วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รำลึกวิทยานิพนธ์'ว.วชิรเมธี' วิสัชนา'ธรรมกาย'วินัยวิปริต!!

รำลึกวิทยานิพนธ์'ว.วชิรเมธี' วิสัชนา'ธรรมกาย'วินัยวิปริต!!

วันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558, 14.50 น.
Tag :
  •  

4 ก.พ.58 ปฎิเสธไม่ได้ว่า กระแสต่อต้านวัดพระธรรมกายมีหนาหูอย่างต่อเนื่อง หลังจากทางธรรมกาย ได้จัดโครงการ ''ธุดงค์ธรรมชัย' เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 4 "ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก" ตั้งแต่วันที่ 2-31 ม.ค.58 ที่กระแสสังคม รวมทั้งโลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ว่า ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และเห็นว่า เป็นการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่า ปฎิบัติตามหลักของพุทธศาสนาที่ยึดถือมายาวนานกว่า 2,500 ปี

แม้ตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมา วัดพระธรรมได้ถูกโจมตีอย่างหนัก ตั้งแต่รูปแบบสถาปัตยกรรมของวัด ที่ไม่คุ้นชินกับพุทธศาสนิกชน รวมทั้งตั้งข้อสังเกตในพฤติการณ์ของคณะสงฆ์ ตั้งแต่เจ้าอาวาส แม่ชีผู้ล่วงลับชื่อดัง หรือแม้แต่กระทั่งการเผยแพร่(แผ่) คำสอนที่ผิดเพื้ยนไปจากหลักพุทธศาสนา แต่ธรรมกาย ก็ยังอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้

ที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายที่พยายามเปิดโปง แฉ ขุดคุ้ย พฤติการณ์อันน่าสงสัยของธรรมกาย ออกสู่สาธารณะนั้น ล้วนแล้วแต่มีข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งสังคมต่างจดจ้อง มองถึงบทสรุป ของวัดดัง

ทั้งนี้ แนวหน้าออนไลน์ ขอนำวิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง) หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี กับ บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย (๒๕๔๖)

ซึ่งผลงานชิ้นนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้ชี้ให้เห็นว่า พระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) มองวัดธรรมกาย ทำให้พระธรรมวินัยวิปริต และการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย การชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า 'บุญ' มีฐานะเป็นดุจสินค้า คือเมื่อทำบุญมาก จะได้บุญ และอานิสงส์ของบุญจะมากขึ้น ฯลฯ


บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย (๒๕๔๖)

ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  นายสนิท ศรีสำแดง
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ เมษายน ๒๕๔๖

บทคัดย่อ
     งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาบทบาทของท่านเฉพาะกรณีธรรมกายอย่างเป็นด้านหลักและศึกษากรณีอื่นๆ เช่น กรณีสันติอโศก เป็นต้น ประกอบบ้างตามสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของแนวคิด บทบาท รวมทั้งแรงจูงใจที่เป็นเหตุปัจจัยให้ท่านมีแนวคิดและดำเนินบทบาทในการทำงานรักษาพระธรรมวินัยในแต่ละครั้ง

ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท ในแต่ละบทมุ่งศึกษาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

บทที่ ๑ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
บทที่ ๒ กล่าวถึงแนวคิดและบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล
บทที่ ๓ กล่าวถึงบทบาทของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในการรักษาพระธรรมวินัยกรณีธรรมกาย
บทที่ ๔ กล่าวถึงปัญหากรณีธรรมกายส่วนที่กระทบต่อพระธรรมวินัยสถาบันสงฆ์ และสังคมไทย
บทที่ ๕ กล่าวถึงข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยและข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) เฉพาะกรณีธรรมกายเป็นหลักและกรณีอื่นๆ มีกรณีสันติอโศก เป็นต้น เป็นองค์ประกอบทำวิจัยได้ข้อค้นพบที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
๑. กรณีธรรมกายหมายถึงชื่อเรียกโดยรวมเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ที่สำนักวัดธรรมกายเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น พฤติการณ์ทั้งหมดที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้นนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีสองลักษณะเท่านั้น คือ การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต และการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย

๒. การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิกฎ

การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตนหรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่อง นิพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่าบุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่งและเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างปาฎิหาริย์

๓. การประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยเฉพาะประเด็นหลักได้แก่การพยายามนำเอาลัทธิทุนนิยมที่มีความโดดเด่นอยู่ที่ระบบการตลาดเข้ามาผสมผสานกับการบริหารจัดการวัด การจัดตั้งองค์กร รวมทั้งการระดมทุนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคล องค์กรทางธุรกิจ การเมือง และการศาสนา ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้ส่งผลให้สำนักวัดพระธรรมกายกลายเป็นสำนักที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในทางวัตถุ ทุนทรัพย์ และในทางเกียรติคุณชื่อเสียง แต่วิธีเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ที่สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทที่เน้นความเรียบง่ายความเป็นธรรมชาติชนิดที่ปราศจาการจัดตั้งหรือการจัดการ และไม่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยม (รวมทั้งวัตถุนิยม) อย่างสิ้นเชิง

๔. พฤติการณ์อันสืบเนื่องมาขากสำนักวัดพระธรรมกายทั้งหมดนั้น เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานชนิดที่ว่า ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไปและสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้

๕. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เห็นว่า การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตก็ดี การประพฤติให้วิปริตจากพระธรรมวินัยก็ดี ล้วนไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนา ต่อสถาบันสงฆ์ และต่อสังคมไทย ท่านจึงได้อุทิศตนเองออกมาทำหน้าที่ในการรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ด้วยการชี้แจงแสดงหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนาผ่านหนังสือชื่อ "กรณีธรรมกาย" และผ่านการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ

๖. สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) สามารถดำเนินบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของฝ่ายเป็นเพราะท่านเจริญรอยตามพุทธจริยา และปฏิปทาของบุรพาจารย์ทั้งหลายแต่ปางก่อน และเพราะท่านประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญก็คือ การมีจิตสำนึกแห่งความเป็นชาวพุทธ การถือธรรมและถือประโยชน์สุขของมหาชนเป็นใหญ่ การเป็นภิกษุผู้เปี่ยมด้วยกตัญญุตาธรรมต่อพระพุทธศาสนา และการมีคุณสมบัติของชาวพุทธชั้นนำตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้อย่างครบถ้วน

๗. ในกรณีธรรมกายที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ทำบทบาทที่สำคัญสองประการด้วยกัน บทบาทประการที่หนึ่งก็คือ การทำหน้าที่รักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เหมือนเดิม และบทบาทแรกการที่สองก็คือ การได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างของชาวพุทธชั้นนำผู้มีศักยภาพพร้อมเต็มที่ที่จะทำหน้าที่รักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัยให้ยังยืนสืบต่อไปในอนาคตตราบนานเท่านาน บทบาททั้งสองประการนี้ นอกจากจะช่วยให้กรณีธรรมกายคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีแล้วยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการรักษา

พระธรรมวินัยแก่ชาวพุทธร่วมสมัยและแก่อนุชนในภายหลังได้อย่างมีนัยสำคัญไม่น้อยไปกว่าที่บุรพาจารย์ทั้งหลายได้เคยทำเอาไว้ในอดีตอีกด้วย 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'วัชระ\'ร้องรมช.มหาดไทย จี้เร่งพิจารณาสัญชาติไทยให้\'บัณฑิตสาว\'ไร้สัญชาติ 'วัชระ'ร้องรมช.มหาดไทย จี้เร่งพิจารณาสัญชาติไทยให้'บัณฑิตสาว'ไร้สัญชาติ
  • บึงกาฬเปิดเเข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน PEA – DOMESTIC POWER ครั้งที่ 21 บึงกาฬเปิดเเข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน PEA – DOMESTIC POWER ครั้งที่ 21
  • ‘สพฐ.’จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน ติดร่างแหถูกชี้มูลร่วมลงชื่อเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน ‘สพฐ.’จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน ติดร่างแหถูกชี้มูลร่วมลงชื่อเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน
  • คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้ คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้
  • หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ \'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์\' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
  • ไทยจัด \'ASC 2025\' สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน22ชาติ ไทยจัด 'ASC 2025' สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน22ชาติ
  •  

Breaking News

‘ดร.เฉลิมชัย’ปิดหลักสูตร‘ปธส.12’ สร้างผู้นำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด

เสียงปริ่มน้ำ‘วิสุทธิ์’เตือนแรงถึง‘สส.-รมต.’ต้องรับผิดชอบงานสภา ไม่เช่นนั้นไปไม่รอด

‘ศุภชัย’สอนมวย‘เพื่อไทย’ปม‘กัญชา’ ต้องคุ้มครองชาวบ้านให้ได้ปลูก อย่าเอาใจแต่‘นายทุนใหญ่’

ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved