วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘สสส.-โคแฟค-กทม.’จัดงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 67 ‘อ.เจษฎา’ชี้แพลตฟอร์มไม่ช่วยสกัดเพจหลอกลงทุน

‘สสส.-โคแฟค-กทม.’จัดงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 67 ‘อ.เจษฎา’ชี้แพลตฟอร์มไม่ช่วยสกัดเพจหลอกลงทุน

วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567, 19.33 น.
Tag : วันตรวจสอบข่าวลวงโลก อ.เจษฎา เพจหลอกลงทุน
  •  

‘สสส.-โคแฟค-กทม.’จัดงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 67 ‘อ.เจษฎา’ชี้แพลตฟอร์มไม่ช่วยสกัดเพจหลอกลงทุน

วันที่ 2 เมษายน 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีโคแฟค ประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดงานสัมมนาระดับชาติเนื่องในโอกาสวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2567 (International Fact-Checking Day 2024)” ภายใต้หัวข้อ “Cheapfakes สู่ Deepfakes: เตรียมรับมืออย่างไรให้เท่าทัน”ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า  จากรายงานประจำปี 2566 ของ ฮูสคอลล์ (Whoscall) แพลตฟอร์มระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปม พบว่า ปี 2566 คนไทยโดนหลอกจากสายโทรเข้าและส่งข้อความหลอกลวง 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มี 66.7 ล้านครั้ง คิดเป็นเพิ่มขึ้น 18% โดยเฉลี่ยคนไทย 1 คน ได้รับ เอสเอ็มเอสหลอกลวง 20.3 ข้อความ ถือว่าไทยถูกหลอกลวงมากเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง 

ทั้งนี้ งานสัมมนาระดับชาติฯ ที่จัดขึ้น สสส. หวังสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะในประเด็นการตรวจสอบข้อมูลก่อนเชื่อหรือแชร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล ประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ และรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงการตรวจสอบข้อมูล นำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะให้ยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป โดย สสส. วางเป้าหมายพัฒนานิเวศสื่อสุขภาวะที่ส่งผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมการใช้สื่อเพื่อสุขภาวะ เสริมทักษะรู้เท่าทันสื่อ และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดสื่อสุขภาวะและปกป้องผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกช่วงวัย 

“จากผลการดำเนินงานของ โคแฟค ประเทศไทย ที่ สสส. ร่วมผลักดันสนับสนุนให้โคแฟคเป็นพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงบนสื่อออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2563-2567 โคแฟค ได้บริการตรวจสอบข่าวลวง 7,672 บทความ ช่วยปกป้องคนไทยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพผ่านการอบรมตรวจสอบข้อมูลกว่า 5,000 คน สสส. มุ่งหวังให้ทุกคนเป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ มีความสามารถในการตรวจสอบข่าวได้ด้วยตนเอง จนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตรวจสอบข้อมูล  และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาช่วยกันตรวจสอบข่าวลวงได้ โดยเชื่อว่า “Everyone is a fact checker” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทช่วยให้การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันสะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลบนโลกออนไลน์ได้ง่ายๆ แต่ความเสี่ยงต่อการถูกหลอก สร้างความเข้าใจผิด ความเกลียดชัง ถูกหลอกให้ลงทุนและโอนเงินออกจากบัญชี ก็เกิดขึ้นให้เห็นทุกวัน 

“กทม. ให้ความสำคัญการป้องกันภัยคุกคามจากออนไลน์ทุกรูปแบบ จึงร่วมกับ สสส. เร่งสร้างการรับรู้ภัยอันตรายที่เกิดจากข่าวลวง ข่าวปลอม ซึ่งเครือข่ายโคแฟค ประเทศไทย จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ให้คนในสังคมได้ตรวจสอบข้อมูลข่าวหลอกลวงที่เกิดขึ้นร่วมกัน และขยายผลความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือได้อย่างเท่าทัน” นายชัชชาติ กล่าว

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า คนไทยถูกมิจฉาชีพใช้ชีพเฟคหลอกลวงมากกว่าดีฟเฟค สอดคล้องกับสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565-15 มี.ค. 2567 มีประชาชนแจ้งความออนไลน์มากกว่า 400,000 คดี โดยการหลอกหลวง 3 ประเภทที่พบสูงสุด ได้แก่ 1.ถูกหลอกให้ซื้อสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) 2.หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 3.หลอกให้กู้เงิน 

“ปีนี้ โคแฟค จึงบูรณาการภาครัฐและเอกชนอบรมสร้างทักษะการตรวจสอบข้อมูลในยุคเอไอทั่วประเทศมีผู้เข้าร่วม 2,500 คน และสร้างคอนเทนต์ในอินฟลูเอนเซอร์สายตรวจสอบข่าว และพัฒนาให้เกิดศูนย์ตรวจสอบข่าวลวงภูมิภาคกว่า 7 แห่ง อาทิ อีสานโคแฟค มหาวิทยาลัยบูรพา สามจังหวัดชายแดนใต้ และจะเปิดรับภาคีใหม่มาทำกิจกรรมตรวจสอบข่าวและสร้างพลเมืองทุกคนให้เป็น fact-checker ต่อไป  และสุดท้าย ขอชวนประชาชนทุกคนฝึกตรวจสอบข่าวเช็คให้ชัวร์ก่อนเผยแพร่ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยเฉพาะในยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง สามารถเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ cofact.org” น.ส.สุภิญญา กล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในช่วง Lightning Talk ถึงภาพรวมการตรวจสอบข้อมูลลวงในรอบปี 2566 ว่า แม้จะมีข่าวลวงหรือข่าวปลอมเกิดขึ้นหลายเรื่อง แต่ข่าวที่ส่งผลกระทบต่อสังคมมค่อนข้างมากคือข่าวปลอมที่ทำให้ผู้หลงเชื่อสูญเสียทรัพย์สิน คือไม่ใช่หลอกลวงคนอื่นเอาฮาเอาสนุก เช่น การแอบอ้างชื่อบริษัทใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ชักชวนให้ลงทุน

“ที่น่าห่วงคือตัวแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊ก ไม่ได้ช่วยเราในการเอาพวกนี้ออก แต่กลับกลายเป็นว่าช่วยสนับสนุนคนพวกนี้ด้วย พวกนี้จะเป็นโพสต์ที่มีสปอนเซอร์หมดเลย แล้วเรา Report (รายงาน) อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ออกไป อันนี้เป็นสถานการณ์ที่น่าห่วงในช่วงรอบปีที่ผ่านมา เรื่องตัวแพลตฟอร์มเองก็ทำให้เราเจอข่าวปลอม” รศ.ดร.เจษฎา กล่าว

สำหรับวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2 เมษายน ของทุกปี เกิดขึ้นจากครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล (International Fact Checking Network - IFCN) โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา หวังกระตุ้นให้คนทั่วโลกตื่นตัว ตรวจสอบข้อมูลบนโลกออนไลน์ก่อนส่งต่อ และเข้าใจอันตรายที่เกิดขึ้นจากข่าวลวง
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘บิว-ภูริพล’ เร่งเครื่องช่วงท้าย ผงาดแชมป์ 100 เมตรที่จีน

'นพ.ตุลย์'เรียกร้อง'แพทยสภา' ยืนยันมติเดิมคดี'ทักษิณ' เพื่อความน่าเชื่อถือ

รวบเพิ่มอีก 1 ผู้ต้องหาหญิง'อรัญญาวรรณ' สนับสนุนเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ยักยอกเงิน 300 ล้าน

'ชูศักดิ์'สั่งผอ.พศ.ประสาน ปลด'เจ้าคุณแย้ม' เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เสนอตั้งคกก. ตรวจสอบเงินวัด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved