วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
วิธีเตรียมตัวก่อนวาร์ป กลับไปสมัย 'กรุงศรีอยุธยา'

วิธีเตรียมตัวก่อนวาร์ป กลับไปสมัย 'กรุงศรีอยุธยา'

วันพุธ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566, 15.29 น.
Tag :
  •  

วิธีเตรียมตัวก่อนวาร์ป กลับไปสมัย 'กรุงศรีอยุธยา'

สมมติว่าถ้าคุณสามารถเดินทางย้อนเวลากลับไปในช่วงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้จริงๆ ละก็ เรามีคำแนะนำให้เตรียมพร้อมก่อนการเดินทางข้ามเวลาดังนี้


อันดับแรกเป็นการกล่าวถึงสภาพภูมิทัศน์ของกรุงศรีอยุธยาที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทำเลที่ตั้ง จนทำให้อาหารการกินมากมายไม่เคยขาดแคลน  “…แม่น้ำที่ชาวสยามเรียกกันว่าแม่น้ำนั้น หมายถึงแม่ของน้ำ เป็นแม่น้ำที่กว้างใหญ่และยาวมาก…เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลล้นฝั่งทุกปี ในปีหนึ่งๆ ในบริเวณที่ราบจะมีน้ำนองถึง 5-6 เดือน เป็นผลให้พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ทั้งชะล้างสิ่งโสโครกต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคติดต่อหมดไป …พื้นดินทั่วไปอุดมสมบูรณ์ แต่บริเวณที่มีพลเมืองหนาแน่นมักจะอยู่ริมน้ำและบริเวณที่ราบในเมือง มีเมืองต่างๆ หลายเมือง สถานที่ๆเป็นตลาดและหมู่บ้านมากมาย

ประชาชนและหมู่บ้านในชนบท ทำงานในลักษณะทาส ทำงานในไร่นา เพาะปลูกธัญพืชทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว และยังมีครามเปียกจำนวนมาก นอกจากนั้นพวกเขาปลูกไม้ผลทุกประเภท โดยเฉพาะมะพร้าวและต้นหมาก พวกเขาเลี้ยงม้าขนาดเล็ก วัว หมู แกะ ห่าน เป็ด ลูกไก่  นกพิราบ และสัตว์ที่ถูกฝึกให้เชื่องอย่างอื่นๆ อีกมาก อาหารระหว่างปีที่อุดมสมบูรณ์จะมีราคาถูกมาก  “ข้าวและปลาเค็ม ปลาแห้ง ในกรุงสยามราคาถูกอย่างเหลือหลาย..เพราะฉะนั้นชนชาตินี้ไม่ต้องห่วงถึงช่องทางหากิน ปล่อยตัวเกียจคร้าน ทุกบ้านทุกช่องกึกก้องไปด้วยเสียงร้องเพลงและเสียงชื่นชมโสมนัส ซึ่งเราจะไม่ได้ยินในชนชาติอื่น…

อาหารในชีวิตประจำวันของชาวสยามไม่ฟุ่มเฟือย อาหารคาวมีแต่ข้าว ปลา และผัก ไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ ส่วนอาหารหวาน ส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ เครื่องดื่มเป็นเพียงน้ำธรรมดา แต่หากเป็นงานเลี้ยงจะกินอาหารอย่างฟุ่มเฟือยและมีสุราเมรัยเพิ่มเติม

แต่สิ่งที่คุณจะต้องระวังเป็นอย่างมากนั่นก็คือ “โรคระบาด” นั่นเอง

กรุงศรีอยุธยาและบ้านเมืองแถบอุษาคเนย์ เกิดกาฬโรคระบาดเหตุเพราะการติดต่อค้าขายทางสำเภากับจีน เนื่องจากมีหลักฐานประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามีกาฬโรคระบาดในจีนเมื่อราว พ.ศ.1876 จากนั้นก็แพร่สู่อุษาคเนย์ โดยมีหมัดหนูเกาะติดตัวหนูอยู่ใต้ท้องสำเภา เมื่อสำเภาเทียบท่าจอดขนถ่ายสินค้าที่แห่งใด หนูใต้ท้องสำเภาก็เอาหมัดหนูออกไปแพร่เชื้อในบ้านเมืองแห่งนั้นตลอดเส้นทาง เช่นเดียวกับประเทศไทยในเวลานั้น มีผู้คนล้มตายจำนวนมากด้วยกาฬโรคระบาดดังปรากฎใน “ตำนานและพงศาวดารเรื่องพระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่า แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893”

กรุงศรีอยุธยาช่วงกาฬโรคระบาด มีศูนย์กลางอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง และวัดใหญ่ชัยมงคล ทางตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา กาฬโรคได้คร่าชีวิตทั้งคนชั้นสูง เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ และไพร่ฟ้าประชาราษฎรไปเป็นจำนวนมาก ผู้คนที่รอดตายจากกาฬโรคต้องสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ มีร่องรอยในพระราชพงศาวดารว่ากษัตริย์ยุคนั้นได้ย้ายตำหนักจากที่เดิมไปอยู่ที่ใหม่ เรียกว่า “เวียงเหล็ก” บริเวณวัดพุทไธสวรรย์ เมื่อกาฬโรคระบาดสิ้นฤทธิ์หมดแล้วตามธรรมชาติ ในปี พ.ศ.1893 ตรงกับคริสต์ศักราช 1350 จึงได้มีการสถาปนานามเมืองใหม่เพื่อแก้อาถรรพณ์ว่า “กรุงศรีอยุธยา”

แน่นอนว่าสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวไปจากปี 2566 เพื่อวาร์ปกลับไปในปีนั้น ก็คือ .....

  1. เตรียมยาปฏิชีวนะ

เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะในช่วงเวลานั้นโลกของเรายังไม่รู้จักยาปฏิชีวนะ ไม่รู้ว่าโรคติดเชื้อต่างๆ เกิดจากอะไรกันแน่ โลกทัศน์ของคนอยุธยาในเวลานั้นเชื่อกันว่าอาการป่วยของคนเกิดจากธาตุดินน้ำลมไฟในร่างกายไม่สมดุลกัน บางโรคก็มีสมมติฐานว่าเกิดจากโลหิตเป็นพิษ การรักษาก็ใช้ยาพื้นบ้าน ซึ่งหลายขนานก็ได้ผลดี แต่บางขนานก็อาจจะรักษาได้ไม่หายขาดยาปฏิชีวนะที่ใช้ฆ่าพวกมันนั้นเพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นาน โลกการแพทย์เปลี่ยนแปลงไปแบบก้าวกระโดดเมื่อ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) นักวิทยาศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ค้นพบเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะตัวแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2471 ซึ่งตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 7 กรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากนั้นการรักษาโรคติดเชื้อก็กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับมนุษยชาติ

  2. เตรียมยาล้างแผลและฉีดวัคซีนบาดทะยักไปล่วงหน้า

บาดทะยักเป็นโรคร้ายแรง  ซึ่งพบได้ทั่วไปในดินและมูลสัตว์ เป็นเชื้อที่มีความทนทาน สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็นปีๆ สามารถเติบโตได้ดีในที่ซึ่งไม่มีออกซิเจน ดังนั้นถ้าเกิดบาดแผลที่ไม่สะอาด เช่น ถูกมีดบาด เดินเท้าเปล่าไปถูกไม้ ถูกหินตำ แล้วโชคร้ายแผลไปปนเปื้อนกับเชื้อบาดทะยักเข้า เชื้อก็จะเข้าไปแฝงตัวและเติบโตในร่างกาย หลังจากนั้นราวๆ 5 วันถึง 15 สัปดาห์ คนไข้ก็จะเกิดมีไข้สูง ร่วมด้วยอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากยาก กินอาหารไม่ได้ ต่อมาก็จะเกิดอาการชัก หลังแอ่น เกร็งไปทั้งตัว มาถึงขั้นนี้ โอกาสรอดชีวิตก็น้อยเต็มที สมัยอยุธยาเรียกโรคนี้ว่า ‘ตะพั้น’ หรือ ‘สะพั้น’ เป็นโรคที่หมอแผนโบราณหวั่นวิตกมาก เพราะคนไข้มักจะไม่รอด

ที่น่าสนใจอีกประการก็คือ ตะพั้นในยุคนั้นมักเกิดกับมารดาหลังคลอดบุตร เพราะหลายครั้งการคลอดนั้นไม่สะอาด หมอตำแยบางคนใช้ไม้ไผ่ตัดสายสะดือเด็ก หากโชคร้ายไม้ไผ่สกปรก บางทีก็เกิดตะพั้นได้ทั้งแม่และเด็ก ว่ากันว่าอัตราการตายของแม่และเด็กในสมัยอยุธยานั้นมีสูงมาก

  3.เตรียมร่างกายให้พร้อม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เนื่องด้วยสมัยนั้น ไทยทำสงครามกับพม่าอยู่บ่อยครั้งถ้าคุณวาร์ปกลับไปสมัยกรีศรีอยุธยา แน่นอนว่า คุณต้องเตรียมพร้อมร่างกายในการ สู้รบกับ ทหารของพม่าอย่างแน่นอน แต่ถ้าท่านเป็นผู้หญิง ก็เตรียมฟิตร่างกายไว้สำหรับการวิ่งหนีของกองทัพพม่า

4.ยาสีฟันแปลงสีฟัน สบู่ ยาสระผม

แน่นอนสมัยนั้นต้องไม่มี ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผมอย่างแน่นอน ถ้าคุณไม่เตรียมไป จาก พ.ศ.2566 คุณจะต้องหัดใช้  กิ่งข่อยทุบปลายให้ฟูนุ่มแล้วเอามาแปรงฟัน เนื่องจากคุณสมบัติของข่อยสามารถลดการอักเสบของเหงือกและยับยั้งแบคทีเรียได้ ส่วนวิธีใช้คือนำไปจุ่มน้ำสีฟันที่ทำจากเกลือ หรือในละครมีจุ่มผงขี้เถ้าแทนการใช้ยาสีฟันด้วย ถ้าไม่มีกิ่งข่อยสามารถใช้ใบข่อยแทนได้ ยุคนี้เราจะหากิ่งข่อยได้จากไหน ง่ายมากหาได้ตามริมรั้วบ้านที่ปลูก หรือ จะซื้อก็ราคาไม่แพง (แต่อย่าลืมกันนะว่า เงินบาทในปัจจุบันไม่สามารถให้ชำระหนี้ในยุคนั้นได้)

 

สุดท้ายนี้สิ่งที่เรานำเสนอเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น ยารักษาโรคประจำตัวของท่านก็อย่าลืมติดตัวไปละ ขอให้ท่านสนุกกับการ วาร์ปกลับไปสมัยกรุงศรีอยุธยากันนะ 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โจรโรคจิตเหิม! ‘บุกขโมยของในห้องเช่า’ กลางวันแสกๆ-ทำชาวบ้านหวาดผวา โจรโรคจิตเหิม! ‘บุกขโมยของในห้องเช่า’ กลางวันแสกๆ-ทำชาวบ้านหวาดผวา
  • ยูทูบเบอร์ดัง\'บีเบล\'ประกาศเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ชาวเน็ตตามล่าพ่อเด็กแห่โยงเด็กฝึกค่ายดัง ยูทูบเบอร์ดัง'บีเบล'ประกาศเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ชาวเน็ตตามล่าพ่อเด็กแห่โยงเด็กฝึกค่ายดัง
  • \'สวนงูสถานเสาวภา\'ประกาศงดรับบริจาค\'งูเหลือม-งูหลาม\' หลังพื้นที่เลี้ยงแน่นเอี้ยด 'สวนงูสถานเสาวภา'ประกาศงดรับบริจาค'งูเหลือม-งูหลาม' หลังพื้นที่เลี้ยงแน่นเอี้ยด
  • สาวขี่ จยย.ผ่านสายสื่อสารขาดขวางถนน ‘เกี่ยวคอเกือบขาด’ ไร้หน่วยงานรับผิดชอบ สาวขี่ จยย.ผ่านสายสื่อสารขาดขวางถนน ‘เกี่ยวคอเกือบขาด’ ไร้หน่วยงานรับผิดชอบ
  • พลังใจล้น! \'น้องน้ำปั่น\'ชู 2 นิ้วสู้ตุ่มน้ำพอง คุณยายเคียงข้างให้กำลังใจไม่ห่าง พลังใจล้น! 'น้องน้ำปั่น'ชู 2 นิ้วสู้ตุ่มน้ำพอง คุณยายเคียงข้างให้กำลังใจไม่ห่าง
  • ช็อคนะ! หนุ่มถูกงูมีพิษกัด หมอวินิจฉัยบอกไม่ใช่เคสสำคัญ ให้กลับบ้าน ก่อนโคม่า ช็อคนะ! หนุ่มถูกงูมีพิษกัด หมอวินิจฉัยบอกไม่ใช่เคสสำคัญ ให้กลับบ้าน ก่อนโคม่า
  •  

Breaking News

'ภคมน ลิซ่า' สอน 'ณัฐวุฒิ' เก็บอาการหน่อย! บอกควรยืนข้างนายกฯ ไม่ใช่พ่อของนายกฯ

ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! 'พานาโซนิค'เตรียมเลย์ออฟพนักงาน10,000ตำแหน่งทั่วโลก

เพื่อไทย ส่ง 'อนุสรณ์' ลุยช่วย 'อัศนี' เบอร์ 3 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่

วิชัยเวชฯ จับมือโรงเรียนบ้านด่านโง ร่วมใจปลูกป่า เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved