วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'เต่าตนุ'กัดกินหญ้าทะเล อาจเป็นสาเหตุ ทำแหล่งอาหารของพะยูนลดลง

'เต่าตนุ'กัดกินหญ้าทะเล อาจเป็นสาเหตุ ทำแหล่งอาหารของพะยูนลดลง

วันจันทร์ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567, 15.37 น.
Tag : เต่าตนุ หญ้าทะเล พะยูน
  •  

หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เผยคลิปวีดีโอที่พบเต่าตนุตัวใหญ่กำลังกัดกินหญ้าทะเล จนเหี้ยนโกรนที่เกาะมุกด์ อ.กันตัง จ.ตรัง ส่งผลกระทบต่อพะยูนที่ขาดแคลนหญ้าทะเล จนผอมแห้งและส่วนหนึ่งอพยพย้ายถิ่น จนเหลือไม่ถึง 40 ตัวจากเดิมเกือบ 200 ตัวในทะเลตรัง

18 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ช่วยศาสตาจารย์ พรเทพ วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง


ได้นำคลิปวีดีโอที่ติดตั้งกล้องไว้ใต้น้ำจำนวน 2 ตัว เพื่อค้นหาสาเหตุของหญ้าทะเลที่ขาดท่อน โคนเน่าและลอยขึ้นสู่ผิวน้ำโดยผิดธรรมชาติเป็นบริเวณกว้าง ที่บริเวณเกาะมุกด์ อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของเต่าตนุที่พบมากในบริเวณดังกล่าว

ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้พะยูนทุกช่วงวัย เกิดอาการ ผอมแห้ง ป่วยตาย และบางส่วนอพยพย้ายถิ่นเพราะขาดแคลนอาหาร  โดยผลการบินสำรวจล่าสุดของกรมทรัพยากรทางทะเลเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบพะยูนในท้องทะเลตรังจำนวน 36 ตัว จากเมื่อปี 2566 พบมากเกือบ 200 ตัว และพบคู่แม่ลูกแค่ 12 คู่ โดยคลิปเผยให้เห็นว่า เต่าตนุได้กัดกินบริเวณโคนต้น ทำให้ใบขาดและลอยขึ้นมา ซึ่งเมื่อกัดซ้ำอีกทีที่ต้นเดิม จะทำให้รากเน่าและตายในที่สุด

แต่ในส่วนของหญ้าทะเลที่แห้งตายที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งมีการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2563 พบว่า มีลักษณะใบขาดสั้นแบบตากแห้ง โดยบริเวณส่วนปลายใบ มีสีน้ำตาลเหลืองแล้วขาด เนื่องจากเกิดการทับถมของทราย ทำให้หญ้าทะเลเกิดอาการเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด

ซึ่งในพื้นที่ เกาะมุกด์ ในปี 2565- 2566 แหล่งหญ้าทะเลขาดสั้น เกิดสาเหตุจากเต่าตนุกัดกินหญ้าคาทะเลในบริเวณส่วนโคนใบ ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี เกิดความเสียหาย 4,500 ไร่ เช่นเดียวกับที่ อ่าวขามหาดปากเมง อ.สิเกาเกิดความเสียหาย 1,500 ไร่ บ้านปากคลอง อ.สิเกา เสียหาย 500 ไร่ และบ้านแหลมไทร อ.สิเกา เสียหาย 2,000 ไร่ รวมเนื้อที่กว่า 8,500 ไร่  โดยกล้องบันทึกภาพจำนวน 2 ตัวที่ติดตั้งไว้ในบริเวณนั้น สามารถจับภาพเอาไว้ได้

ส่วนข้อสันนิฐานที่ว่าน่าจะเกิดจากสภาวะโลกร้อน ก็ทำให้เกิดประเด็นที่ขัดแย้งตามมา เช่น ถ้าเกิดสภาวะโลกร้อนแล้วเหตุใดหญ้าคาทะเลบางต้นยังยาวปกติ บางต้นขาดสั้น ซึ่งหากเกิดจากสภาวะโลกร้อนหญ้าคาบริเวณเดียวกันจึงไม่มีการขาดสั้นทั้งหมดพร้อมๆกัน พร้อมกับหญ้าคาทะเลในเขตน้ำลึกที่ขาดสั้นยังมีลักษณะสีเขียวสด โดยไม่ได้มีการตากแห้งแต่อย่างใด โดยตลอดทั้งปีก็ไม่ได้มีการรายงานระดับน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ หรือมีการรายงานของปะการังฟอกขาวในจังหวัดตรังแต่อย่างใด

ในขณะที่ ผศ.พรเทพ  วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรังกล่าวว่า สรุปสาเหตุคือเต่าทะเล เพราะจากการสังเกตอาหารตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้วในปี 65-66 จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นปี ตัวหญ้าคาทะเลจะขาดลอยขึ้นมาทั้งที่ไม่มีลมพายุ ตัวใบยังสดสีเขียวแต่ขาดเฉพาะที่โคนเท่านั้น และที่โคนก็ยังเขียวอยู่ สภาพอย่างนี้ไม่ใช่สภาพของการตากแห้งแน่นอน ไม่ใช่เกิดจากทรายมาทับถมหรือการเปลี่ยนของพื้นทะเล ทำให้เกิดเป็นสันทรายหรือทรายทับถมมากขึ้น แล้วทำให้หญ้าทะเลตากแห้งขณะน้ำลงนั้น ไม่ใช่

ซึ่งที่พบคือเต่าตนุที่มีมากเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่เข้ากินในแปลงหญ้าบริเวณท่าเรือ อย่างน้อยนับได้ไม่ต่ำกว่า 30 ตัวโดยสายตาที่ยืนนับและตรงกับที่ชาวบ้านร้องเรียนมา และเท่าที่ตนได้ติดตามมา โดยจะเริ่มลำดับเหตุการณ์คือ ที่เกาะมุกด์ จะเริ่มตั้งแต่ปลายปี 65 ที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องเต่าตนุกินหญ้าคาทะเล ตั้งแต่แปลงลึกถึงแปลงที่ตื้น เพราะเต่าตนุจะกินจากที่ลึกมาก่อน และเรามีภาพตั้งแต่แปลงลึกถึงแปลงตื้น

โดยมีวีดีโอให้ดูตั้งแต่ปี 65 ปลายปี ทางเราได้เข้าไปติดตั้งและติดตามตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 66 เพราะเขาร้องเรียนปี 65 ปลายปี ทำให้หญ้าทะเลลดลงเรื่อย ๆหลังจากนั้น ในเดือนเดียวกันของปี 66 คือที่ปากเมงซึ่งมีหญ้าทะเลอยู่ประมาณ 1,500 ไร่ ก็ได้สูญเสียไปทั้งหมด ถัดไปอีกที่หนึ่งคือบ้านปากคลองซึ่งมีอยู่ 500 ไร่หญ้าคาก็สูญเสียไป

ต่อมาก็เป็นที่แหลมไทรอีก 2,000 ไร่ก็หายไป ส่วนที่เกาะลิบงเป็นปัญหาเดิม คือเปลี่ยนจากพื้นที่หญ้าเป็นทรายที่ชุ่มน้ำปนโคลนกับเปลือกหอย ได้เปลี่ยนเป็นทรายอย่างเดียวที่ทับถมหนาเกิน 10 เซนติเมตร โดยที่เกาะลิบงไม่ได้เกี่ยวกับเต่าแต่อย่างใด.012

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • นักท่องเที่ยวสุดประทับใจ! แล่นเรือพบ\'พะยูน\'โตเต็มวัย กินหญ้าทะเล นักท่องเที่ยวสุดประทับใจ! แล่นเรือพบ'พะยูน'โตเต็มวัย กินหญ้าทะเล
  • ไม่นิ่งนอนใจ! กระทรวงทรัพย์ฯลงพื้นที่ ติดตามปัญหา\'หญ้าทะเล\'เสื่อมโทรม ไม่นิ่งนอนใจ! กระทรวงทรัพย์ฯลงพื้นที่ ติดตามปัญหา'หญ้าทะเล'เสื่อมโทรม
  •  

Breaking News

สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’

ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท

‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’

‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved