วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘แนวรบออนไลน์’น่าห่วง  ‘การเมือง-สังคม’ยุคดิจิทัล

สกู๊ปแนวหน้า : ‘แนวรบออนไลน์’น่าห่วง ‘การเมือง-สังคม’ยุคดิจิทัล

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“มีอินฟลูเอนเซอร์ที่มีฟอลโลว์เวอร์เป็นล้านๆ มีอินฟลูเอนเซอร์ขนาดกลางๆ ที่มีคนติดตามประมาณ 4 แสน หรือหลักแสน แล้วก็มีอินฟลูเอนเซอร์เล็กๆ ที่มีผู้ติดตาม 7-8 หมื่นกว่า แล้วก็จะมีทั้งไมโครกับนาโน คือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ย่อยๆ ไปอีก ยังมีอินฟลูเอนเซอร์ข้างนอก อย่างอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นมีคนติดตาม 23,000 แต่ดูรีแอ๊กชั่นที่สามารถทำขึ้นมาได้ คูณไปเป็นพันครั้ง แล้วก็คูณไปอีกพัน นี่คือจำนวนข้อมูลดิลอินฟอร์เมชั่นที่มันโถมเข้ามา”

เรื่องเล่าจาก เจสัน อาร์ กอนซาเลซผู้อำนวยการพรรคเสรีนิยม ประเทศฟิลิปปินส์ ในวงเสวนา “เราพลาดตรงไหน-อะไรที่ไม่ได้ทำ-ต้องทำอย่างไร เพื่อให้การหาเสียงเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และสร้างภูมิคุ้มกันต่อปฏิบัติการข้อมูลบนโลกออนไลน์” ซึ่งจัดโดย โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงคำว่า “ไอโอ (IO)”ที่ไม่ได้ย่อมาจาก “Information Operation (ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร)” แต่เป็น “Influence Operations (ปฏิบัติการสร้างอิทธิพลทางความคิด)” ซึ่งเกิดขึ้นในยุคของ “สื่อสังคมออนไลน์ (โซเชียลมีเดีย-Social Media)”


โดยในยุคสมัยแบบนี้ มีคนที่ถูกเรียกว่า“อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)” หรือผู้ที่สามารถใช้สื่อออนไลน์สร้างอิทธิพลทางความคิด-ความเชื่อต่อคนอื่นๆ ในสังคม มีตั้งแต่ระดับเล็กๆ(ไมโคร-นาโน, Micro-Nano) ยอดผู้ติดตามเพียงหลักพัน ไปจนถึงระดับ “ตัวพ่อ-ตัวแม่” ที่ยอดผู้ติดตาม (ฟอลโลว์เวอร์-Follower) หลักแสน-หลักล้าน แน่นอนว่าเมื่อมีชื่อเสียงระดับนี้ ที่จะตามมาด้วยคือการได้รับการว่าจ้างจากธุรกิจต่างๆ ให้โปรโมทสินค้า บริการ ไปจนถึง “เนื้อหาทางการเมือง”เพื่อสร้างคะแนนนิยมหรือลดทอนความน่าเชื่อถือของพรรคการเมือง-ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

เจสัน กล่าวถึงงานศึกษาหลายชิ้น อาทิ “This is what a paid operation looks like.” เมื่อปี 2561 อธิบายขั้นตอนการ “ปั่นกระแส”
อะไรสักอย่างขึ้นมา ไล่ตั้งแต่เมื่อมีลูกค้าต้องการใช้บริการ ฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์จะออกแบบ “สาร (Message)” ที่ต้องการสื่อออกไป ให้อินฟลูเอนเซอร์นำสารไปแปลงเป็น “เนื้อหา (Content)”เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายแพลตฟอร์ม (เฟซบุ๊ก-Facebook ยูทูบ-Youtubeอินสตาแกรม-Instagram ฯลฯ) สุดท้ายคือมีการใช้“บัญชีปลอม” (หรือที่คนไทยคุ้นกับคำว่า “อวตาร”)กระจายเนื้อหาเหล่านั้นไปสู่ชุมชน

“นักการเมืองจ้างให้เผยแพร่เรื่องราวปลอมๆ แล้วคูณเป็นพันครั้ง แล้วก็กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกันในบ้านที่ฟิลิปปินส์ บางครั้งบริษัทใหญ่ๆ เองก็เป็นคนว่าจ้างด้วยซ้ำ ตัวอย่างอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมในฟิลิปปินส์ มีฟอลโลว์เวอร์ 2.1-2.2 ล้าน มีข้อความว่า ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายเลนี (Leni Robredo-ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในการเลือกตั้งปี 2565) มา 6 ปีแล้ว แต่คุณทำลายมาร์กอส (Marcos-ตระกูลการเมืองในฟิลิปปินส์ ซึ่งในการเลือกตั้ง ปธน. ปี 2565 Bongbong Marcos ก็ลงสมัครด้วย) มาตั้งแต่ปี 1972 (2515) แล้วไม่ใช่หรือ?

แล้วเนื้อหาพวกนี้ถูกพวกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลมากมายเป็นคนส่งต่อไป มันก็ไม่ไหว แล้วดูว่า 1 วีดีโอมันจะมีกี่วิว (View-ยอดการชม) แล้วอันนี้ไม่สามารถจะทำแฟคเช็ค(Fact Check-ตรวจสอบข้อเท็จจริง) ได้ด้วย เพราะมันแค่ป้ายสีผู้แข่งขันแต่ไม่ได้เป็นการอ้างอิงอะไรชัดเจน อย่างพิน็อคคิโอ(Pinocchio-ตัวละครในนิทาน ซึ่งก็ถูกหยิบมาใช้เล่าเรื่องการเมือง) ก็เป็นการพูดถึงตัวผู้สมัครคนหนึ่งเป็นการเสียดสีประชดประชันขึ้นมา” เจสัน ยกตัวอย่าง

งานศึกษาเรื่อง “Network of Primary and Secondary Creators Progagating Revisionist Content onYoutube” ในปี 2563 ว่าด้วยการสร้างเนื้อหาแล้วนำไปแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มยูทูบ โดยใช้ประโยชน์จากอัลกอริทึม (Algorithm) เชื่อมโยงเนื้อหาของยูทูบ กล่าวคือ เมื่อคนคนหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับใหญ่ๆ รู้จักในวงกว้าง) สร้างเนื้อหาออกมาแล้วโพสต์ขึ้นบนยูทูบ คนอื่นๆ ในเครือข่ายก็จะเข้าไปดู ซึ่งจะนำแบบนี้หมุนเวียนกันไปเพื่อให้อัลกอริทึมของยูทูบจดจำและสร้างความเชื่อมโยง ยิ่งความเชื่อมโยงมาก ยอดคนดูก็จะเพิ่มขึ้นแบบน่าทึ่ง

หรือล่าสุดในช่วงเลือกตั้ง ปธน. ฟิลิปปินส์ ปี 2565 มีงานศึกษาเรื่อง “Parallel Public Spheres : Influence Operations in the 2022 Philippine Elections” เห็นการแบ่งทีมแสดงบทบาทตั้งแต่ “Knowledge Influencer” หรือผู้เชี่ยวชาญ “Senator Satirist” หรือผู้อาวุโสนักประชดประชัน “AFAM Reactors” หรือชาวต่างชาติในฟิลิปปินส์ที่เข้ามาแสดงทรรศนะ โดยเฉพาะหากมีหน้าตาดีด้วยจะได้รับความสนใจมาก อนึ่ง Influence Operations ไม่ได้เร่งทำกันช่วงเลือกตั้ง แต่สร้างและปั่นกระแสกันมาก่อนพอสมควร รู้ตัวอีกทีผู้คนก็เห็นเรื่องโกหกเป็นความจริงไปแล้ว

“พอโควิดระบาด ติ๊กต็อก (TikTok) ก็ฮิตระเบิดกันขึ้นมาเพราะคนก็อยู่กันแต่บ้านอย่างเดียว แล้วคนจะนิยมอะไรที่มันสั้นๆ มากขึ้น ไม่ใช่แค่ติ๊กต็อก แต่เฟซบุ๊กรีล (Reels) ยูทูบชอร์ต (Shorts) นี่ก็ดังขึ้นมาหมดเลย แล้วความสนใจ สมาธิของเด็กๆ ลูกๆ ของเราก็สั้นลงหดลงเรื่อยๆ แล้วเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง การศึกษาบอกไว้ว่า ยูสเซอร์บีเฮวิเออร์ (User Behavior-พฤติกรรมผู้ใช้งาน) ที่ดูเรื่องข่าวต่างๆ ในโซเชียลมีเดีย เขาจะอ่านหัวข้อข่าวแล้วก็ข้ามเนื้อความไปหมด แล้วก็อ่านแค่คอมเมนต์ (Comment-ความคิดเห็น) อย่างเดียว”เจสัน ระบุ

ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ นักวิจัยหัวหน้าโครงการ Monitoring Center on Organized Violence Events (MOVE) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้การทำสงครามข้อมูลข่าวสาร (อินฟอร์เมชั่นวอร์แฟร์- Information Warfare) จะเป็นเรื่องปกติของการเมืองหรือในสังคมที่ขัดแย้งกัน แต่สถานการณ์ที่ Information Warfare เป็นอันตราย คือเมื่อฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากกว่าอีกฝ่าย

“มันตามมาด้วยการใช้มาตรการ เช่น กระจายข้อมูลที่เป็นการทำลายชื่อเสียง ทำลายบุคลิก รวมถึงตั้งคำถามกับศีลธรรม กับอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มบุคคลเพื่อที่จะทำลายความน่าเชื่อถือ และขณะเดียวกันทำให้กลุ่มบุคคลนั้นๆ เป็นที่รังเกียจของสังคม งานวิจัยที่ดิฉันเจอ การสร้างกระแสสังคมแบบนี้มันไม่ใช่เป็นไปเพื่อสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลนั้นเท่านั้น แต่มันผสมกับการดำเนินคดี มันผสมกับการตั้งฉากให้กับการดำเนินคดีต่อไป” ผศ.ดร.จันจิรา กล่าว

อีกด้านหนึ่ง สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ฝากเตือนว่าในขณะที่ความสนใจถูกทุ่มไปที่สื่อสังคมออนไลน์เนื่องจากผู้คนติดตามข้อมูลข่าวสารในช่องทางนี้มากขึ้นในระยะหลังๆ แต่ “ช่องทางธรรมชาติ (ปากต่อปาก-ตัวต่อตัว)” ก็ยังเป็นอีกช่องทางที่คนรับสาร เช่น เรื่องเล่าของนักการเมือง หรือจากคนที่รู้จักกัน ซึ่งคัดกรองกันได้ยากกว่าข้อมูลที่ปรากฏบนอินเตอร์เนต

“ที่มาจากตัวต่อตัวจากนักการเมือง เวลาเขาพูดถึงตัวเองเขาก็ต้องในทางที่ดี ส่วนพูดถึงคู่แข่งก็ต้องทางที่ร้าย การพูดคุยกันเองระหว่างผู้คน ก็ตั้งเป็นประเด็นไว้ว่าเราจะเช็คกันไหวหรือ”สติธร ฝากประเด็นน่าคิด

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 13-19 พ.ค.68

‘กกล.สุรนารี-ตม.อุบลราชธานี’แถลงรวบผู้ต้องหา-ยึด‘ยาบ้า’ 1 ล้านเม็ด ซุกป่าข้างถนน

ปภ.เฮ! ทดสอบ Cell Broadcast ผลน่าพอใจ 'นายกฯอิ๊งค์' รับสัญญาณ2รอบ

พปชร.ตั้งทีมเศรษฐกิจ 'ธีระชัย'นำทัพ!ลุยแก้ปัญหาปากท้องลงมือทำจริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved