‘วาตภัย’ถล่ม24จว.อ่วม ปภ.ประสานพื้นที่เสี่ยงรับมือ‘พายุฤดูร้อน’17-18เมษาฯ
17 เม.ย.61 นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13-17 เม.ย.61 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 24 จังหวัด 65 อำเภอ 110 ตำบล 251 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,503 หลัง ผู้เสียชีวิต 2 ราย แยกเป็น
# ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่
+ กำแพงเพชร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี อำเภอปางศิลาทอง และอำเภอไทรงามรวม 11 ตำบล 43 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 352 หลัง
+ เพชรบูรณ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี รวม 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 33 หลัง
+ เชียงใหม่ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอ แม่ริม รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 7 หลัง
+ แพร่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสอง และอำเภอร้องกวาง รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10 หลัง
+ นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอไพศาลี และอำเภอหนองบัว บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 35 หลัง
+ ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภองาว รวม 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 15 หลัง
+ พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงเจริญ และอำเภอบึงนาราง รวม 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 60 หลัง
+ น่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา และอำเภอนาหมื่นรวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง
# ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่
+ เลย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง
+ นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมาย อำเภอปากช่อง รวม 23 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง
+ ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภออาจสามารถ อำเภอเมืองสรวง อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 116 หลัง
+ ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอแวงน้อย และอำเภอเขาสวนกลาง รวม 8 ตำบล 24 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 137 หลัง
+ มหาสารคาม เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอพยัฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ รวม 8 ตำบล 17 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 98 หลัง
+ กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอกมลาไสย รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 81 หลัง
+ หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง
+ อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น ตำบลขี้เหล็ก 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 27 หลัง
+ สุรินทร์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอจอมพระ และอำเภอปราสาท รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 69 หลัง
+ ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจัตุรัส และอำเภอบ้านเขว้า รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง
+ บุรีรัมย์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยราช อำเภอสตึก อำเภอนางรอง และอำเภอคูเมือง รวม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 13 หลัง
+ อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอหนองหาน ตำบลหนองไผ่ รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 5 หลัง
+ หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 5 หลัง
+ ศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอวังหิน รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง
# ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวังม่วง ตำบลวังม่วง รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 17-18 เม.ย.61 จะเกิดพายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย
อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี