วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘กสม.’ประชุมร่วมกลุ่มชาติมุสลิม  ขับเคลื่อน‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’

‘กสม.’ประชุมร่วมกลุ่มชาติมุสลิม ขับเคลื่อน‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’

วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : กสม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  •  

 

ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21-25 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ตนในฐานะผู้แทน กสม. ได้เข้าร่วม “การประชุมสามัญครั้งที่ 21 ของคณะกรรมาธิการอิสระถาวรด้านสิทธิมนุษยชน (IPHRC) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสิทธิมนุษยชนในโลกมุสลิม ภายใต้องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)” ณ สำนักงานใหญ่ IPHRC เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย


โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานสถานการณ์และการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศมุสลิมสมาชิก OIC จำนวน 57 ประเทศ ขณะที่ กสม. ของไทยได้รับเชิญในฐานะประเทศที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC ซึ่งมีเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย รัสเซีย และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในการนี้ ที่ประชุมได้หารือร่วมกันในหัวข้อ “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน :Normative Framework and Implementation Guideline for OIC Countries” และได้รับหลักการสำคัญเบื้องต้นร่วมกัน

ได้แก่ (1) หลักการและจริยธรรมของชะรีอะฮ์อิสลาม (หลักกฎหมายอิสลาม) รวมถึงความรับผิดชอบและความไว้วางใจที่ย้ำเน้นถึงมาตรฐานทางศีลธรรม คุณค่า และบรรทัดฐานทางพฤติกรรมครอบคลุมทุกมิติของชีวิต รวมถึงทางธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการอิสลามและคุณค่าในการปกป้องสิทธิมนุษยชน อันเป็นไปตามแนวปฏิบัติของสหประชาชาติ ระเบียบและกฎหมายของบรรดาประเทศสมาชิก

(2) แนวคิดสิทธิมนุษยชนเป็นแกนกลางของชะรีอะฮ์อิสลาม ซึ่งมุสลิมทั้งแง่ปัจเจกชน และองค์กรต้องร่วมกันปกป้องผลประโยชน์และสิทธิของผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน (3) บทบาทของบรรษัทข้ามชาติและธุรกิจเอกชน ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศสมาชิกเป็นอย่างมากและอาจส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปในระดับโลกทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวทางป้องกันปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการประกอบธุรกิจที่ละเมิดสิทธิฯ

โดยรัฐของประเทศสมาชิกต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights-UNGPs) โดยต้องพัฒนากฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สาธารณะรับทราบเพื่อให้เข้าถึงการเยียวยาเมื่อได้รับผลกระทบด้วย

(4) ภาคธุรกิจเอกชนมีความรับผิดชอบที่จะต้องเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทุกกระบวนการของธุรกิจ โดยคำนึงถึงมิติด้านสิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย ทั้งสิทธิผู้ใช้แรงงาน สิทธิสิ่งแวดล้อม และสิทธิในสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและในประเทศ โดยต้องจัดให้มีกลไกการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย และ (5) ประเทศสมาชิกจะประณามนโยบายและการทำธุรกิจที่ไร้จริยธรรมที่สนับสนุนการยึดครองดินแดนผู้อื่น รวมทั้งการทำธุรกิจที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมจึงได้เรียกร้องให้สหประชาชาติ (UN) และประเทศต่างๆ สำรวจความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนโลกเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการ
ขับเคลื่อนเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนใช้กลไกของสหประชาชาติทั้งกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) และกลไกตามอนุสัญญาต่างๆ ในการประเมินและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก นำมาตรฐานสิทธิมนุษยชนมาเป็นเครื่องมือกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจในประเทศต่างๆ อย่างเคารพสิทธิมนุษยชนรอบด้าน

โดยเฉพาะในพื้นที่ขัดแย้ง รวมทั้งหยุดกิจกรรมธุรกิจที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมยังเรียกร้องให้ ประเทศสมาชิก OIC เร่งลงนามในกติการะหว่างประเทศต่างๆ กฎบัตรของ OIC เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ตลอดจนหลักการ UNGPs เพื่อให้ได้รับแรงสนับสนุนทางการเมืองในการออกกฎหมาย นโยบาย หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายและเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากการประกอบธุรกิจ และรับประกันความรับผิดชอบของธุรกิจในการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนด้วย

“การประชุมครั้งนี้นับเป็นการปรับตัวของสมาชิกกลุ่มประเทศมุสลิม 57 ประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยกลุ่มประเทศสมาชิก OIC ซึ่งมีประชากรเกือบ 2,000 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มประเทศตลาดใหญ่สำหรับการส่งออกของประเทศไทย เช่น สินค้าอาหารฮาลาล ซึ่งตลาดนี้อยู่ระหว่างการปรับทิศทางการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

ด้วยเหตุนี้ การประกอบธุรกิจของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังโดยยึดหลักการเคารพ ป้องกัน และการเยียวยา เพื่อไม่ให้ประเทศไทยตกขบวน ดังนั้น รัฐบาลไทยจำเป็นต้องเร่งรัดสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว และพัฒนากลไกเชิงโครงสร้าง เช่น การออกระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นหลักประกันสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ” ผศ.สุชาติ กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘กสม.’ติดตามการแก้ปัญหา  สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ‘กสม.’ติดตามการแก้ปัญหา สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน
  • ‘กสม.’ร่วมประชุม‘GANHRI2025’  เสริมสร้างความร่วมมือสิทธิมนุษยชน ‘กสม.’ร่วมประชุม‘GANHRI2025’ เสริมสร้างความร่วมมือสิทธิมนุษยชน
  • ‘กสม.’ร่วมพัฒนาศักยภาพ  ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว ‘กสม.’ร่วมพัฒนาศักยภาพ ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว
  • ‘กสม.’จัดเวที5ภาครับมือโลกร้อน ‘กสม.’จัดเวที5ภาครับมือโลกร้อน
  • ‘กสม.’ชื่นชม‘เรือนจำพิเศษมีนบุรี’  แยกผู้ต้องขังเด็ดขาด-คดียังไม่สิ้นสุด ‘กสม.’ชื่นชม‘เรือนจำพิเศษมีนบุรี’ แยกผู้ต้องขังเด็ดขาด-คดียังไม่สิ้นสุด
  • ‘กสม.’เข้าร่วมประชุม  สถาบันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ‘กสม.’เข้าร่วมประชุม สถาบันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
  •  

Breaking News

'มาดามหยก'ปลื้มปชช.นับหมื่นคน พร้อมใจเดินขึ้นดอยสุเทพฯ ร่วมถวายเครื่องสักการะ และสรงน้ำพระบรมธาตุฯ

'กุนซืออิ๊งค์'มาแล้ว! เผยท่าทีไทยต่อสหรัฐฯปมกำแพงภาษี

'เบสท์ ชนิดาภา'แชร์อุทาหรณ์ ถูกมิจฉาชีพหลอกสูญเงิน 1.2 ล้านบาท

'แทมมี่'จัดใหญ่! ศึก100พลัสไทยเทนนิสลีก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved