เมื่อไม่กี่วันมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฤษฎา บุญราช บ่นอยู่ว่ามาตรการช่วยเหลือชาวสวนยาง โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานของรัฐ ไปไม่ถึงไหน มีเพียงกรมชลประทานเท่านั้น ที่ดำเนินการอยู่ ถึงกระนั้นก็ใช้ยางพาราไปเพียง 1,129 ตันเท่านั้น จากเป้าหมายโครงการสูงถึง 150,000 ตัน
เรื่องของเรื่องคือ เมื่อปี 2560 ครม. มีมติช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ หลายโครงการ ที่สำคัญคือ โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 80 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรกู้เพื่อเป็นค่าลงทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า วงเงิน 5 พันล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
โครงการที่เกี่ยวกับเงินกู้ทั้งหลาย ธ.ก.ส. รับไปดำเนินการ โดยรัฐบาลแบกรับภาระดอกเบี้ยในอัตรา 3% ที่เหลือ 0.5 - 1% ผู้กู้เป็นคนจ่าย
ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ตั้งท่าชงเรื่องเข้า ครม.ขอใช้งบประมาณกลางปี 2561 ช่วยเหลือชาวสวนยางเฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีพ ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยอ้างว่าเป็นการบรรเทาปัญหาราคายางตกต่ำ แต่ยังไม่เห็นรัฐบาลว่าอย่างไร และเงียบๆ ไป... คงคิดได้ว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถช่วยให้ราคายางกระเตื้องขึ้นมาได้
ส่วนโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ น่าจะเป็นโครงการที่ทำได้ง่ายที่สุด และสามารถทำให้ราคายางเป็นที่พอใจของเกษตรกรชาวสวนยางจริงๆ ไม่ใช่พ่อค้ายาง กลับไปไม่ถึงไหน
โครงการนี้ เปิดรับสมัครเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการ โดย กยท. จะรับซื้อยางจากชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. เพื่อขายให้กับหน่วยงานภาครัฐที่แจ้งปริมาณความต้องการใช้ยางในเบื้องต้น หน่วยงานที่ว่านี้ประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการตั้งแต่มกราคม - กันยายน 2561 โดยมีเป้าหมายการใช้ยาง 150,000 ตัน
รัฐมนตรีกฤษฎา แถลงว่า หน่วยงานต่างๆ รับมอบยางไปแล้วเพียง 1 พันตันเศษ ยังไม่ได้รับมอบอีกกว่า 4 หมื่นตัน รวมปริมาณยางในโครงการช่วง 9 เดือน ยังไม่ถึง 5 หมื่นตัน หรือยังไม่ถึง 1 ใน 3 ของเป้าหมาย
อันที่จริงถ้าใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมของการทำถนนทั่วประเทศ ปริมาณยาง 1.5 แสนตันนี้ อาจไม่พอด้วยซ้ำ ติดปัญหาอยู่นิดเดียวคือ กรมบัญชีกลาง กับกระทรวงคมนาคม กำหนดราคากลางถนนที่ทำจากยางพาราไว้สูงกว่าถนนที่ราดแอสฟัลต์ หรือยางมะตอย ถึง 30% นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงให้ไปกำหนดราคากลางมาใหม่
เรื่องนี้ กยท.ของ รักษาการผู้ว่าการ กยท. เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ น่าจะชี้แจงได้ เพราะเท่าที่ทราบ การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยราดถนนนั้น ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือเฉพาะ และต้องเพิ่มความยุ่งยากในการผสมมากกว่าการใช้ยางมะตอยเพียงอย่างเดียว อาจจะต้องมีการลงทุนที่มากกว่า แต่ถ้าคิดถึงอายุการใช้งาน และคุณสมบัติของถนนยางพาราแล้วคุ้มค่ากว่าถนนยางมะตอยมาก
ที่สำคัญคือ สามารถช่วยเหลือชาวสวนยางให้ขายยางได้ในราคาที่ไม่ต่ำเกินไป รัฐบาลไม่ต้องใช้งบประมาณหลายหมื่น หลายพันล้านบาทช่วยชาวสวนยางอย่างที่ผ่านมา
สรุปคือ อย่าคิดเล็กคิดน้อยเลยท่าน เงินงบประมาณที่เสียไปกับการช่วยเหลือเกษตรกรในโครงการต่างๆ มากกว่านี้มากมายนักยังเสียได้ อย่าให้เข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เลยนะขอรับ หรือว่าถนนยางพารา ไปขัดผลประโยชน์ใครหรือเปล่า....ก็ไม่รู้สินะ
แว่นขยาย
วันเดียวกับที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดปัจจุบัน ประชุมครั้งแรก เพื่อพิจารณาการแบนสารเคมี 3 ชนิดอีกข่าวหนึ่งที่ออกมาพร้อมๆ กัน คือ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จ
ระยะนี้มีข่าวคราวเกี่ยวกับภาคเกษตรขึ้นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ และข่าวที่สื่อมวลชนนำมาเป็นประเด็นร้อนอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ เรื่องของที่ดิน ส.ป.ก. ของสม
น่าสงสารข้าราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคนี้ คงหัวปั่นสับสนกันไปหมด ด้วยผู้บริหารของกระทรวง สายการเมือง สั่งงานแบบไม่รู้ขอบเขตและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
บอกแล้วว่า เรื่องของการยกเลิกสารเคมี3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ยังไม่จบง่ายๆ ในขณะที่ผู้ที่เป็นหัวหอกการเรียกร้องและกดดันให้คณะกรรมการวัตถุ
คงต้องบันทึกบนหน้าประวัติศาสตร์ของวงการเกษตรไทย พร้อมทำเครื่องหมายดอกจัน และขีดเส้นใต้หลายๆ เส้นว่า “เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตราย
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2562 เวลาประมาณ 17.00 น.ผมได้รับโทรศัพท์จาก ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจซึ่งเป็นรุ่นน้องที่ใกล้ชิดตั้งแต่เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
เดือนกันยายน เป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณสำหรับหน่วยงานราชการ เป็นธรรมเนียมของหน่วยงานที่จะต้องมีการประชุม สัมมนา และจัดงานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้เก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงความยินดีกับว่าที่อธิบดีกรมหม่อนไหม และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไปแล้ว แต่ลืมแสดงความยินดีกับคนเกษตรอีกท่านหนึ่ง ที่หลายคนคงล
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี