วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดรายงานสุขภาพคนไทย2567 ‘ความเครียด’เรื่องใหญ่ของปีนี้

เปิดรายงานสุขภาพคนไทย2567 ‘ความเครียด’เรื่องใหญ่ของปีนี้

วันเสาร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 08.38 น.
Tag : สุขภาพคนไทย ความเครียด
  •  

วันที่ 14 มิถุนายน 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมฟอรั่มรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567 ณ อาคารเรียนรู้สุขภาวะ สสส. ย่านงามดูพลี-สาทร กรุงเทพฯ โดย รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง “ความเครียด” ซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญของรายงานฉบับนี้ ว่า ความเครียดเป็นได้ทั้งความไม่เงียบ เช่น เดือดร้อนแล้วโวยวาย และความเงียบที่ภายใต้ความสงบของคลื่นลมนั้นมีความปั่นป่วนอยู่

ซึ่งสาเหตุของความเงียบ จะมีปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ หลายครั้งคนเราถูกสั่งสอนว่าให้เก็บกลั้นไว้อย่าแสดงออกมา โดยบอกว่าการแสดงออกถึงความเครียด คือการเผยความอ่อนแอ ล้มเหลวบกพร่อง หรือการถูกตีตราจากสังคมว่าคนคนนี้อยู่ใกล้แล้วไม่มีความสุข หรือบางคนที่ไม่แสดงออกก็เพราะไม่อยากให้คนอื่นพลอยเครียดไปกับตนเองด้วย เช่น พ่อแม่กับลูก หรือหัวหน้ากับลูกน้อง ที่ต่างฝ่ายต่างไม่อยากแสดงออกเพราะกลัวปฏิกิริยาตอบกลับไม่ว่าจะเป็นการตำหนิหรือการเป็นห่วง โดยสรุปก็คือทุกคนเก็บเงียบความเครียดกันทั้งสังคม


แต่อันตรายของการเก็บความเครียดไว้ให้เงียบ คือเมื่อเก็บไว้นานๆ ก็อาจระเบิดได้ และเมื่อระเบิดแล้วภาพที่เห็นคือไม่น่าดูหรืออาจไปถึงขั้นสยดสยอง โดย 3 ปัจจัยกำหนดความเครียด ประกอบด้วย 1.ด้านร่างกาย เช่น โรคทางกาย ความผิดปกติทางสมอง พันธุกรรม ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยก็ทำให้คนเรารู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำ 2.ด้านจิตใจ พื้นฐานอารมณ์ บุคลิกภาพ ความสามารถในการรับมือและจัดการปัญหา และ 3.ด้านสภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู การศึกษา สภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ 

ทั้งนี้ พบว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา อ้างอิงข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) มีคนไทยที่เป็นโรคซึมเศร้าและมีการฆ่าตัวตายจากปัญหาสุขภาพจิต 358,267 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 355,537 คน หรือเพิ่มขึ้น 2,730 คน ในจำนวนนี้เป็นคนวัยหนุ่ม-สาว อายุ 15-34 ปี มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในแต่ละช่วงวัยก็มีเรื่องที่เครียดแตกต่างกัน โดยวัยเด็ก-วัยรุ่น เช่น ประสบการณ์เลวร้ายในว้ยเด็ก ความเหลื่อมล้ำถูกเลือกปฏิบัติ การถูกเร่งให้เติบโตเกินวัย หรือ Hurried child syndrome 

ขณะที่วัยทำงาน เช่น ภาระงานและภาวะหมดไฟ หรือ Burnout ความเสี่ยงของอาชีพ การบีบคั้นทางเศรษฐกิจ และวัยผู้สูงอายุ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่สุขภาพ รายได้ สถานะทางสังคม แต่ที่น่าสังเกต คือทุกช่วงวัยมีปัจจัยเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือความสัมพันธ์ในครอบครัว สะท้อนให้เห็นว่า ทั้งแหล่งของความเครียด และแหล่งที่จะรับมือกับความเครียด อาจเป็นครอบครัว

“ในเล่มยังเล่าถึงว่า ข้อมูลของความเครียดในแค่ละคน อย่างเช่นในวัยเด็ก ซึ่งในเล่มนี้พูดถึงเรื่อง Hurried child syndrome พ่อแม่ที่คาดคั้นอยากให้ลูกเป็นซูเปอร์แมน ยิ่งเอาไปเทียบกับข้างบ้าน มีป้าข้างบ้านมาพูดอย่างนั้นอย่างนี้ อีก ก็สร้างความเครียดได้ 1 ใน 3 ของนักศึกษาไทยมีความเครียดสูง ข้อมูลความเครียดในเด็กอาจพบไม่มากเท่าไร เพราะการเก็บข้อมูลเป็นประเด็น Sensitive (อ่อนไหว)” รศ.ดร.ภูเบศร์ กล่าว

รศ.ดร.ภูเบศร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับความเครียดของคนวัยทำงาน ซึ่งระยะหลังๆ มีการให้ความสำคัญกับปัญหา Burnout มากขึ้น อย่างสภาพัฒน์ที่ใช้คำว่าภาวะหมดไฟในการทำงาน เช่นเดียวกับองค์กรอนามัยโลก (WHO) ก็บอกว่า Burnout เป็นภาวะที่ต้องเยียวยา หมายถึงต้องรักษา ไม่ใช่เพียงวิธีง่ายๆ อย่างการส่งไปพักเพียงเท่านั้น ส่วนความเครียดของผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้น อย่างสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ทำงานด้านสังคมสูงวัย หรือ Aging Society อยู่ สามารถคาดการณ์ได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังมา จะทำให้ผู้สูงอายุยิ่งเครียดมากขึ้นอีก ด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการอยู่

แต่โดยสรุปแล้ว แก่นของความเครียดจริงๆ มีเพียง 2 เรื่อง คือเหตุกับอารมณ์ ดังนั้นการจัดการกับความเครียด หากไม่จัดการกับเหตุก็จัดการกับอารมณ์ หรือทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน โดยกลไกการจัดการจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ปัจเจกบุคคล หมายถึงคนคนนั้นเป็นอย่างไร เช่น บุคลิกภาพ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและสามารถยืนหยัดได้ (Self-Esteem) กับ 2.ทรัพยากรในการรับมือ ซึ่งมีหลายออย่าง และเชื่อมโยงกับประเด็นความเหลื่อมล้ำในความสามารถจัดการกับความเครียดด้วย

“ทรัพยากรที่ว่านี้มีทั้งที่มีอยู่จริง กับที่ตัวเองคิดว่ามันมีแต่จริงๆ แล้วไม่มี แค่คิดว่ามีก็ใช้ได้แล้ว แค่คิดว่าคนรักก็มีความสุข สามารถที่จะจัดการสถานการณ์ได้ อีกด้านคือ Strategies (ยุทธศาสตร์) ซึ่งผมขอใช้ (Background) ภูมิหลังทางพุทธศาสนา Strategies ที่ใช้จัดการกับเรื่องเหตุคืออริยสัจ 4 แท้ๆ ฝรั่งเขาไม่ได้พูดว่าอริยสัจ 4 แต่เขาเขียนออกมาแล้วมันคืออริยสัจ 4 วิเคราะห์สาเหตุ ดูว่าต้นเหตุคืออะไร ปัจจัยคืออย่างไรแล้วจะแก้ ก็คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันนี้ไม่ได้ Bias (อคติ) เขาเขียนออกมาแบบนั้นจริงๆ” รศ.ดร.ภูเบศร์ ระบุ

รศ.ดร.ภูเบศร์ ยังกล่าวอีกว่า ยังมีอีกหลายวิธีในการจัดการกับความเครียด เช่น ปรับเปลี่ยนต้นเหตุความเครียด ประกอบสร้างความทางความคิด ใช้ความรุนแรง แสดงออกทางอารมณ์ หลบเลี่ยงพฤติกรรม ยืนหยัดฝืนทน เบี่ยงเบนความสนใจตนเอง สืบหาข้อมูล ปลีกวิเวก สนับสนุนทางจิตวิญญาณ หลบเลี่ยงทางความคิด เบี่ยงเบนทางความคิด ซึ่งทั้งหมดนี้มักถูกรวบรวมไว้ในหนังสือประเภทนิตยสาร แต่รวบรวมแบบไม่เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังเพราะมีทั้งทางบวกและทางลบ 

ในท้ายที่สุด ประเด็นสำคัญของการจัดการกับความเครียด คือเรื่องนี้ไม่ได้เป็นภารกิจเฉพาะของกรมสุขภาพจิต หรือของ สสส. แต่เป็นระบบนิเวศทั้งหมด ทำอย่างไรการพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวก และแนวคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset จะช่วยให้คนมีความยืดหยุ่น เพราะแม้ไม่มีใครสามารถหลบเลี่ยงความเครียดได้ แต่จะทำอย่างไรให้ยืนหยัดสู้กับความเครียดได้ และในอีกมุมหนึ่ง ความเครียดหากอยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็เป็นปัจจัยเชิงบวก เพราะหากไม่มีความเครียดเลยก็ไม่เติบโต ไม่เกิดการพัฒนานวัตกรรม

“สุดท้ายความเครียดมีความเหลื่อมล้ำ ความสามารถในการรับมือกับความเครียดสร้างความเหลื่อมล้ำได้ บางคนมีทรัพยากรมากกว่าอีกคน บางคนประสบกับความเครียดมากกว่า” รศ.ดร.ภูเบศร์ กล่าวทิ้งท้าย

สามารถอ่าน “รายงานสุขภาพคนไทย 2567” ฉบับเต็มได้ที่นี่
https://www.thaihealthreport.com/th/report_health.php?id=27
https://www.thaihealthreport.com/file_book/601-Thaihealth-report-2567-edit20240509.pdf

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน

‘ธรรมนัส​’โผล่ทำเนียบรัฐบาล​ อ้างแค่แวะกินกาแฟ​

TRUE แจงด่วน! ขออภัยเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น กำลังเร่งแก้ไข ยันดีแทคใช้ได้ปกติ

‘โรม’อัดรัฐบาลอืดอาด ไร้น้ำยาแก้ปัญหาสารพิษ‘แม่น้ำกก’ ชี้ช่องคุยจีน-ฟ้องศาล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved