วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘ม.มหิดล-สธ.’ร่วมวิจัยระบาดวิทยา  ‘HIV-โรคหัวใจ’พร้อมขยายผล‘NCDs’

‘ม.มหิดล-สธ.’ร่วมวิจัยระบาดวิทยา ‘HIV-โรคหัวใจ’พร้อมขยายผล‘NCDs’

วันอาทิตย์ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : โรคประจำตัว HIV โรคหัวใจ
  •  

 

สิ่งที่นับว่าเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อสุขภาพมากที่สุด ไม่ใช่การมีโรคประจำตัว แต่คือการขาด “การเฝ้าระวัง” ดูแลตัวเองจนต้องกลายเป็นอีกโรคหนึ่งโดยไม่คาดคิดเพราะโรคบางโรคมีความเกี่ยวเนื่องกับอีกโรคด้วยตัวเองทางเลือกที่ดีที่สุดคือการ “ตัดท่อน้ำเลี้ยงแห่งรังโรค” เพื่อหยุดการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่อีกโรค


รศ.ดร.มธุรส ทิพยมงคลกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิชาการ และอาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาพัฒนาสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มสาขาวิชาพัฒนาสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับ ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข วิจัยความชุกและปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ติดเชื้อ HIV ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปสู่การต่อยอดขยายผลในเชิงนโยบายได้

โดยได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข “BMC Public Health” เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการวิจัยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบจนค้นพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากสาเหตุสำคัญที่ว่า “เชื้อไวรัส HIV” ส่งผลต่อการอักเสบของหลอดเลือด ดังนั้น หากไม่สามารถคุมระดับไวรัสได้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น

รศ.ดร.มธุรส ทิพยมงคลกุล

จากการวิเคราะห์เชิงสถิติแบบอภิมาน (Meta-analysis) เพื่อศึกษา “ความเสี่ยง” “ความชุก” และ “อุบัติการณ์”พบอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ติดเชื้อ HIV ทวีปเอเชีย-แปซิฟิกสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองลงมาจากผู้ติดเชื้อ HIV ในทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอุบัติการณ์อาจต่ำกว่าความเป็นจริง (Underestimate) ได้ เนื่องจากงานวิจัยด้านอุบัติการณ์ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกยังน้อยมาก และเมื่อเทียบกับในส่วนของจำนวนผู้ป่วยโรค HIV ทวีปเอเชีย-แปซิฟิกมีมากถึงอันดับ 2 รองจากทวีปแอฟริกา

รศ.ดร.มธุรส ยังได้แสดงความห่วงใยถึงแนวโน้ม “ตัวเลขจริง” ของผู้ติดเชื้อ HIV ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งคาดว่าอาจสูงกว่าสถิติที่ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอภิมาณ (Meta-analysis) ได้ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันยังคงไม่มีการศึกษา และเฝ้าระวังที่ดีพอในทวีปเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเทียบกับทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป แต่ยังได้ผลลัพธ์ออกมาถึงอันดับที่ 3 และแนะนำผู้ติดเชื้อ HIV ให้เฝ้าระวังดูแลสุขภาพก่อนป่วยเพิ่ม โดยให้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เลิกบุหรี่-ดื่มสุรา พร้อมควบคุมระดับน้ำตาล โซเดียม และไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่สมดุล

โดยก้าวต่อไปทีมวิจัยพร้อมศึกษาปัจจัยสำคัญในผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีความเสี่ยงต่อโรค NCDs เพื่อ “คุมเข้ม” ความชุกและอุบัติการณ์ของ “ภาวะโรคร่วม” ของ HIV และ NCDs พร้อมขยายผลสู่เชิงนโยบายเพื่อให้สามารถออกแบบการจัดบริการแบบองค์รวมได้ต่อไปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่

พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ

ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ

กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved