วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen’) : ความสุข ความสวยงามของชีวิตที่หล่นหาย หรือ ถูกทำให้หล่นหาย

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen’) : ความสุข ความสวยงามของชีวิตที่หล่นหาย หรือ ถูกทำให้หล่นหาย

วันพุธ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : คิดด้วยพลเมือง
  •  

“คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen’)”

คอลัมน์ใหม่ที่ว่าด้วยเรื่อง “พลเมือง” ไม่ใช่แค่ผู้รับคำสั่งหรือดำรงภายใต้การปกครองของรัฐเท่านั้น แต่คือผู้เป็นพลัง/กำลังของบ้านเมือง ประคองให้ประเทศเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาที่ส่งผลให้ประเทศรั้งท้าย ดังนั้น SeeThinkCen จึงย่อมาจากCitizen โดยมีความหมายว่า See - คือการจับตามอง เฝ้าดู เฝ้าระวัง Think - ความคิด ในที่นี้หมายถึงการออกแบบด้วย Cen ที่เอามาจาก Human Centric คือคิดแก้ปัญหาด้วยมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เพื่อออกแบบโลกที่อยากเห็น พลเมืองที่อยากเป็น และนี่เป็นบทความแรกสำหรับคอลัมน์นี้ ที่หวังจะได้เห็นพลเมืองชาวไทยใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีโอกาสได้เสพความสุข ชื่นชมความงามของชีวิต และชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่“คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen’)”


เราอาจจะเคยเห็นการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกผ่านตากันมาบ้าง ปี 2566 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 60 จาก 137 ประเทศ โดยอันดับ 1 ยังคงเป็น ประเทศฟินแลนด์ที่ครองแชมป์มาถึง 6 ปีซ้อน ดัชนีความสุขนั้นวัดด้วยหลักการหลายอย่างแต่ถ้าจะถามว่าเหตุใดฟินแลนด์ครองแชมป์ถึง 6 ปี คงต้องมานั่งดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่รัฐบาลให้ความสำคัญ จากที่ผู้เขียนหาข้อมูลมานั้นมีด้วยกันอยู่ 4 ปัจจัยหลักคือ สวัสดิการที่ยอดเยี่ยม ธรรมชาติที่สมบูรณ์ การศึกษาที่ดีที่สุดในโลกและสังคมที่เท่าเทียมกัน นี่เป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารจัดการประเทศที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้กับประชาชน อีกหนึ่งข้อสังเกตที่ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้นั่นคือฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีการทุจริตคอร์รัปชันที่น้อยมากถือว่าอยู่ในกลุ่มที่น้อยที่สุดในโลกโดยในปี 2565 ดัชนีการรับรู้การทุจริตคอร์รัปชัน(Corruption Perceptions Index: CPI) อยู่อันดับ 2 ด้วยคะแนน 87 คะแนน จาก 180 ประเทศด้วยเหตุนี้ทำให้มีอัตรา GDP ของประเทศสูงและอัตราความไม่เสมอภาคในสังคมก็ต่ำตามไปด้วย รวมถึงภาษีที่แม้ว่าจะต้องจ่ายแพงกว่าหลายๆ ประเทศแต่รัฐบาลมีการจัดการภาษีที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สวัสดิการที่ประชนทุกคนจะได้รับเป็นไปอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน เช่น ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการรักษาพยาบาลและได้รับการศึกษาฟรี (ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาโท-เอก) มีระบบขนส่งที่ประสิทธิภาพ แถมยังมีระบบน้ำประปาที่สะอาดที่สุดในโลกอีกด้วย

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เป็นผลกำไรจากการที่ประเทศมีอัตราการทุจริตคอร์รัปชันน้อยที่สุดในโลกคือ สังคมที่เสมอภาค ความสุขที่เท่าเทียม ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ การเข้าถึงการศึกษาอันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทั้งด้านบุคคลและสังคมในที่สุด

“แล้วความสุข ความสวยงามในชีวิตของคนไทยอย่างเราล่ะ เราทำหล่นหายเองหรือว่ามันถูกทำให้หล่นหายกันนะ?”

ความจริงที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ว่าประชาชนชาวไทยไม่มีเวลาที่จะค้นหาความสุข ความสวยงามมากขนาดนั้น จาก
สถานการณ์บ้านเมืองที่ชวนให้ขื่นขม ทำให้ออกไปชื่นชม ดื่มด่ำกับความสวยงามของการมีชีวิตบนโลกนี้ไม่ลง สังคมเริ่มอิดโรย ผู้คนหมดไฟและไร้ความหวัง เพราะถูกทำให้เบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตจากรถติด ค่ารถแพง ผู้คนแออัดในสถานที่ เดียวกัน ติดกับดักการไม่พัฒนา จมอยู่กับปัญหาที่แก้ไขไม่ได้เสียที การจะใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในประเทศนี้ช่างยากเย็นและกำลังถูกทำให้หล่นหายไปหรือไม่ ต้นต่อใหญ่ของการผลักความสุข ความงดงามให้ทิ้งห่างจากประชาชนแต่ปล่อยให้จมอยู่กับความเหลื่อมล้ำ สังคมที่ไม่เท่าเทียมมาอย่างช้านาน

สาเหตุหลักที่สำคัญ คือ การคอร์รัปชัน ไม่เปิดเผยข้อมูลและขาดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่รัฐไม่ให้ความสำคัญและมองข้ามสิ่งพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับ เราเห็นข่าวมากมายจากการที่ประชาชนเห็นความไม่เหมาะสมและความไม่จำเป็นของการใช้งบประมาณไปกับสิ่งที่รัฐทำ โดยแจ้งเบาะแสผ่านเพจเฟซบุ๊ก (ต้องแฉ, หมาเฝ้าบ้าน) ส่วนหนึ่งในผู้คอยจับตา เฝ้าระวัง ตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการติดตั้งเสาไฟกินรีบนถนนรกร้างที่คนไม่ใช้แล้ว การก่อสร้างแลนด์มาร์คเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใช้งบประมาณไม่เหมาะสมหรือสร้างบนพื้นที่ไม่เหมาะสมบ้าง หรือแม้แต่การพยายามจะช่วยให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้นด้วยการติดตั้งตู้กดน้ำ เครื่องสูบน้ำ เพื่อหวังจะได้ใช้งานแต่กลับพังและใช้งานไม่ได้ การที่รัฐมองข้ามสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ที่เป็นพื้นฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ควรจะได้รับ แต่ดูเหมือนเป็นการโกงคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนหนึ่งเพื่อให้คนอีกกลุ่มหนึ่งเสียมากกว่า คนบางกลุ่มสามารถมีความสุข ชื่นชมความสวยงามของท้องฟ้า อากาศ สายลมได้อย่างไม่ต้องรู้สึกอะไรเพียงเพราะตนไม่เดือดร้อน แต่คนบางคนกลับไม่มีโอกาสจะได้ชื่นชม สัมผัสหรือเสพสุขจากสิ่งรอบตัวเลยด้วยซ้ำ บางคนลุกขึ้นสู้กับอำนาจเพราะต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพียง อยากมีโอกาสที่จะได้ลิ้มรสของความสุขนั้นบ้าง จนถึงตรงนี้ก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า

แล้วทำไมพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขถึงไม่เท่าเทียมกัน ?

จากข้างต้นผู้เขียนอยากชวนผู้อ่านทุกท่านใช้ความเป็นมนุษย์ของทุกท่านคิดสักดูสักนิดว่าความสุข ความสวยงาม ความเป็นชีวิตของพวกเรานั้นกำลังถูกทำให้หล่นหายไปบ้างหรือเปล่า เรามีห้างสรรพสินค้ามากมายทั่วทุกมุมเมืองที่หาได้ง่ายกว่าสวนสาธารณะ มากกว่าสนามเด็กเล่น มากกว่าอาร์ตแกลเลอรี่หรือแม้แต่สนามกีฬา เรามีรถไฟฟ้าที่ช่วยลดเวลาการเดินทางแต่เราไม่มีเวลาและเงินสำหรับค่าโดยสารที่สูงขึ้นสวนทางกับเงินเดือน เรามีโรงหนังที่ราคาตั๋วแพงขึ้นออกจะแพงเกินไปเมื่อเทียมกับรายได้ไปด้วยซ้ำสิ่งเล็กน้อยที่มักถูกมองข้ามจากการจัดสรรปันส่วนงบประมาณและพื้นที่อย่างไม่คำนึกถึงการใช้ชีวิตของผู้คน การกระจุกตัวของความเจริญ ความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณ หลายๆ เรื่องส่งผลให้ประชาชนต้องทิ้งชีวิตที่เคยวาดฝันทิ้งความสุข ทิ้งความสวยงาม เพื่อดิ้นรนเอาชีวิตรอดในสังคมที่ยังไม่มีความเท่าเทียม ท้ายนี้หวังว่าเมื่อความเป็นมนุษย์ในใจมากขึ้น จิตสำนึกร่วมในสังคมมีมากพอ สังคมที่มีความสุขและความสวยงามในชีวิตของประชาชนคงจะไม่มีวันหล่นหายอีกต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สภาสูงขยับ! ถกดันโครงการถนน 5.2 กม. บนเกาะกูด หนุนกำลังพล-ยุทโธปกรณ์ ป้องอธิปไตยชายแดนไทย-กัมพูชา

ไทยเตรียมเข้าร่วมประชุม‘รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน’ ครั้งที่ 58

ผ่าตัดปอด! เหตุ'โชต้า'เปลี่ยนแผนกลับแอนฟิลด์ก่อนเสียชีวิต

'เจิมศักดิ์'ขุดคลิปประจาน'ทักษิณ' ตีแสกหน้า'ค่านิยมจอมปลอม'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved