รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ ผู้ก่อตั้งหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงความก้าวหน้าการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Cancer Immunotherapy) ว่า โรคมะเร็งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของโลกรวมถึงประเทศไทย โดยในช่วง 10 ปีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับหนึ่งที่ผ่านมาวงการแพทย์ได้คิดค้นวิธีการรักษามะเร็งแนวใหม่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งหรือ Immuno-Oncology (IO)” ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 สมัชชาโนเบลที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at Karolinska Institutet) ประกาศผลรางวัลโนเบล สาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์ ประจำปี2018 (พ.ศ.2561) ให้แก่ เจมส์ พี อัลลิสัน (James P. Allison) จากศูนย์มะเร็งเอ็มดีแอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas MD Anderson Cancer Center) สหรัฐอเมริกา และ ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) จากมหาวิทยาลัยเกียวโต (University of Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น ในการค้นพบวิธีบำบัดมะเร็งโดยการยับยั้งกลไกที่กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าและนวัตกรรมยารักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งมีทั้งสิ้น 7 ตัว และใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอีกกว่า 50 ประเทศ รวมถึงเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย ฯลฯ โดยไทยได้รับอนุมัติทะเบียนยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Ipilimumab, Pembrolizumab, Nivolumab และ Atezolizumab ซึ่งขณะนี้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้มากกว่า 8 ชนิด ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง, มะเร็งปอด, มะเร็งศีรษะ และลำคอ, มะเร็งไต, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งเซลล์ตับ, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งที่
ตรวจพบ MSI สูง
ทั้งนี้ การนำยามาใช้กับผู้ป่วยได้ผ่านกระบวนการวิจัยและทดลองรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ประมาณ 5-10 ปี ซึ่ง
พบว่าให้ผลตอบสนองต่อยาโดยประมาณร้อยละ 20-65 และลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตร้อยละ 26-58 เมื่อเทียบกับยาที่เป็นมาตรฐานในการรักษาในระยะเวลาการติดตาม 1 ปี ขณะที่บางคนมีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งได้ด้วย ปัจจุบันยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งมีใช้ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น ศิริราช รามาฯ และโรงพยาบาลเอกชน โดยแพทย์และผู้ป่วยจะต้องปรึกษากันว่าวิธีการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
“หมอขอแนะนำวิธีปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคมะเร็งที่ง่ายที่สุดคือ หลัก 6 อ. คือ 1.อาหาร ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน งดสูบบุหรี่/แอลกอฮอล์ 2.อากาศ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศไม่ถ่ายเท หรือมีมลภาวะ 3.เอนกาย พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชม.ต่อวัน 4.อารมณ์ ทำให้แจ่มใส 5. อุจจาระ ขับถ่ายให้เป็นเวลา และ 6.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ” รศ.นพ.นรินทร์ กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี