วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
น้ำมันปลาดี...แต่พ่วงหัวใจเต้นระริกมาด้วย?

น้ำมันปลาดี...แต่พ่วงหัวใจเต้นระริกมาด้วย?

วันศุกร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566, 10.30 น.
Tag : หมอธีระวัฒน์ น้ำมันปลา หัวใจเต้น อันตราย
  •  

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า น้ำมันปลาดี...แต่พ่วงหัวใจเต้นระริกมาด้วย

ดังที่หมอได้เคยเล่าให้ฟังถึงความดีงามของน้ำมันปลาซึ่งตัวสำคัญคือ ที่เรียกว่าตัว EPA และตัว DHA โดยที่ทั้งสองตัวนี้ พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยป้องกันสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ได้ แต่เมื่อแสดงอาการแล้วจะไม่ได้ผลแม้ว่าจะใช้น้ำมันปลาตัวจิ๋วที่เรียกว่าพลาสมาโลเกน


ซึ่งที่จริงแล้วก็คือน้ำมันปลาที่ผ่านตับและแปลงให้เป็นตัวจิ๋วอีกที โดยที่คนที่เป็นสมองเสื่อมไปแล้ว กระบวนการที่จะทำให้น้ำมันปลาผ่านการพัฒนาต่างๆจนกระทั่งถึงผ่านเข้าเส้นเลือดในสมองเข้าไปในสมอง และเข้าสู่เซลล์ต่างๆจะเป็นไปไม่ได้

นอกจากนั้นน้ำมันปลาที่มีส่วนประกอบสองตัวนี้ เมื่อใช้ในขนาดสูงวันละ 3 ถึง 4 กรัม สามารถช่วยป้องกันเส้นเลือดหัวใจตัน รวมทั้งเส้นเลือดสมองได้ด้วย และรายงานต่อมาพบว่าช่วยทุเลา บรรเทาคนป่วยด้วยหัวใจวายในระดับต่างๆ

ดังนั้นเองธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปลาหรือที่เรียกกันว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 จึงบูมระเบิด โดยที่ในปี 2019 ตลาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นจนมีมูลค่าถึง 4.1 ล้านล้าน (billion) เหรียญ และประมาณว่า ภายใน ปี 2025 ตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากหลักฐานดีงามที่ทยอยออกมาตามลำดับ

แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินความเสี่ยง ถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากขนาดที่ใช้จะสูงมากกว่าที่เคยใช้กันทั่วไปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมซึ่งจะมีปริมาณ ของ EPA DHA ต่ำกว่านี้มาก

รายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกา (JAMA) ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2021 ของการศึกษา VITAL Rhythm โดยได้วิเคราะห์ผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภคน้ำมันปลาในขนาดสูง กับการเกิดหัวใจเต้นผิดปกติที่คนไทยเราเรียกว่าหัวใจสั่นเต้นระริก (AF Atrial fibrilla- tion) และทำให้การบีบของหัวใจ หนักแน่นในแต่ละบีบไม่เท่ากันทำให้เลือดข้นตกค้างอยู่ในช่องหัวใจ และในที่สุดหลุดลอยออกจากหัวใจไปอุดตันเส้นเลือดต่างๆ

โดยเฉพาะเส้นเลือดในสมองโดยเป็นเส้นเลือดใหญ่ และทำให้เนื้อสมองตายเกิดเป็นอัมพาตครึ่งซีก และถ้าเป็นสมองใหญ่ทางด้านซ้าย ก็จะทำให้มีการฟังเข้าใจภาษา และการพูดเสียไป และถ้าไปที่สมองส่วนอื่น เช่นสมองส่วนท้ายทอยหรือก้านสมองก็จะมีอาการตามระบบหน้าที่ของสมองส่วนนั้นๆ และยังสามารถหลุดไปอุดเส้นเลือดต่างๆได้ทั่วร่างกายทั้งแขนขาและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้ในท้อง

สำหรับคนที่มีความผิดปกติการเต้นของหัวใจดังกล่าวก็ต้องได้รับยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดไปตลอด ตามบทบรรณาธิการของวารสาร ฉบับนี้ ได้สรุปไว้ว่าในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ด้วยกัน 4 รายงาน ถึงความเสี่ยงของการเกิด AF ในการศึกษา STRENGTH trial มีผู้ร่วมการวิจัยทั้งหมด 13,078 คน ซึ่งเป็นคนที่สุ่มเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจ และแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้น้ำมันปลาขนาด 4 กรัมต่อวันหรือได้น้ำมันข้าวโพด หลังจากติดตามในระยะเวลาเฉลี่ย 42 เดือนพบว่ามีความเสี่ยงของการเกิด AF ในกลุ่มน้ำมันปลาเพิ่มขึ้น 2.2% vs 1.3% hazard ratio, 1.69 ; 95% CI, 1.29-2.21 ; P<.001.

ในการศึกษา REDUCE–IT มีผู้ร่วมการศึกษา 8,179 ราย และได้ EPA หรือน้ำมันเกลือแร่และทำการติดตามไป 4.9 ปี พบว่ากลุ่มที่ได้น้ำมันปลามีความเสี่ยงสัมพัทธ์ในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 25% แต่พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิด AF เพิ่มขึ้น (5.3% vs 3.9%;P =.003)

และในรายงานการศึกษาชุดที่สาม OMEMI มีผู้ร่วมการศึกษา 1,027 ราย สูงอายุทั้งสิ้น และเพิ่งจะมีเส้นเลือดหัวใจอุดตันไม่นานนักโดยได้รับน้ำมันปลาขนาดปานกลาง ทั้ง EPA และ DHA วันละ 1.8 กรัมหรือน้ำมันข้าวโพด หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลาสองปีไม่พบความแตกต่างในการลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจ แต่พบว่า 7.2% ของกลุ่มน้ำมันปลาจะเกิด AF เมื่อเทียบกับ 4.0% ในกลุ่มน้ำมันข้าวโพด (hazard ratio,1.84 ; 95%CI, 0.98–3.45 ; P=.06) และในการศึกษาล่าสุด VITAL Rhythm ที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 12,542 ราย โดยได้รับน้ำมันปลาวันละ 840 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นส่วนผสมของ EPA และ DHA เทียบกับยาหลอก และทำการติดตามไป 5.3 ปี โดยที่พบว่าเกิด AF ในกลุ่มน้ำมันปลา 7.2 ต่อ 1,000 คน-ปี (person-years) เทียบกับ 6.6 ต่อ 1,000 ในกลุ่มยาหลอก (hazard ratio, 1.09 ; 95%CI, 0.96-1.24 ; P=.19)

เมื่อรวบรวมหลักฐานทั้งหมดทั้งสี่รายงานของโครงการศึกษา อาจชี้ได้ระดับหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนก็ตามว่า น่าจะมีเรื่องปริมาณหรือขนาดของน้ำมันปลาที่จะทำให้มีความเสี่ยงของการเกิด AF ได้ โดยที่ในขนาดสูง 4 กรัมต่อวันนั้นความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเกือบจะเป็นสองเท่าและในขนาดปานกลางคือ 1.8 กรัมต่อวันนั้น มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะไม่ถึงกับมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม (hazard ratio, 1.84) และด้วยขนาดปริมาณปกติคือ 840 มิลลิกรัมต่อวันนั้นไม่พบความเสี่ยงชัดเจน

ดังนั้นการบริโภคน้ำมันปลาเพื่อป้องกัน บรรเทาหรือชะลอโรคต่างๆนั้นซึ่งต้องใช้ขนาดสูงทั้งสิ้น อาจจะต้องชั่งน้ำหนัก กับโอกาสที่จะมีความเสี่ยงของการเกิดหัวใจเต้นระริก AF ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าจะหยุดน้ำมันปลาไป ก็ไม่ได้ทำให้หายไปและจะต้องมีการใช้ยาป้องกันลิ่มเลือดชนิดพิเศษ ที่ไม่ใช่ยาต้านเกล็ดเลือดแอสไพรินหรือยาในกลุ่มเดียวกัน แต่ต้องใช้กลุ่มเฉพาะขึ้นมาเช่น วาร์ฟาริน (warfarin)โดยที่ต้องมีการเจาะเลือดเพื่อปรับขนาดยาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่มากไปก็จะเกิดเลือดออกง่าย หรือน้อยไปก็ไม่ได้ผล

แม้ว่าจะใช้ยาในกลุ่มที่ใช้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเจาะเลือด (NOAC) แต่ราคาค่อนข้างสูงมาก และถ้าเกิดออกฤทธิ์มากเกินไปก็จำเป็นต้องใช้ยาถอนฤทธิ์ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและยาทั้งหมดนี้ถ้าเกิดต้องผ่าตัดก็มีความจำเป็นที่ต้องหยุดยาก่อน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดและขณะที่ใช้ยาเนื่องจากเลือดจะออกง่ายกว่าธรรมดาถ้าเกิดอุบัติเหตุจะรุนแรงขึ้นเลือดไหลหยุดช้าและการผ่าตัดฉุกเฉินจะต้องมีการเตรียมขั้นตอนต่างๆเพิ่มขึ้น นี่เป็นตัวอย่างของการใช้ยาที่จำเป็นต้องทราบประโยชน์รวมทั้งผลข้างเคียงและโทษที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งต้องทราบขนาดที่ใช้ด้วย ด้วยความห่วงใยต่อสุขภาพของทุกคนครับ.
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘กรมอนามัย’เตือนอันตรายจาก‘สารเร่งเนื้อแดง’ รับปริมาณมากอาจ‘ช็อก หัวใจวาย’ ‘กรมอนามัย’เตือนอันตรายจาก‘สารเร่งเนื้อแดง’ รับปริมาณมากอาจ‘ช็อก หัวใจวาย’
  • \'หมอธีระวัฒน์\' เปิดรายงาน โรคคล้ายวัวบ้า ในมนุษย์ หลังจากติดโควิดหรือได้รับวัคซีน 'หมอธีระวัฒน์' เปิดรายงาน โรคคล้ายวัวบ้า ในมนุษย์ หลังจากติดโควิดหรือได้รับวัคซีน
  • 70 ยัน 90 ปี เพียงเดินเพิ่ม 500 ก้าว ลดเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ-สมองเสื่อม 70 ยัน 90 ปี เพียงเดินเพิ่ม 500 ก้าว ลดเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ-สมองเสื่อม
  • \'หมอธีระวัฒน์\'ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี 'หมอธีระวัฒน์'ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี
  • ‘หมอธีระวัฒน์’ถอดงานวิจัย พบใช้‘กัญชา’บันเทิงพองาม ลดภาวะสมองเสื่อม ‘หมอธีระวัฒน์’ถอดงานวิจัย พบใช้‘กัญชา’บันเทิงพองาม ลดภาวะสมองเสื่อม
  • \'หมอธีระวัฒน์\' แนะ \'เวียนหัว บ้านหมุน\' ทำท่าอินเดีย ช่วยได้ 'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย ช่วยได้
  •  

Breaking News

‘ลูกพีช’ได้เป็น‘สท.’ ‘นายกเบี้ยว’ประกาศลั่น!ธัญญก้าวหน้าชนะยกทีม

ปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล!! 'กกต.'เผยพบฉีกบัตร 6 ราย ‘นนทบุรี’งามหน้า จับหัวคะแนนพร้อมโพย

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved