วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'อุ้มผาง-อมก๋อยแตก'ที่เทือกเขาถนนธงชัยเครื่องถ้วยโบราณไหลทะลัก จุดเปลี่ยนบันดาลใจ'ดร.ธันยกานต์'

'อุ้มผาง-อมก๋อยแตก'ที่เทือกเขาถนนธงชัยเครื่องถ้วยโบราณไหลทะลัก จุดเปลี่ยนบันดาลใจ'ดร.ธันยกานต์'

วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566, 14.19 น.
Tag : ธันยกานต์วงษ์อ่อน อุ้มผาง อมก๋อยแตก เทือกเขาถนนธงชัย เครื่องถ้วยโบราณ
  •  

"อุ้มผาง-อมก๋อยแตก" ที่เทือกเขาถนนธงชัย เครื่องถ้วยโบราณไหลทะลัก จุดเปลี่ยนบันดาลใจ 'ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน'รังสรรค์หนังสือครั้งประวัติศาสตร์ 

ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน ผู้เขียนหนังสือ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากเทือกเขาถนนธงชัย” เล่าถึงแรงบันดาลใจสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่า ต้องการให้หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนแหล่งค้นคว้าของคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับเครื่องถ้วยที่ค้นพบบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ไทยในทุกยุคทุกสมัย และ ยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ที่สำคัญซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า ในพื้นที่เทือกเขาถนนธงชัยมีชุมชนโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาแตก และ หลักฐานเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบได้บริเวณดังกล่าวยังบ่งชี้ได้ว่า เครื่องถ้วยโบราณเริ่มจากหายไปตั้งแต่ยุคสมัยใด 


“เครื่องถ้วยโบราณชิ้นที่เราเจอมีถึงร้อยละ 90 มาจากเทือกเขาถนนธงชัย และที่เหลือมาจากหลุมศพโบราณ ซึ่งได้มีนักวิจัยได้มาศึกษาค้นคว้าว่า เครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบได้นั้นสามารถสืบค้นถึงประวัติศาสตร์หน้าต่างได้ และที่ผ่านมาคนไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องถ้วยโบราณมากนัก ทำให้หนังสือเล่มนี้ได้มีการอธิบายปรากฎการณ์ไล่เลียงมาของเครื่องถ้วยโบราณ โดยเฉพาะปรากฎการณ์สำคัญคือ เหตุการณ์อุ้มผาง-อมก๋อยแตก ในช่วงราวๆปี 2520 ต้นๆ 

เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาเพราะคนไม่รู้มาก่อนว่าเครื่องถ้วยโบราณนั้นมีอยู่จริง ก็จะไม่เชื่อ แต่หนังสือเล่มนี้จะบอกหมด ตั้งแต่แหล่งที่มาของการขุดพบเครื่องถ้วยบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย โดยเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และเครื่องถ้วยที่ขุดได้ยังบอกถึงชาติพันธุ์ที่สืบกันมาตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์ จนมาถึงปัจจุบันที่สันนิษฐานว่า เหลือเพียง 2 ชนเผ่า คือ ชนเผ่ารั้ว และ ชนเผ่ากระเหรี่ยง เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้อาจกล่าวได้ว่า ทำให้คนรุ่นหลังไม่ลืมกลุ่มชาติพันธ์ ซึ่งหากไม่มีการทำหนังสือบันทึกไว้ ประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์อาจถูกลืมเลือนไป” ดร.ธันยกานต์ เล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเอง 

สำหรับเหตุการณ์สำคัญ คือ "อุ้มผาง-อมก๋อยแตก" จนนำมาสู่การไหลทะลักของเครื่องถ้วยโบราณบริเวณเทือกเขาถนนธงชัยให้ออกมาสู่สายตาชาวโลก และผ่านมือนักสะสมของโบราณ เกิดขึ้นเมื่อราวๆ 40 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของหน้าประวัติศาสตร์การขุดพบเครื่องถ้วยโบราณในไทย ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าว จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร.ธันยกานต์ ตั้งใจบรรจงสรรค์สร้างหนังสือ“เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากเทือกเขาถนนธงชัย” เพื่อบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และจดจำ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำราประวัติศาสตร์ของไทยที่จะทำให้เยาวชนไทยได้มีหนังสือที่มีจำนวน 472 หน้า และสี่สี มีเนื้อหาที่สามารถสืบค้นภาพเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบได้บริเวณเทือกเขาถนนธงชัย เพื่อเชื่อมโยงกับหน้าประวัติศาสตร์ไทย และ ประวัติศาสตร์โลก 

“ระยะเวลา 40 กว่าปี ก็มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน ทำให้คนรุ่นใหม่จะไม่ทราบความเป็นมา เพราะ ณ ขณะนี้ ก็จะไม่มีใครทราบปรากฎการณ์อุ้มผาง อมก๋อยแตก ถ้าเราไม่ทำ ก็จะทำให้โดนลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และ เมื่อศึกษาเรื่องเครื่องถ้วยโบราณ ทำให้มีข้อมูลลึกไปเรื่อยๆ เพราะมีความน่าสนใจว่า ชาติพันธ์ไหนทำให้เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้เกิดขึ้นมา ผมเรียกศิลปะเครื่องถ้วยโบราณว่าเป็นประณีตศิลป์มหัศจรรย์ เพราะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจากที่เขาทำ เช่น จานใบหนึ่งในเครื่องถ้วยโบราณมีปลา 4-5 ตัว ที่อมก๋อย แต่พื้นที่อื่นเจอการเขียนปลาบนเครื่องถ้วยโบราณเพียงตัวเดียว

จากการค้นพบดังกล่าวทำให้เรารู้คือ สังคมตรงนั้นอาจเป็นเมือง เป็นชุมชน รวมทั้งที่ผ่านมา เรายังเจอเครื่องถ้วยของจีน โดยเครื่องถ้วยลายครามจีนมีการประมูลกัน 200-300 ล้านบาท ก็ไปเจอกันที่บริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งก็น่าสนใจและน่าไปสืบค้น เพราะราไปเจอทุกอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) และยังค้นพบเครื่องถ้วยโบราณตั้งแต่สมัยสุริยะวรมัน และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุคเก่าแก่สมัยเขมรต่ำ เขมรสูง และ ที่เก่าไปกว่านั้นคือ เจอลูกปัดสมัยทวาราวดี รวมทั้งยังเจอขวานยุคก่อนประวัติศาสตร์ และ ในยุคร่วมสมัยกับศิลปะบ้านเชียง” ดร.ธันยกานต์เล่าให้ฟังถึงอีกหนึ่งแรงบันดาลใจสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มดังกล่าว 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved