8 ธันวาคม 2567 ไปทำบุญ สร้างกุศล ฟังพระธรรมเทศนา ที่วัดดอนขวัญ ตั้งอยู่ อ.พนา จ.อำนาจเจริญ กับเจ้าอาวาสวัดดอนขวัญ ปกครองพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ไวยาวัชกร สังกัด มหานิกาย บนเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน ประกอบด้วย อุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปนามว่า พระพุทธรัตนวิสุทโคดม โดยเฉพาะ พระพุทธรัตนมหาเจดีย์ศรีอำนาจเจริญ ลักษณะคล้ายพระธาตุพนม จ.นครพนม ทั้งนี้ พระพุทธรัตนมหาเจดีย์ศรีอำนาจเจริญ ยอดฉัตร บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ ญาติโยม พุทธศาสนิกชน กราบไหว้บูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นมงคลชีวิตสูงสุด
ก่อนเดินทางกลับควรแวะฟังธรรมเทศนา กับ เจ้าอาวาสวัดดอนขวัญ ท่านเทศนาให้ข้อคิดแนวทางในการต่อสู้ชีวิต เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจดี ว่า การที่คนเราจะเกิดมาได้นั้น จะต้องเวียนว่ายต่อสู้กับผลกรรมและหลายจิตหลายวิญญาณ ก่อนจะอยู่ในครรภ์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะถือกำเนิดเกิดเป็นคน และวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีมาต่อพ่อแม่ แต่ปัจจุบันเริ่มจางหายไป ขาดความเคารพ ยำเกรงต่อบาปกรรม ไม่มีหิริโอตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป ทำให้คนหลงทาง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ทำให้คนเปลี่ยนไป จากเป็นคนก็กลายเป็นสัตว์ ซึ่งอวัยวะทุกส่วนเป็นคนหมด แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไม่เป็นคน คือ ใจ เพราะขาดศีลธรรม ขาดความเกรงกลัว ขาดปัญญา เช่น ตัวเป็นคน ใจเป็นสัตว์ ใจเป็นคนใจเป็นอสูรกาย ถ้าตัวเป็นคนใจเป็นเปรต ไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่ ถ้าใจดี เป็นคนสมบูรณ์ เริ่มคิดว่า วันแม่จะเอาอะไรไปฝากแม่ อยากให้อะไรแม่ พาแม่ไปกินข้าว นี่คือ คนที่มีปัญญา ใจเป็นคน จิตเป็นคน หาแต่เรื่องดีๆมาทำ คือ ใจเป็นคน กายเป็นคน คิดหาสิ่งดีมาทำ โดยเฉพาะวันแม่ ให้ถือดอกไม้ ไปหา แม่ กราบไหว้พ่อแม่ สำนึกถึงพระคุณพ่อแม่ ซึ่งก่อนจะมีอาชีพติดตัว อาชีพเลี้ยงตัวเองทุกวันนี้ เพราะมือของพ่อแม่ ก็ขอขมาลาโทษ ถือขันดอกไม้กราบพ่อแม่ ด้วยความจริงใจ นั่นคือ ลูกกตัญญูที่แท้จริง
เจ้าอาวาสวัดดอนขวัญ เทศนาต่อไปว่า ถ้าไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่ เป็นลูกอกตัญญู จะไม่มีความก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง ซึ่งพ่อแม่ กว่าจะส่งเรียนจบมีความรู้ ท่านลำบากมาก เห็นความลำบากของพ่อแม่จึงจะเจริญได้ ที่สำคัญ อย่าทำให้พ่อแม่เสียใจ เพราะเรานี่เรียกว่า คน ถ้าคนใครก็ตาม ทำให้พ่อแม่เสียใจ เป็นทุกข์ คนๆนั้น แม้ร่างกายจะเป็นคน ก็ถือว่า เป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะ ไม่รู้บุญคุณพ่อแม่
และยังเทศนาเกี่ยวกับคุณสมบัติของชาวพุทธว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรจะปฏิบัติตนในเบื้องต้นอย่างไร เมื่อเรามาปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง แล้วเราควรปฏิบัติอย่างไรให้สมกับเป็นพุทธบริษัท ไม่ใช่ว่า เป็นแล้วยังเป็นคนที่ทำตัวเหมือนเดิม เคยคิดอย่างไร ทำอย่างไร ก็ทำเหมือนเดิม การเป็นพุทธบริษัทก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าของชาวเราทั้งหลายนั้น พระองค์เป็นนักปฏิรูปคำสอนทางศาสนา คือ ทรงเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรให้เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่ควรขึ้น ที่เป็นเรื่องงมงายไร้สาระ ก็เปลี่ยนเป็นเรื่องที่มีสาระเป็นแก่นสารขึ้น เรื่องที่เคยถ่วงให้ไม่ก้าวหน้าในทางปฏิบัติ เพื่อความงดงามแห่งจิตใจ ให้สะอาด สว่าง สงบ พระองค์ได้แก้ไขสิ่งเหล่านี้ การแก้ไขสิ่งต่างๆ อันเป็นข้อปฏิบัตินั้นทรงกระทำโดยความเป็นธรรม ไม่ได้เข้าใครออกใคร ไม่ทรงเกรงกลัวผู้นั้น มีอยู่ในที่นี่ที่นั่น เช่น พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ที่มีความรู้ ความฉลาด เป็นครู เป็นอาจารย์ในท้องถิ่นนั้น ในสมัยนั้นพระองค์ทรงถือธรรม เอาธรรมเป็นหลัก เป็นแนวทาง ต้องการปรับปรุงให้เข้าหาหลักธรรม ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท เราต้องเลิกจากสิ่งที่ควรเลิก ถ้าจะเดินตามรอยของพระพุทธเจ้าได้ต้องถือหลักดังนี้
1.ต้องให้มีศรัทธามั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง ไม่เอาใจออกห่างไปหาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง แม้จะมีความทุกข์ก็ต้องนึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งเท่านั้น
2.ผู้เป็นพุทธบริษัท จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ที่ใจของผู้ปฏิบัติธรรม ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าชี้แนวทางให้เราเดิน คือ เริ่มต้นด้วยการรักษาศีล การเจริญสมาธิ ที่เราเรียก ภาวนา ต่อไปก็จะเกิดปัญญาด้วยด้วยการค้นคิดให้รู้แจ้งชัดในเรื่องนั้น
3.การรักษาศีล เรารักษาศีลเพื่ออะไร รักษาทำไม วัดพระก็ไปรักษาศีลที่วัด หรือเวลามีงานอะไรที่เป็นพิธี เรามักจะมีการรับศีลแต่สังเกตดูทั่วๆไปแล้ว ดูเหมือนว่า รับศีลพอเป็นพิธีเท่านั้น พอเสร็จพิธีกลายเป็นคนไม่มีศีล ไปนั่งล้อมวงดื่มสุรากันต่อไป หารู้ไม่ว่า เรารับศีลเพื่ออะไร รับทำไม เวลามีงานศพ ก็นิมนต์พระไปสวดอภิธรรม แล้วก็มานั่งรับศีลกัน รับเสร็จแล้วก็มานั่งดื่มเหล้ากัน เป็นเสียอย่างนี้ การทำเช่นนี้แสดงว่า ไม่เข้าใจความมุ่งหมายว่าเรารับศีลเพื่ออะไร หรือบางทีอาจไม่ต้องรับจริงจัง ทำไปพอเป็นพิธีว่าพระให้ศีล
ขอให้เข้าใจเสียว่า เรารับศีลนั้น คือ การรับแบบฝึกหัดเพื่อจะเอามาใช้เป็นหลักปฏิบัติ ขัดเกลาใจของเราให้สะอาดขึ้น ถ้ารับแล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่ใช่การรับศีล เพราะการรับศีล การให้สัญญากับพระสงฆ์ ผู้ให้ศีลว่า เราจะงดเว้นอย่านั่น อย่างนี้ ถ้ารักษาไม่ได้ แสดงว่า ราผิดสัญญา จิตโลเลไม่มีความหนักแน่น
การรักษาศีลนั้น เราต้องรับเอาข้อปฏิบัตินั้นมาไว้ที่ใจ การรักษาศีลนั้นคือการรักษาใจ ในคำบาลีท่านบอกว่า เจตะนาหัง ภิกขะเว สีวัง วันทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคำตั้งใจว่าเป็นศีล ตราบใดเรายังตั้งใจรักษาอยู่ ก็เรียกว่า เรายังมีศีลอยู่ตลอดไป ถ้าเราไม่ตั้งใจรักษา มันก็ขาดไปเอง...
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี