วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
จับตา....การพัฒนาลุ่มน้ำปราจีนบุรีสู่การแก้ปัญหาน้ำที่ยั่งยืน

จับตา....การพัฒนาลุ่มน้ำปราจีนบุรีสู่การแก้ปัญหาน้ำที่ยั่งยืน

วันพฤหัสบดี ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา แม้ในปริมาณฝนที่ ตกลงมาจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ จนทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งในเวลาต่อมาก็ตาม แต่ในบางพื้นที่ฝนกลับตกหนัก จนทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี


ลุ่มน้ำปราจีนบุรี เป็น 1 ใน 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งสิ้น 10,481ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว สภาพทั่วไปของลุ่มน้ำ จะมีทิวเขาสันกำแพง อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่ลุ่มน้ำ ตอนใต้มีเนินเขาเตี้ยๆ รวมทั้งยังมีพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ราบระหว่างแม่น้ำด้านตะวันตกของลุ่มน้ำอีกด้วย โดยมีแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายหลัก มีลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญ 4 ลุ่มน้ำ คือ

1.ลุ่มน้ำสาขาคลองพระสะทึง มีพื้นที่ประมาณ 1.65 ล้านไร่ มีคลองพระสะทึงเป็นแม่น้ำสายหลัก ต้นกำเนิดจากเทือกเขาทึงลึง เขาตะกวด และเขาตาพลาย ในเขตจังหวัดจันทบุรี ไหลผ่านเขตอำเภอวังน้ำเย็น เขตอำเภอเขาฉกรรจ์ และเขตอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ไหลมาบรรจบกับคลองพระปรง ที่บ้านท่าช้าง ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำปราจีนบุรี

2.ลุ่มน้ำสาขาคลองพระปรง มีพื้นที่ประมาณ 1.68 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเมือง และอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีคลองพระปรง เป็นแม่น้ำสายหลัก ต้นกำเนิดจากภูเขียว เขาห้วยชัน เขาขมิ้น เขาเขียว เขาอีด่างและเขาเทียน

3.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน มีพื้นที่ประมาณ 1.34 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีแม่น้ำหนุมาน เป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกำแพงเขาเกือกม้า ภูสามง่าม เขาว่าน และเขาใหญ่ ไหลผ่านเขตอำเภอนาดี มาบรรจบกับแม่น้ำพระปรง ที่บ้านตลาดใหม่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำปราจีนบุรี โดยมีลำน้ำย่อยที่สำคัญๆ ได้แก่ ห้วยใสน้อย ลำน้ำใสใหญ่ลำพระยาธาร และห้วยโสมง

4.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 1,36 ล้านไร่ ครอบคลุม พื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

ลุ่มน้ำสาขาทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำนครนายก ที่บริเวณเหนืออำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกง ไหลลงทางใต้ ผ่านที่ราบต่ำในเขตอำเภอบางคล้า และอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนที่จะไหลลงอ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนั้น หากมีภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัยเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี มักจะส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำบางปะกงทันที เนื่องจากมีพื้นที่ต่อเนื่องกัน

สำหรับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก และทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี อย่างเช่น ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา พื้นที่ลุ่มโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจได้รับความเสียหายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวกำลังจะบรรเทาลง เมื่อกรมชลประทานได้เข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ซึ่งมีโครงการที่สำคัญๆ กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ก็คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง

อ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สร้างกั้นห้วยโสมง ลำน้ำย่อยของแม่น้ำหนุมาน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ลำน้ำ ที่สำคัญของลุ่มน้ำปราจีนบุรี เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างได้ มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นกับอ่างเก็บน้ำแห่งนี้มากมาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ เกี่ยวกับโครงการห้วยโสมงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2521 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 เห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษา สำรวจ ออกแบบ แต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2548 อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการ กรมชลประทาน จึงได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่มรดกโลกเพิ่มเติม ซึ่งใช้ระยะเวลาพอสมควรก่อนที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552 ต่อมาใน วันที่ 27 ตุลาคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการโครงการได้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 8,500 ล้านบาท

ตามแผนที่วางไว้นั้นโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2561 ซึ่งจะใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานจำนวน 111,300 ไร่ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี และลุ่มน้ำสาขา ในเขตพื้นที่อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรและการประปา ช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำบางปะกง เป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้

อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง สามารถกักเก็บน้ำได้ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 ใช้งบในการก่อสร้างประมาณ 870 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สามารถขยายพื้นที่ชลประทานได้อีก 40,640 ไร่ ช่วยบรรเทา
น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี และยังจะใช้เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกอีกด้วย

ทั้งนี้ในปัจจุบันลุ่มน้ำปราจีนบุรี มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่ค่อนข้างใหญ่เพียงแห่งเดียว คือ อ่างเก็บน้ำคลองพระปรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างกั้นคลองพระปรง ที่ตำบลช่องกุ่มอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว สร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2544 สามารถกักเก็บน้ำได้ 97 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในฤดูฝนที่ผ่านมากักเก็บน้ำได้เต็มความจุ และสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายอ่างฯได้อย่างน่าพอใจ

การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ทำการศึกษาแผนการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงไว้ตั้งแต่ปี 2514 โดยระบุว่า หากต้องการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงทั้งลุ่มน้ำให้สมบูรณ์ แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็ม ได้อย่างสมบูรณ์ จะต้องมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน 8 แห่ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีถึง 6 แห่ง โดยขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองพระปรง กำลังก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง และอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอีก 3 แห่ง ที่ยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยไคร้ อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร และอ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่

แม้การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ยังไม่สามารถทำได้ทุกแห่งตามแผนที่ JICA เคยศึกษาไว้ก็ตาม แต่ก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาลุ่มน้ำปราจีนบุรีให้เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการอุตสาหกรรม ตลอดจนเพื่อการบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่ซ้ำซากได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น
  • ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง
  • \'ปอเทือง\'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน 'ปอเทือง'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน
  • \'พด.อุทัย\'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 \'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ\' 'พด.อุทัย'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ'
  • เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต
  • กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค
  •  

Breaking News

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ศรีสะเกษดัน 'ส้มโอบ้านตาด' เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดงานใหญ่ 14-16 พ.ค.

ประเดิมคนแรก! 'กกต.-ดีเอสไอ'แปะหมายหน้าประตูห้อง'สว.อลงกต'

ชาวนาบุรีรัมย์ถือฤกษ์ดี ‘วันพืชมงคล’ เริ่มไถนาเพาะปลูกข้าว-เชื่อผลผลิตเจริญงอกงามดี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved