มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดนิทรรศการ “Collaborative relationship (Beyond) : Art Won’t Be Ordinary” ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ในวันและเวลาราชการ ณ หอศิลป์ฯ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยตั้งเป้าจัดแสดงเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดเท่านั้น ไม่จัดแสดงในกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับ นักเรียน นักศึกษาในท้องถิ่นได้มองเห็นจุดยืนของการทำงาน โดยไม่ต้องดิ้นรนเข้าสู่เมืองหลวงศูนย์กลางของประเทศ นิทรรศการดังกล่าวจะเป็นการแสดงผลงานของอาจารย์นิธิศ วนิชบูรณ์ อาจารย์สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ อาจารย์อารยารวมสำราญ
อาจารย์นิธิศ วนิชบูรณ์อาจารย์สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เล่าถึงผลงานในชุด Untitledของตนว่า คือการถ่ายทอดเรื่องราวของเศษเครื่องถ้วยเวียงกาหลงที่ถูกค้นพบในกว๊านพะเยาอันเนื่องมาจากสภาวะภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปีเปรียบเสมือนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนในภูมิภาคนี้ แต่กลับไม่มีการพูดถึงในสังคมระดับกว้าง โดยทั้งตัวผลงานและรูปแบบการจัดแสดงจะบอกเล่าเรื่องราวความสำคัญของสังคมกระแสหลักในเมืองหลวง แสดงให้เห็นว่างานจิตรกรรมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ ตอบสนองต่อกลุ่มคนเล็กๆ ในเมืองหลวง เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษาศิลปะ กลุ่มคนชั้นสูง หรือกลุ่มคนมีกำลังในการซื้อชิ้นงาน เท่านั้น ตั้งแต่การนำเสนอผ่านกรอบรูปขนาดใหญ่ โซฟาสำหรับนั่งดูผลงาน และกรอบเส้นแดงระบุข้อความห้ามเข้า เพราะสิ่งใดก็ตามที่มีความสำคัญ มักจะถูกห้ามเข้าใกล้ ห้ามสัมผัส แตะต้อง
สำหรับผลงานของ อาจารย์อารยา รวมสำราญ ในชุด Peacockแสดงถึง โคมไฟรูปนกยูงที่ถักทอจากวัสดุธรรมชาติที่ระย้าห้อยลงมาจากเพดาน ชวนสะดุดตายิ่งนัก ซึ่งเป็นผลงานกึ่งทดลอง เพราะที่ผ่านมาผลงานนี้จะถูกสอนนักศึกษาตามระบบส่วนกลางที่ร่ำเรียนมาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จนมาเริ่มตั้งคำถามว่าสิ่งที่สอนนำไปใช้ได้จริงหรือในเมื่อพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไม่มีโรงงานผลิตที่เป็นระบบอุตสาหกรรมเลยในที่สุดแล้วนิสิตเหล่านี้ต้องถูกป้อนเข้าส่วนกลาง ทิ้งบ้านของตัวเอง จึงกลับมาคิดว่าจุดยืนของเราควรจะทวนกระแสหลักหรือเปล่า จนเกิดเป็นผลงานกึ่งทดลองชิ้นนี้ โดยมีความเชื่อมั่นว่า ควรจะแข็งแกร่งในจุดที่เรายืน จากเดิมไม่เป็นงานหัตถกรรมเลย ก็เริ่มลงชุมชนพร้อมนิสิต เข้าหาชาวบ้าน ทำให้ค้นพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยามีจุดแข็งคือ มีทักษะที่แตกต่างคือ เป็นคนละเอียด และมีพื้นฐานการจักสานติดตัวมาตั้งแต่เด็ก เราจึงนำจุดแข็งนี้มาปรับใช้ในการเรียนการสอน
อาจารย์อารยา รวมสำราญ กล่าวถึงแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ผลงานของตนว่า เกิดจากการสังเกตเห็นวัดในภาคเหนือจะมีนกยูงอยู่บนยอดอุโบสถ เมื่อได้ศึกษาพบว่า เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนไทใหญ่เมื่อไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใด โดยบ่งบอกว่าเป็นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสุข ความโชคดี วัสดุที่ใช้หาได้ในท้องถิ่น ทั้งผักตบชวาจากกว๊านพะเยา ไม้ไผ่ หวายจากขาวบ้าน หรือแม้แต่ด้ายชิ้นเล็กๆ ล้วนมาจากการย้อมสีธรรมชาติทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีผลงานศิลปะหลากรูปแบบ แนวคิด ที่วิพากษ์วิจารณ์ตั้งคำถาม ชวนให้ย้อนมามองและตระหนักในอัตลักษณ์แห่งตัวตน เช่นผลงานปักไหมบนผ้าพิมพ์ลาย, ภาพถ่ายชุดBeer และยาผงแดง: ผู้คนในประวัติศาสตร์(Modern) ล้านนา, ผลงานจดๆ จ้องๆ โดยการขึ้นรูปด้วยมือ ที่บอกให้รู้ว่า การเลือกทำสิ่งหนึ่ง อาจทำให้สูญเสียอีกสิ่งหนึ่ง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี