วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
คนไทยตายเพราะ'เชื้อดื้อยา'ปีละ2หมื่น เหตุ'ซื้อกินเอง-ใช้ผิดประเภท'

คนไทยตายเพราะ'เชื้อดื้อยา'ปีละ2หมื่น เหตุ'ซื้อกินเอง-ใช้ผิดประเภท'

วันศุกร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559, 20.42 น.
Tag : เชื้อดื้อยา ดื้อยา กินยาผิดประเภท
  •  

18 พ.ย. 2559 ที่งาน “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ.2559” ณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซ.งามดูพลี ย่านทุ่งมหาเมฆ กทม. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่นำไปสู่ภาวะเชื้อดื้อยา สำรวจกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น 444 คน

พบว่า 1.ร้อยละ 59 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินตามที่ผู้อื่นแนะนำ 2.ร้อยละ 69 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยหยุดยาต้านแบคทีเรียเมื่อเริ่มรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว 3.ร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินเอง ซึ่งเป็นยาตัวเดียวกับที่แพทย์เคยจ่ายให้ในครั้งก่อนๆ 4.ร้อยละ 71 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยอมยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย 5.ร้อยละ 59 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยเปลี่ยนไปซื้อยาต้านแบคทีเรียตัวอื่นที่แรงกว่ากิน เมื่อเห็นว่ายาต้านแบคทีเรียที่กินอยู่ไม่ทำให้หายอย่างทันใจ
6.ร้อยละ 53 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยแกะแคปซูลยาต้านแบคทีเรีย เพื่อเอาตัวยาไปโรยแผล 7.ร้อยละ 52 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยนำยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารให้สัตว์กิน เพราะเชื่อว่าจะป้องกันไม่ให้สัตว์เจ็บป่วย 8.ร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยใช้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา 9.ร้อยละ 71 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยไปซื้อ “ยาแก้อักเสบ” กินเอง และ 10.ร้อยละ 63 ไม่ได้แนะนำผู้ที่ใช้ยาต้านแบคทีเรียแบบผิดๆ ให้ใช้อย่างถูกต้อง


ภญ.นิยดา ระบุว่า เชื้อแบคทีเรีย Acinetobacter baumannii หรือ A-Bomb ซึ่งพบมากในโรงพยาบาล เป็นเชื้อดื้อยาที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะพบอัตราการดื้อยาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหากเชื้อดังกล่าวที่มีคุณสมบัติดื้อยาเข้าไปในระบบเลือดของผู้เข้ารับการผ่าตัด อาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ นอกจากนี้ยังมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม อันเป็นอีกโรคที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ทั้งนี้ยาปฏิชีวนะ หากรับในปริมาณน้อย นอกจากจะไม่ทำให้เชื้อตายแล้ว ยังไปทำให้วิวัฒนาการเป็นเชื้อที่ไม่กลัวยาปฏิชีวนะตัวเดิมอีกต่อไปด้วย

"ปัญหาเชื้อดื้อยาในไทยนั้นเข้าขั้นวิกฤติ ปัจจุบันพบว่ามีคนไทยเสียชีวิตเพราะภาวะดื้อยา เฉลี่ย 20,000 คนต่อปี โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียอย่างไม่ถูกวิธี ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข ในปี 2593 จะมีประชากรโลกกว่า 10 ล้านคนที่เสียชีวิตจากภาวะเชื้อดื้อยา ตัวเลข 20,000 คนต่อปี มันใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป เมื่อเทียบจำนวนประชากร ของเรา 70 ล้านคน ประชากรเขามากกว่าเราตั้ง 5 เท่า ฉะนั้นความเสี่ยงของเราจึงมากกว่าเขาเยอะ"ภญ.นิยดา กล่าว

ขณะที่ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) กล่าวถึงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2555 ที่พบว่า โรงพยาบาลของรัฐ มีการจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วย เฉลี่ยแล้วร้อยละ 56 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยพบโรงพยาบาลที่จ่ายยาปฏิชีวนะสูงสุดคือร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวเลขสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น เชื่อว่าถ้าสำรวจไปยังของเอกชนด้วย น่าจะสูงกว่านี้ ทั้งที่เกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ไม่ควรจ่ายยาปฏิชีวนะเกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยทั้งหมด

ด้าน รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เสนอแนะต่อรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข 5 ข้อ เพื่อหยุดยั้งปัญหาเชื้อดื้อยา คือ 1.เพิกถอนทะเบียนยาที่ไม่เหมาะสม 2.ยกเลิกการอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ สบู่ ยาสระผม เจลล้างมือ ผสมตัวยาปฏิชีวนะ ซึ่งปัจจุบันมีตัวยา 18 ชนิด ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ประกาศห้ามนำมาผสมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในสหรัฐฯ แล้ว

3.ควบคุมปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ เนื่องจากเคยสุ่มตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ แม้จะปรุงสุกแล้วก็ตาม 4.เข้มงวดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร เพราะที่ผ่านมาพบการปนเปื้อนเชื้อที่ดื้อยาในน้ำเสียจากกิจการปศุสัตว์ และ 5.ภาครัฐควรให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

“ระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งของบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งของ กทม. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงที่ทิ้งขยะ เราเคยไปสำรวจพบว่ามีเชื้อดื้อยา เช่นจุดทิ้งขยะแล้วฝังกลบ เราเก็บตัวอย่างน้ำที่ไหลออกมาจากขยะ ก็พบว่ามีเชื้อเยอะแยะเลย จึงอยากให้มองให้ครอบคลุม เพราะสาเหตุของเชื้อมันมาได้จากหลายที่” ปธ.มพบ. กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • FAO จัดงาน World AMR Awareness Week Food Fair 2024 รวมพลังลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ FAO จัดงาน World AMR Awareness Week Food Fair 2024 รวมพลังลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
  •  

Breaking News

อย่าเปิดประตูง่ายๆ! 'อดีตบิ๊กข่าวกรอง'หวั่นเจรจาภาษีสหรัฐฯ ทำเกษตรกรไทย'หลังหัก'

ตม.สมุทรสาครรวบหนุ่มชาวจีนปลอมแปลงเอกสารราชการตบตาเจ้าหน้าที่

โบกมือลาเมืองไทย! 'โตโน่'โกอินเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตยุโรปนาน2เดือน ทำแฟนเพลงใจหาย

อย่ายอมการเมืองทุนนิยม! 'สนธิรัตน์'ห่วง'กระแส-กระสุน'ครอบงำการเมืองไทย จี้สร้างจิตสำนึกใหม่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved