วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดข้อกฎหมายทำอย่างไร? เมื่อเผชิญเคส‘สุนัข’เห่าหอน ทนทุกข์นอนไม่ได้

เปิดข้อกฎหมายทำอย่างไร? เมื่อเผชิญเคส‘สุนัข’เห่าหอน ทนทุกข์นอนไม่ได้

วันอังคาร ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 11.08 น.
Tag : ข้อกฎหมาย สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย สุนัขหอน สุนัขเห่า หมาหอน หมาเห่า
  •  

เปิดข้อกฎหมายทำอย่างไร? เมื่อเผชิญเคส‘สุนัข’เห่าหอน ทนทุกข์นอนไม่ได้

14 พฤษภาคม 2567 จากกรณีสองสามีภรรยาหมู่บ้านหรูแห่งหนึ่ง ร้องให้ช่วยเหลือจากกรณีเพื่อนบ้านทั้งซ้ายและขวา เลี้ยงสุนัขจรจัด เห่าสนั่นทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไม่ได้หลับไม่ได้นอน กว่า 10 ปี ไปร้องหน่วยงานไหนเรื่องก็เงียบนั้น


ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ว่า ถ้าในแง่สังคมก็เข้าใจในความเดือดร้อนรำคาญ จนนำมาสู่ความเจ็บป่วย ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับใครนั้น ก็เป็นห่วงใยและเห็นใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ส่วนรวม ที่ต้องใช้เพื่ออยู่อาศัยร่วมกัน การทำกิจกรรมอะไรที่กระทบกันนั้นต้องมีความระมัดระวัง หรือเกรงอกเกรงใจกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ในชุมชน โดยเฉพาะสุนัขและแมว จำนวนมากเกินความพอดี ก็อาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้เพื่อนบ้านได้ ดังเช่นกรณีดังกล่าว

สำหรับกรณีสุนัขเห่าหอน เป็นเรื่องปกติพฤติการณ์ตามธรรมชาติของสุนัขทุกตัว แต่ถ้ากรณีเจ้าของสุนัขมีการเลี้ยงสุนัขเป็นจำนวนมาก ในบริเวณพื้นที่อันจำกัด ซึ่งอาจส่งเสียง จนกระทบถึงสุขภาพอนามัยของผู้พักอาศัยในบริเวณข้างเคียง โดยเฉพาะในช่วงยามวิกาลที่กำลังพักผ่อนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560) มาตรา 25 ได้กำหนดในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบเหตุ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ (2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือวิธีใด หรือจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

โดยมาตรา 28 ได้ระบุไว้ว่า ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น  ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้  ซึ่งถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเข้ามาดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้น โดยมาตรา 74 ระบุไว้ว่า ถ้าผู้ไม่ปฏิบัติตามพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

สำหรับกรณีสุนัขจรจัดนั้น พนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจในการดำเนินการต่างๆได้ เพราะมีกฎหมายให้อำนาจไว้หลายฉบับด้วยกัน เช่น พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 และในท้องถิ่นต่างๆ ก็มีเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเลี้ยงและปล่อยสุนัข ของท้องถิ่นนั้นเอง หรือแม้แต่พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 26 ก็ระบุว่า ในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามสมควร ที่ผ่านมาก็มีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดหลายกรณีที่ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบเกี่ยวกับกรณีความเสียหายที่เกิดกับสัตว์จรจัดในท้องถิ่นนั้น

เมื่อกฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นก็เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของท้องถิ่นในการดำเนินการที่จะบริหารจัดการหรือระงับเหตุปัญหาเหล่านั้นให้เกิดความปรกติสุขของคนในชุมชน ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีการที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การหาพื้นที่ที่เหมาะสมให้สุนัขอยู่อาศัย หาผู้อุปถัมภ์รับเลี้ยงหาบ้านใหม่หรือสถานสงเคราะห์ทั้งของภาครัฐและเอกชนที่มีคุณภาพให้สุนัข หรือมีต้นแบบโครงการสุนัขชุมชนที่สามารถทำให้คนในชุมชนและสัตว์เลี้ยงในชุมชนอยู่อาศัยร่วมกันได้ ซึ่งมีแนวคิดที่ร่วมกันเสนอและผลักดันทั้งภาครัฐ เช่น กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน นักวิชาการ ซึ่งอาจแบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่มคือ

กลุ่มแรก สุนัขไม่มีเจ้าของไม่มีผู้ดูแลเลย

กลุ่มที่ 2 สุนัขไม่มีเจ้าของแต่มีผู้ดูแลให้อาหารบ้าง

กลุ่มที่ 3 สุนัขที่อยู่ในชุมชน มีคนให้อาหารและคอยดูแลบ้าง อาจมีการตั้งชื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในชุมชน สามารถจับไปทำหมันและฉีดวัคซีนได้  

ทั้งนี้ ได้กำหนดรูปแบบของความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลสุนัขจรจัดเป็นไปอย่างมีระบบ ลดปัญหาการเพิ่มจำนวนและลดปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน และที่สำคัญเพื่อให้สุนัขในชุมชนได้รับการจัดสวัสดิภาพที่ดีตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งมีรูปแบบกิจกรรม เช่น การลงทะเบียนประวัติสุนัขทุกตัวของชุมชน  การทำเครื่องหมาย การฝังไมโครชิพหรือทำสัญลักษณ์ การตรวจสุขภาพพื้นฐาน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี การกำจัดเห็บหมัดและถ่ายพยาธิ การผ่าตัดทำหมันเพื่อควบคุมจำนวนประชากร หรือแม้แต่การมีเครื่องหมายหรือปลอกคอที่สามารถระบุพฤติกรรมได้ เช่น

ปลอกคอสีเขียว หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมที่ทุกคนจับต้องได้

ปลอกคอสีเหลือง หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมที่คนดูแลเท่านั้นจับต้องได้

ปลอกคอสีแดง หมายถึง สุนัขที่มีพฤติกรรมหวาดระแวงไม่มีใครจับต้องได้ 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ จำนวนสุนัขจรจัดในชุมชนลดลงในแต่ละปี ลดการปล่อยและทอดทิ้งสุนัข สุนัขได้รับการจัดสวัสดิภาพที่ดี ลดปัญหาการสงเคราะห์สัตว์ช่วยเหลือสัตว์แบบเคาะกะละมังเลี้ยง และได้รูปแบบที่เหมาะสมในการขยายผลและต่อยอดในการจัดการสุนัขจรจัดอย่างเป็นระบบ เป็นต้น ดังนั้นถ้ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเสียหายจากเหตุเดือดร้อนรำคาญดังกล่าว มีการร้องเรียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนเป็นเหตุมีการดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญและถ้ามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้น

เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของสุนัขนั้น ดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้นได้ แต่ถ้าเจ้าของสุนัขไม่ดำเนินการหรือขัดขวางการดำเนินการของพนักงาน ก็อาจจะมีโทษตามกฎหมายได้ ในทางกลับกันถ้าเหตุเดือดร้อนรำคาญเกิดจากสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ต้องดำเนินการในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหานั้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน เพราะถ้าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอาจจะมีความผิดได้เช่นเดียวกัน

“ดังนั้นสังคม ชุมชน ครอบครัว จะอยู่ร่วมกันได้นอกจากกฎเกณฑ์ กติกา มารยาท ทางสังคมที่ต้องมีร่วมกันแล้ว การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลถ้อยทีและถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจและมีมิตรไมตรีต่อกันนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ และผู้เลี้ยงสัตว์ในชุมชนก็ต้องมีความพอเหมาะพอดี เลี้ยงอย่างเข้าใจธรรมชาติของสัตว์นั้น และพึงระลึกว่าสัตว์เลี้ยงของเราก็ใช่จะเป็นสัตว์ที่น่ารักของใครทุกคน แต่นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของสัตว์ที่ใครจะไปทำร้ายให้เกิดความทุกข์ทรมานได้  นอกจากเมตตาธรรมเพื่อสัตว์แล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยเช่นกัน ในการลดความขัดแย้งกระทบหรือละเมิดสิทธิ สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้อื่น เพื่อจะทำให้สังคมนั้นอยู่ได้อย่างร่วมเย็นเป็นสุข ตลอดไป” ดร.สาธิต กล่าว

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'กันเนอร์-ไนซ์'เติมหวานน้ำตาลไม่ตก ออกเดทฮีลใจแฟนซีรีส์ 'Knock Out หมัดน็อกล็อกหัวใจ'

ก.เกษตรฯกระชับความร่วมมือค้าสินค้าเกษตรไทย-อาร์เจนติน่า

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระวโรกาสให้'ภูมิธรรม'เข้าเฝ้าเพื่อความเป็นสรรพสิริมงคล

'เกาหลีใต้'รวบชาวเกาหลีเหนือ หลังแอบข้ามพรมแดนหวังลี้ภัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved