5 ต.ค. 2566 ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Nattavudh Powdthavee - ณัฐวุฒิ เผ่าทวี” เนื้อหาดังนี้
The science behind "คนไทยลืมง่าย" และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ
เพื่อนๆหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า "คนไทยลืมง่าย" กันใช่ไหมครับ แล้วมันเป็นความจริงอย่างที่เขาพูดกันหรือไม่ แล้วถ้ามันเป็นความจริง มันมีผลกระทบอะไรในชีวิตของเรามากขนาดไหน
ในความเป็นจริงแล้ว คำพูดที่ว่า "คนไทยลืมง่าย" นั้นอาจจะไม่ใช่คำอธิบายคุณลักษณะหนึ่งของคนไทยที่ถูกต้อง 100%
ในความเป็นจริงแล้ว คนไทยส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยาเรียกๆกันว่า novelty-seeking personality traits (NSPT) ที่ค่อนข้างสูงมากกว่า ซึ่งคนที่มี NSPT ที่สูงมักจะมีความต้องการสิ่งใหม่ๆในชีวิตที่จะเข้ามากระตุ้นความรู้สึกของเขาอยู่ตลอด และเมื่อใดก็ตามที่มีสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิตของเขาปุ๊บ ความสนใจ หรือ attention ของเขาก็จะ shift completely จากสิ่งที่เขาเคยให้ความสนใจอยู่มาอยู่ที่สิ่งใหม่ๆที่พึ่งจะเข้ามา ซึ่งก็เป็นที่มาของการ "ลืมง่าย" ของคน
ถ้าเราถามว่า NSPT เป็นบุคลิกภาพที่ดีไหม คำตอบก็คือดีนะครับ เพราะ NSPT เป็นบุคลิกภาพที่สำคัญต่อความต้องการของการมีนวัตกรรมในสังคม แต่ถ้าเรามี NSPT มากจนเกินไป มันจะกลายเป็น ADHD หรือ attention deficit hyperactive disorder ได้ (พูดง่ายๆก็คือคนที่อยู่ไม่สุข ไม่สามารถโฟกัสอะไรได้นานๆ เป็นคนที่เบื่อง่าย และเป็นคนที่จำเป็นต้องมีของใหม่ๆเข้ามาอยู่ตลอดเวลา)
ซึ่งในสังคมที่มีคนที่มี NSPT ที่สูงมากๆนั้น การเปลี่ยนแปลงอะไรที่เป็นระบบ ที่ต้องใช้เวลานานๆ ใช้ความพยายามเยอะๆ มักจะเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไม่มีความอดทนพอที่จะก่อให้เกิดขึ้นได้เมื่อเทียบกันกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็น quick fix ที่เห็นผลทันที และที่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น และในสังคมที่มีคนที่มี NSPT ที่สูงมากๆ ธุรกิจส่วนใหญ่ก็จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เป็น short-term มากกว่า long-term เสียส่วนใหญ่
และนี่ก็เป็นที่มาของงานวิจัยของ Erkan Gören ใน Journal of Development Economics ที่พบว่าประเทศที่มี NSPT สูงมากๆมักจะติดกับดักการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอาจจะติดกับดักการพัฒนาด้านอื่นๆในสังคมที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรที่แก้ปัญหาแค่เฉพาะหน้าเท่านั้น (P.S. รูปภาพเป็น map ของประเทศที่มี NSPT ที่แตกต่างกันไป จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเราเป็นสีส้มนะครับ ซึ่งหมายความว่าคนไทยส่วนใหญ่มี NSPT ที่ค่อนข้างจะสูงพอสมควร)
อ่านเพิ่มเติม Gören, E. (2017). The persistent effects of novelty-seeking traits on comparative economic development. Journal of Development Economics, 126, 112-126.
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี