่มประกอบด้วย การทอผ้าลายขิด จากด้ายฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ,การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์จากผ้าขิด,การบริหารศูนย์วิสาหกิจชุมชน อ.หัวตะพาน ซึ่งตั้งอยู่หน้าสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ และการหาตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ส่วนหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ,สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด,สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด,องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ,หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ทั้งระดับอำเภอและจังหวัด 

ผลงานของกลุ่มที่ประทับใจ เช่น เมื่อปี พ.ศ.2537 ได้รับรางวัลชนะเลิศกรรมการพัฒนาดีเด่นระดับเขต, ได้รับรางวัลชนะเลิศผ้าขิดย้อมสีธรรมชาติ รางวัลที่ 1 -2 -3 ณ.ศูนย์ศีลปาชีพบางไทร, พ.ศ.2539 ได้รับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านหัตถกรรมสร้างสรรค์ มูลนิธิหม่อมฯงามจิตร, พ.ศ.2541 ได้รับรางวัลตำบลพัฒนาดีเด่น,ได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าถวายผ้าขิดเฉลิมพระเกียรติฯ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ,พ.ศ.2544 ได้รับรางวัลแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นอันดับ 2 ของประเทศ, พ.ศ.2545 ได้รับรางวัลแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์,ได้รับรางวัลชนะเลิศชุมชนไทยสู้ภัยเศรษฐกิจและได้รับมาตรฐานสินค้า ระดับ 5 ดาว ของจังหวัดอำนาจเจริญ 4 ดาวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,พ.ศ.2547 ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มผช.15(1)2546) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547, พ.ศ.2549 ได้รับมาตรฐานสินค้า ระดับ 5 ดาว ขอประเทศและปี พ.ศ.2550 ได้รับรางวัลประกวดผ้าขิด รางวัลที่ 1,2,3 ในงานกาชาด จ.อำนาจเจริญ อีกด้วย 

ส่วนที่โดดเด่นประชาชนเข้ามาชมมากที่สุด ก็คือการทอผ้าฝ้ายขิดยาวที่สุดในโลก ความยาว 2,199.99 เมตร เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2543 เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลบเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการทอมือลงลวดลายในเนื้อผ้าฝ้ายที่ลงตัวกลมกลืน กลายเป็นลายโบราณ 72 ลาย สวยงามมาก ก็ได้นำมาแสดงไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป.012

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved