วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ‘หลอกให้รัก’เท่าไรก็โอน!  เผลอ‘ตกหลุม’ถึงรู้‘เลิกยาก’

สกู๊ปพิเศษ : ‘หลอกให้รัก’เท่าไรก็โอน! เผลอ‘ตกหลุม’ถึงรู้‘เลิกยาก’

วันพฤหัสบดี ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2567, 07.30 น.
Tag : หลอกให้รัก
  •  

“มีคุณป้าท่านหนึ่ง ก็คืออายุประมาณวัยเกษียณ ประมาณหกสิบกว่า คุณป้าคนนี้ถูกคนไทยที่หลอกว่าทำงานอยู่ไซต์ก่อสร้างในไทยทำให้ตกหลุมรัก เขาเรียกว่าเป็นโรแมนซ์ สแกม (Romance Scam) หลอกว่าฉันทำงานอยู่กรุงเทพฯ ส่งรูปกลับไปว่าคุมไซต์งานก่อสร้างอยู่ พอตกหลุมรักแล้วก็ให้ชาวสิงคโปร์คนนี้โอนเงินมาให้ เขาอ้างว่าไซต์ก่อสร้างที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ทำตรงนั้นตรงนี้ติดขัดเรื่องเงิน อีกนิดเดียวจะสำเร็จแล้วเดี๋ยวจะได้เงินแล้ว คุณป้าทยอยโอนไปจนจบถึงขั้นเกือบที่มันเป็นคดี 18 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เงินที่เก็บมาทั้งชีวิต

แต่สุดท้ายปัญหาของโรแมนซ์สแกม คือการหลอกลวง หลอกให้รักคือคนถูกหลอกจะไม่ยอมเชื่อว่าตัวเองถูกหลอก ใครบอกก็ไม่ฟังไม่เชื่อ บังเอิญเคสนี้ป้าแกก็สังเกตจากรูปที่โจรส่งให้ว่าไซต์งานมันน่าจะอยู่ตรงนั้นตรงนี้ในกรุงเทพฯ แกเดินทางมากรุงเทพฯเลย จะเจอคนนี้ให้ได้ คนที่แกหลงรัก ที่อ้างว่าเป็นชายชาวไทย คุมไซต์งานทำงานก่อสร้าง จนกระทั่งสุดท้ายคนที่ไปหลอกเขาซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่าชายหรือหญิง ต้องบอกกับป้าว่าเลิกเถอะ ผมหลอกคุณ อย่าตามอีกเลย เงินก็หมดแล้ว และเราก็ไม่ได้มีตัวตนอะไรให้คุณมาตามหาเจอ ป้าจึงได้ไปหาตำรวจ”


พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หยิบยกหนึ่งในคดีที่เป็นข่าวดังใน สิงคโปร์ มาบอกเล่ากับผู้ร่วมกิจกรรมงานบรรยาย “การสร้างความรับรู้เท่าทันภัยทางดิจิทัลและการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ สกมช. และกรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ให้เป็น “อุทาหรณ์” เมื่อความรักถูกใช้เป็นอุบายหลอกเอาทรัพย์สิน

ในงานดังกล่าว แม้ พล.อ.ต.อมร จะพูดถึงรูปแบบการหลอกลวงทางออนไลน์ที่หลากหลาย ทั้งหลอกลงทุนผลตอบแทนสูง หลอกให้ซื้อของที่ราคาถูกเกินจริง หลอกให้ทำงานสบายรายได้ดี ฯลฯที่สุดท้ายต่างจบด้วยการที่นอกจากจะไม่ได้เงินตามที่คาดหวังแถมยังเสียเงินเพิ่มอีกต่างหาก แต่หัวข้อที่เน้นที่สุดคือ “หลอกให้รักแล้วขอเงิน” หรือโรแมนซ์ สแกม (Romance Scam) นั่นเพราะมูลค่าความเสียหายสูงมาก และเหยื่อมักไม่ยอมถอนตัวออกมาจากจุดนั้นโดยง่าย ทำให้ถูกหลอกโอนเสียไปให้มิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง

เลขาธิการ สกมช. เล่าถึงเหยื่อรายต่อไปครั้งนี้เกิดขึ้นใน ประเทศไทย ลูกสาวสังเกตเห็นความผิดปกติของแม่ที่ชอบแอบไปโทรศัพท์ในห้องน้ำและมักโอนเงินไปให้ผู้ชาย และแม้ต่อมาแม่จะขอให้เปิดระบบวีดีโอคอล (พูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านกล้องโทรศัพท์มือถือ) แม่ก็กลับเชื่อที่คนร้ายบอกอีกว่ารักเราจะไม่ยั่งยืนหากเจอหน้ากันโดยอ้างคำทำนายของหมอดู ผ่านไป 6 เดือน คนร้ายกับเหยื่อก็ยังคุยกันอยู่

หรือเหยื่ออีกรายหนึ่ง คุยกับมิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นฝรั่งต่างชาติ แรกๆ คุยกันก็ไม่ได้ขออะไร กระทั่งวันหนึ่ง คนร้ายก็อ้างว่าได้มรดกจากคุณยายรวม 20 ล้านบาท และได้ขนเงินทั้งหมดเดินทางมาประเทศไทย แต่ติดอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ต้องใช้เงิน 150,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมในการนำเงินทั้งหมดออกมาในตอนแรกเหยื่อก็เหมือนกับว่ามีสติไม่หลงเชื่อโดยง่าย เพราะโอนเงินไป 70,000 บาท แถมไปแจ้งตำรวจอีกต่างหากเพราะสงสัยว่าอาจถูกหลอก แต่เมื่อกลับมาบ้านคุยกับมิจฉาชีพ ท้ายที่สุดก็โอนไปอีก 80,000 บาทจนได้

“สมมุติว่าเราเป็นผู้ชาย เขาก็จะเอารูปของทหารหญิง พยาบาลหญิง หรือสาวโมเดลลิ่งทั้งหลายมาขอแอด (Add :ทักชวนเป็นเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์) เรา ถ้าเราเป็นผู้หญิง เขาก็จะเอารูปฝรั่งหน้าตาดีมาขอแอดเรา พวกโรแมนซ์ สแกมผ่านแอปฯ หาคู่พวกนี้ บางทีเขาก็จะมองหาเหยื่อเลย ว่าแทนที่จะเป็น Account Social Media (บัญชีสื่อสังคมออนไลน์) ธรรมดา ก็ไปหาเอาจากพวกทินเดอร์ (Tinder : แอปพลิเคชั่นหาคู่ออนไลน์) หรือแอปฯ อื่นๆ ที่เขารู้ว่าเราต้องการจะหาคู่

แล้วพอเขาแอดเรา ถ้าเราเผลอรับ สิ่งที่ตามมาก็คือถ้าเป็นผู้ชาย บางทีเขาจะชวนเราให้ทำลามกอนาจารแล้วก็แบล็กเมล์ (Blackmail : ขู่กรรโชกทรัพย์) คือหลอกให้เราส่งรูปตัวเราไปให้เขา ฝั่งเขาก็จะส่งมายั่วเราก่อน เสร็จแล้วฝั่งเราก็จะถูกเขาหลอกแล้วก็จะส่งภาพที่เขาจะแบล็กเมล์เราได้ เมื่อสัก 7 ปีก่อนเขาจะขอแบล็กเมล์ที่ห้าพัน มาตอนนี้ขึ้นเป็นหนึ่งหมื่นแล้วเพราะว่าค่าเงินเฟ้อ แต่สุดท้ายจะเหมือนกันคือถ้าเราเผลอจ่าย แปลว่าเรากลัว ต่อไปมันจะขึ้นจากห้าพันหรือหนึ่งหมื่น เป็นสองหมื่น สามหมื่นสี่หมื่น ห้าหมื่น เพราะเขารู้สึกว่าขู่เราได้” พล.อ.ต.อมร ระบุ

พล.อ.ต.อมร กล่าวต่อไปว่า “แต่หากเป็นผู้หญิง มิจฉาชีพรู้อยู่แล้วว่าผู้หญิงโดยเฉพาะคนไทยจะไม่ส่งภาพที่ไม่เหมาะสมให้ใครดู ดังนั้นจะเน้นไปที่การทำให้เหยื่อตกหลุมรักแล้วอ้างความจำเป็นต่างๆ นานา เพื่อให้เหยื่อโอนเงินไปให้”และในหลายกรณี “การหลอกให้รักยังนำไปสู่การหลอกให้ลงทุน” อนึ่ง มีข้อค้นพบด้วยว่า “มิจฉาชีพมักนิยมเล็งเหยื่อที่มีสามีหรือมีภรรยาแล้ว” อาศัยการจับตาความเคลื่อนไหวของเป้าหมาย เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมีสามีแต่ไม่โพสต์ภาพสามี ชีวิตมีแต่ตนเองกับลูก หรือผู้ชายคนหนึ่งมีภรรยาแต่ไม่โพสต์ภาพภรรยา มีแต่ภาพตนเองไปตีกอล์ฟ

แบบนี้คือ “ความเหงากำลังได้ที่” มิจฉาชีพก็จะคืบคลานเข้ามา หากเหยื่อเป็นชายก็เริ่มจากการกดไลค์รูปเหยื่อบ้าง ส่งข้อความทักทายหรือชมบ้างจนเกิดความรู้สึกถึงหน้าตาเราไม่ดีแต่เสน่ห์คงได้อยู่ หรือหากเหยื่อเป็นหญิงมิจฉาชีพจะอดทนมาก ไม่ว่าเหยื่อจะพูดอะไรก็ล้วนถูกและพร้อมเข้าใจเสมอ “ความยากในการช่วยเหลือเหยื่อโรแมนซ์ สแกม คือคำลวงหลอกนั้นกลับไปเติมเต็มสารโดปามีน (Dopamine : สารที่หลั่งแล้วมีความสุข) ในสมองของเหยื่อ” ทำให้เหยื่อเป็นฝ่ายถวิลหาคนร้ายเสียเอง

นอกจากนั้น “การที่มิจฉาชีพเล็งเหยื่อที่มีคู่ครองแล้ว เพราะแม้เหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกแต่ก็มีแนวโน้มที่จะไม่กล้าแจ้งความเพราะกลัวคู่สมรสจะรู้” ถึงจะเป็นเพียงความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ก็ตาม จึงอยากฝากให้ทุกคนสังเกตตนเองดู มีใครที่คบหาเราในรูปแบบโรแมนซ์ สแกม หรือไม่ ซึ่งอาจไม่ได้เริ่มต้นที่การคุยกันเพียงวันเดียวแล้วขอเงิน เพราะมิจฉาชีพจะจีบหลายคนพร้อมกัน

มีการติดตามว่าคนนี้คุยถึงระดับไหนแล้ว ความรักใกล้สุกงอมหรือยัง หรือคนไหนคุยเรื่องอะไร เลี้ยงไว้จนกระทั่งรู้สึกอารมณ์เรากับเขาเชื่อมกันแล้วผ่านบัญชีออนไลน์ที่เขาสร้างขึ้นมา และอีกหนึ่งการตัดสินใจที่ไม่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือการดูว่าบัญชีสื่อออนไลน์ที่มาทักทายขอให้เรากดรับเป็นเพื่อนนั้นมีรายชื่อเพื่อนของเราที่รับเป็นเพื่อนอยู่แล้วก่อนหน้า เพราะมิจฉาชีพอาจใช้วิธีไปขอให้เพื่อนของเรากดรับเป็นเพื่อนเพื่อมาใช้หลอกเราก็ได้

“ตัวเราเองสังเกตตัวเราก่อน แล้วถ้าจะให้ดี คนแปลกปลอมหน้าตาดีแค่ไหนก็ตามมาขอแอดเรา ต้องสังเกตเลยว่า ดูโปรไฟล์ (Profile : ประวัติ) อย่างนี้แล้วไม่น่าจะรับ เพราะว่าเขาไม่น่าจะใช่คนที่อยากคบกับเรา หรือคนละระดับกันในเรื่องของความเข้าใจหรือความสนใจ” เลขาธิการ สกมช. ฝากข้อคิด

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved