วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : ไปรษณีย์ไทยสนับสนุนวิถีชีวิตชุมชน จัดโครงการ‘ไปรษณีย์เพิ่มสุข วิถีชุมชน คนตีมีดอรัญญิก’

สกู๊ปพิเศษ : ไปรษณีย์ไทยสนับสนุนวิถีชีวิตชุมชน จัดโครงการ‘ไปรษณีย์เพิ่มสุข วิถีชุมชน คนตีมีดอรัญญิก’

วันพฤหัสบดี ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : ไปรษณีย์เพิ่มสุข วิถีชุมชน คนตีมีดอรัญญิก ไปรษณีย์ไทย
  •  

มีดอรัญญิกนับเป็นสินค้าโอท็อปขึ้นชื่อมาตั้งแต่โบราณกาลผู้คนจะทราบถึงคุณภาพความแข็งแกร่งของเหล็กกล้า ที่คมกริบ สามารถฟาดฟัดสิ่งของแค่ครั้งเดียวก็ขาดสะบั้นลงภายในพริบตา ชุมชนบ้านต้นโพธิ์ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ผลิต “มีดอรัญญิก” เป็นชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ใน ต.ท่าช้าง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพื้นเพแต่เดิมนั้นเป็นชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่อพยพเข้ามาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกลุ่มที่อพยพมานี้มีอาชีพหลักเป็นช่างทอง และช่างเหล็กซึ่งถือว่ามีฝีมือเป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีมีดที่ใครต่างก็รู้จักกันในชื่อ “มีดอรัญญิก” แต่เดิมนั้นผู้คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่ามีดอรัญญิกนั้นเป็นของดี บ้านอรัญญิก ต.ปากท่า อ.ท่าเรือ แต่จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์พบว่า แท้จริงแล้ว อรัญญิกเป็นเมืองท่าสำคัญทำให้พ่อค้า แม่ค้าในยุคสมัยนั้นต่างเอาสินค้าไปวางขาย แน่นอนว่ามีดที่ตีขึ้นจากชุมชนบ้านต้นโพธิ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น คุณภาพของมีดที่ทั้งคมและทนทานก็ทำให้เกิดการยอมรับและพูดถึงกันแบบปากต่อปาก

จนทำให้ถูกขนานนามมีดชั้นดีที่วางขายนี้ว่า “มีดอรัญญิก” จากจุดกำเนิดของภูมิปัญญาโบราณกว่าสองร้อยปี ปัจจุบันมีดอรัญญิกก็ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการตีมีดไปตามยุคสมัยมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้ปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มแกนนำชุมชนและชุมชนก็ยังคงต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ


บริษัท ไปรษณีย์ไทย ซึ่งอยู่คู่กับคนมานานแสนนานเช่นกันจึงเล็งเห็นคุณค่าของมีดอรัญญิกเช่นเดียวกับคุณค่าไปรษณีย์ไทยจึงได้จัดโครงการสนับสนุนชุมชน ภายใต้โครงการ “ไปรษณีย์เพิ่มสุขวิถีชุมชน คนตีมีดอรัญญิก”ที่บริเวณศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมีดอรัญญิกบ้านต้นโพธิ์ ใกล้วัดสีจำปา หมู่ 6 ต.ท่าช้าง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ขึ้น

โดยนายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พระนครศรีอยุธยา พลเอกสาธิตพิธรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด นางสมร เทิดธรรมพิบูลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด นางสมทรงพันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา นายไพรัตน์ เพชรยวน นายอำเภอนครหลวง ร่วมกันเปิดโครงการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขึ้น พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานบริษัท หัวหน้าส่วนราชการ นักเรียน แขกผู้มีเกียรติ จำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาโบราณเกี่ยวกับวิถีชีวิตการตีมีด ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยามิให้สูญหายสืบทอดสู่ลูกหลานเยาวชนในชุมชนต่อไป

พลเอกสาธิต พิธรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด กล่าวว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มุ่งเน้นการดำเนินงานด้าน CSR สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม พร้อมตอกย้ำวิสัยทัศน์ด้าน CSR ของ ปณท ที่จะ “เป็นผู้นำในการเชื่อมโยงสังคมไทยด้วยเครือข่ายไปรษณีย์และทรัพยากรที่มี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” ได้กำหนดแผนการ ปี 2559-2563 (Roadmap 5 ปี) 2 ด้าน คือ ด้านโลจิสติกส์ และด้านตราไปรษณียากร 1.ด้านโลจิสติกส์ ภายใต้โครงการไปรษณีย์เพิ่มสุข แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1.การสนับสนุนชุมชนที่สำคัญของ ปณท อย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการขนส่งผลิตภัณฑ์ของชุมชนฯ ไปสู่ผู้บริโภค 2.การขนส่งผลิตผลทางการเกษตร 4 ภาค โดย ปณท ใช้ศักยภาพการขนส่งมาช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีช่องทางการกระจายผลิตผลและไม่ถูกกดขี่ราคาจากพ่อค้าคนกลาง ในช่วงผลิตผลล้นตลาดสู่มือผู้บริโภค โดยให้ฝ่ายต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานภายในองค์กร รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดหาผลิตผลช่องทาง/สถานที่จำหน่าย และประชาสัมพันธ์โครงการเชิญชวนประชาชนมาซื้อผลิตผลที่จะนำมาจำหน่าย

2.ด้านตราไปรษณียากร คือ การดำเนินงานผ่านโครงการตะลุยโลกแสตมป์ โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งมีรูปแบบ คือ นำเยาวชนด้อยโอกาส เยาวชนทั่วไป ครอบครัวไปรษณีย์ เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แสตมป์อันทรงคุณค่ามาเป็นสื่อในการสร้างความรอบรู้เปิดโลกกว้างแก่เยาวชน ณ สถานที่ต่างๆ ที่ปรากฏบนดวงแสตมป์ และภายในปี 2562 มีแนวทางการพัฒนา/ปรับปรุงรูปแบบพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดยต่อยอดพัฒนาให้เป็นจุดLandmark ที่คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ท้องถิ่น คัดเลือก/จัดหมวดหมู่ตราไปรษณียากรที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนั้นๆ ให้สะท้อนถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ รวมทั้งอบรม/ศึกษาดูงานให้แก่ภัณฑารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลให้มีความชำนาญ

ไปรษณีย์ไทย เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับสังคมไทยมายาวนาน เล็งเห็นถึงความสำคัญในการตอบแทนสังคมไทย ด้วยการใช้ศักยภาพเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์กว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ และทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมเชื่อมโยงและส่งต่อความสุขให้แก่สังคมไทย โดยสร้างสรรค์โครงการ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” เพื่อดำเนินงานสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ใช้ความรู้ ความชำนาญและจุดแข็งที่มีสนับสนุนชุมชนต่างๆ มีการบูรณาการการทำงาน ปณท ใช้แนวคิดการพัฒนากลุ่มชุมชนใน 3 หลัก คือ

1.พัฒนาทัศนคติ คือ การพัฒนาให้ชุมชนยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่รอพึ่งพาภายนอก โดยเน้นกระบวนการ พูดคุยหาทางออกในการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมกับศักยภาพที่ชุมชนดำเนินการได้เอง ปณท จะไม่คิดให้ ทำให้ แต่ ปณท จะกระตุ้นให้กลุ่มคิดและทำด้วยตนเอง เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมาจากความต้องการของชุมชน และสอดรับกับสังคมนั้นๆ จึงจะยั่งยืน 2.พัฒนาความรู้ คือ การเข้าไปหนุนเสริมความรู้ที่จำเป็นต่อกลุ่ม ในด้านที่ ปณท มีความชำนาญ หากความรู้ด้านที่ ปณท ไม่ชำนาญ ก็จะเชื่อมโยงประสานให้ เพื่อให้กลุ่มทำงานบนฐานการใช้ความรู้สู่การพัฒนา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว 3.พัฒนาการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ คือ การพาคิด พาทำงาน โดยใช้แผนงานกำกับ มีการประเมินติดตามผลเป็นระยะเพื่อปรับปรุงการทำงาน และใช้ระบบกลุ่มในการทำงานตัดสินใจไม่ใช่การทำงานเพียงคนใดคนหนึ่ง

และด้วยความร่วมมือระหว่างที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และไปรษณีย์เขต 1 ร่วมมือกับชุมชนและโรงเรียนโดยรอบในการอบรมมัคคุเทศก์น้อยเพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนแบบครบวงจรในอีกด้านหนึ่งโครงการ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนไม่ว่าจะเป็นมีดแล่เนื้อ เคียวเกี่ยวข้าว หรือสินค้าที่ระลึกต่างๆ ด้วยการนำเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของไปรษณีย์ไทยเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและการรับรู้พร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และให้ความรู้ในด้านการหีบห่อเพื่อจัดส่งผ่านระบบไปรษณีย์ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดรายได้มากขึ้นแก่ชุมชนสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่สนใจยึดเป็นอาชีพและได้สืบทอดภูมิปัญญาและพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน และได้วางเป้าหมายร่วมกันกับอำเภอนครหลวงว่าในอนาคตจะเปิดตัวตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ของชุมชนต่อไป ภายใต้แนวคิด “ไปรษณีย์ไทย เครือข่ายชีวิต และเศรษฐกิจไทย”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘น้าแอ๊ด’ปล่อยเพลง ประกาศลั่นอย่าทะลึ่งผุด‘กาสิโน-พนันออนไลน์’นะโว้ย...ไอ้เห้!

เปิดสัญญาจีทูจี! ‘หมอวรงค์’เบิกเนตร‘ยิ่งลักษณ์กับปชช.’ ใครกันแน่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

สธ.เฝ้าระวังหลังพบ‘สารหนู’ปนเปื้อน‘น้ำผิวดิน’แม่น้ำกก-แม่น้ำสาย-แม่น้ำโขง

เปิด 5 อันดับ ‘จังหวัดใต้’โกยรายได้มากสุดช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved