วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รักษ์เกษตร : เห็ดโคนน้อย มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

รักษ์เกษตร : เห็ดโคนน้อย มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

วันอังคาร ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : รักษ์เกษตร เห็ดโคนน้อย
  •  

คำถาม เห็ดโคนน้อย มีวิธีเพาะเลี้ยงอย่างไรบ้างครับ ขอทราบวิธีง่ายๆ ที่ไม่ยุ่งยากนะครับ

แสงจันทร์ ส่วนสาคร


อ.แสวงหา จ.อ่างทอง

คำตอบ

เห็ดโคนน้อย หรือ “เห็ดถั่ว” ลักษณะรูปร่างคล้ายเห็ดโคน ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกใหญ่ขึ้น มีความแตกต่างกันก็ตรงที่หมวกของเห็ดโคนน้อยมีเกล็ดสีเทา เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ยาวไม่เกิน 3 นิ้ว ใช้เวลาเจริญนับจากดอกตูมจนถึงบานเต็มที่เพียง 1 วันเท่านั้น เห็ดโคนน้อยที่พบตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีดอกเล็ก คุณประโยชน์ของเห็ดโคนน้อยมีมากมาย อีกทั้งมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารมากกว่าเห็ดฟาง ลักษณะพิเศษสุดก็คือ เห็ดโคนน้อยมีสารยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย

การเพาะเลี้ยงเห็ดโคนน้อย เห็ดโคนน้อยให้ผลผลิตเร็ว หลังจากเพาะเลี้ยงไม่เกิน 7 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ที่สำคัญ มีต้นทุนในการผลิตต่ำมาก ผู้ที่มีเงินทุนน้อยก็สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดโคนน้อยได้ไม่ยากเลย มีวิธีการเพาะเลี้ยงอยู่หลายวิธี เช่น เพาะเลี้ยงในกองฟาง เพาะเลี้ยงในตะกร้า และเพาะเลี้ยงในถุงพลาสติก

วัสดุที่ใช้เพาะเลี้ยงเห็ดโคนน้อย ได้แก่ 1.วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อย ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นข้าวโพด ทะลายปาล์ม หญ้าขจรจบ ฯลฯ สามารถเลือกใช้วัสดุเพาะชนิดใดก็ได้ตามสะดวก 2.ปุ๋ย เห็ดโคนน้อยจะใช้ปุ๋ยน้ำใช้ต้มวัสดุเพาะเห็ด 3.พลาสติกสีดำ ใช้คลุมกองฟางเวลาบ่มเชื้อ 4.กระสอบป่าน ใช้คลุมฟ่อนฟาง เมื่อเห็ดให้ดอก 5.เชื้อเห็ดโคนน้อย ที่มีขายทั่วไปจะใช้เชื้อเห็ดโคนน้อยที่เพาะในเมล็ดข้าวฟ่าง 6.เชือก มัดฟาง หรือลวด 8.หม้อต้มฟาง โดยอาจใช้ถัง 200 ลิตร ตัดผ่าครึ่ง

ขั้นตอนการเพาะเห็ด มี 6 ขั้นตอน ดังนี้่

1.การเตรียมฟาง หรือวัสดุเพาะประเภทอื่นๆ ที่ใช้แทนฟาง เลือกวัสดุตามความสะดวกของสภาพท้องถิ่น ถ้าใช้ฟางข้าว ควรมัดเป็นฟ่อน ฟ่อนละ 20 กิโลกรัม เวลาจะนำฟ่อนฟางไปต้มต้องแบ่งออกเป็นฟ่อนเล็กๆ ฟ่อนละ 4 กิโลกรัม ใช้เชือกมัดให้แน่น ก่อนนำไปต้ม หรืออาจจะต้มฟางก่อนแล้วค่อยมัดก็ได้

2.ขั้นตอนในการต้มฟางหรือวัสดุเพาะ อัตราส่วนปุ๋ยน้ำครึ่งขวดต่อน้ำ 100 ลิตร ต้มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที จากนั้นยกมาวางให้เย็นเพื่อเตรียมหยอดเชื้อ หรือให้ใช้น้ำปุ๋ยที่ต้มเดือด แล้วราดลงบนฟ่อนฟางโดยตรงก็ได้ แต่ควรมีพลาสติกกรองน้ำปุ๋ย เพื่อนำไปราดฟ่อนฟางต่อไปได้อีก เป็นการประหยัดต้นทุน

3.ขั้นตอนการหยอดเชื้อ นำเชื้อเห็ดมาขยี้เบาๆให้ร่วน นำมาคลุกกับแป้งข้าวเหนียวผสมรำละเอียด อัตราส่วน 1:1 แล้วทำการหยอดเชื้อ จะใช้ไม้แหลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว แทงเข้าไปในฟ่อนฟาง ลึกประมาณ 2 นิ้ว การหยอดเชื้อต้องไม่ถี่หรือห่างเกินไป ถ้าถี่มากจะสิ้นเปลือง ห่างมากเกินไปผลผลิตก็จะน้อยลง

4.ขั้นตอนการนำฟ่อนฟางเข้าโรงเรือนเพื่อให้ออกดอก นักวิชาการได้ให้แนวปฏิบัติไว้ดังนี้ ทำโรงเรือนมุงด้วยหญ้าแฝก ประมาณ 3 x 6 เมตร ภายในทำชั้นไม้สำหรับวางฟ่อนฟาง 2 เมตร ทำเป็น 3 ชั้น ให้ชั้นล่างสุดสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้ชายคาบ้าน เล้าหมู เล้าไก่ ที่เลิกใช้แล้ว พื้นของโรงเรือนจะต้องชุ่มชื้นอยู่เสมอ เห็ดโคนน้อยจะเริ่มออกดอกภายในวันที่ 5 จากนั้น อีกประมาณ 2 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดได้

5.ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเห็ดโคนน้อยเจริญเติบโตเร็วมาก ดอกของเห็ดโคนน้อยจะบานและโรยภายในวันเดียว การเก็บจึงควรเก็บเห็ดดอกตูมในตอนสาย และตอนบ่าย อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง การเก็บเกี่ยวต้องระมัดระวังไม่ให้เห็ดรุ่นเล็กกระทบกระเทือน เพราะอาจทำให้เห็ดช้ำไม่โต หรือเน่าเสียได้ง่าย ฟาง 1 ฟ่อน จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้นาน 20-30 วัน แต่จะให้ผลผลิตสม่ำเสมอไม่เกิน 20 วัน หลังจากนั้น ผลผลิตจะลดลง ฟาง 1 ก้อนเก็บเห็ดได้ประมาณ 4 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยวันละ 200 กรัม

6.ขั้นตอนการดูแลรักษา การเพาะเห็ดทุกชนิด จะมีปัญหาเรื่องตัวไร ควรใช้สารไล่แมลงที่สกัดจากพืช เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอม หรือใช้ต้นสาบแร้งสาบกา แขวนไว้ในโรงเรือน ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น เพราะทำให้เห็ดฝ่อ ไม่ออกดอก และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หลังเพาะเห็ดหมด 1 รุ่น ควรทำความสะอาดโรงเรือน โดยการโรยปูนขาวที่พื้น และรมควันเพื่อไล่แมลงศัตรูเห็ด

การเพาะเห็ดโคนน้อย เป็นอีกทางเลือก หรืออาชีพเสริมอีกประเภทหนึ่ง ที่เกษตรกรสามารถผลิตสำหรับบริโภคเอง หรือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี เพราะเห็ดโคนน้อยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นำไปปรุงอาหารได้หลายประเภท และที่สำคัญยังช่วยบำรุงร่างกายรักษาสุขภาพได้ด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘วันนอร์’ชี้ควรร้อง‘ประธานวุฒิสภา’ ชงศาลรธน.สั่ง‘สว.’หยุดปฏิบัติหน้าที่

สุดคึกคัก!! นักท่องเที่ยวแห่เที่ยวชมพันธุ์ไม้เมืองหนาวสองแห่งที่ระยอง

จับสาวบัญชีม้าให้แก๊งตุ๋นออนไลน์ใช้ลวงเหยื่อ

ตร.ท่องเที่ยวเจ๋ง! ‘วันเดียวจับ2คดี’ หนุ่มฝรั่งเศสเมาโชว์ปืน-สาวรัสเซียขายบุหรี่ไฟฟ้า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved