วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เลาะรั้วเกษตร : น้ำพริกไม่มีปลาทู

เลาะรั้วเกษตร : น้ำพริกไม่มีปลาทู

วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : เลาะรั้วเกษตร
  •  

เมื่อต้นเดือนมกราคม 2562 ประเทศไทยได้ของขวัญปีใหม่จากสหภาพยุโรป ด้วยการปลดสถานะใบเหลืองภาคการประมงไทย ที่รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU จนประสบผลสำเร็จ สามารถพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมการประมงทั้งระบบให้เทียบเท่าสากลได้ โดยใช้เวลาดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 4 ปี

ความสำเร็จดังกล่าว น่าจะทำให้สถานการณ์ทรัพยากรประมงของไทยดีขึ้น แต่วันดีคืนร้าย กลับมีข่าวว่า ปลาทูในอ่าวไทยกำลังลดน้อยลง และพยากรณ์กันว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีการแก้ปัญหา ปลาทูในอ่าวไทยจะหมดไป


ปัญหาวิกฤติปลาทู มิใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีแนวโน้มมาหลายปีแล้วมีผู้คร่ำหวอดในวงการประมงบอกว่า ปริมาณปลาทูในอ่าวไทยเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2539 เพราะมีการทำประมงโดยใช้เครื่องมือจับปลาแบบทำลายล้าง โดยเฉพาะอวนลาก และเรือปั่นไฟซึ่งจับปลาได้ทุกขนาด ทุกวัย

แม้การแก้ปัญหา IUU จะเข้มงวดเกี่ยวกับเครื่องมือประมง แต่ปัจจุบันก็ยังมีชาวประมงบางรายลักลอบใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ได้รับอนุญาต คือ อวนจมซึ่งยาวเกินกว่าที่กำหนดหลายสิบเท่าจับปลาในช่วงฤดูปลาวางไข่ ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาถูกจับโดยที่ยังไม่ได้วางไข่ ขณะเดียวกันไข่ปลาบางส่วนอาจจะหลุดรอดเจริญเติบโต แต่ยังไม่โตเต็มวัย ลูกปลาก็ถูกจับมาด้วย ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจทำให้ปลาสูญพันธุ์ หรือลดน้อยลง

ถึงวันนี้หลายฝ่ายเรียกร้องให้กรมประมง แก้ปัญหาวิกฤติปลาทูด้วยการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 57 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำ
หรือนำสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดขึ้นเรือประมง” ซึ่งเรือประมงในที่นี้หมายรวมทั้งเรือประมงพื้นบ้าน และเรือประมงพาณิชย์

กรมประมงพิจารณาเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับชาวประมงที่อาจจะทำให้ชาวประมงที่จับปลาขนาดเล็กได้โดยบังเอิญ กลายเป็นการกระทำผิดโดยไม่ตั้งใจจึงต้องนำมาตราอื่นๆ ของ พ.ร.ก. ที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำที่จับได้โดยบังเอิญมาพิจารณาร่วมด้วย

ขณะเดียวกันกรมประมงก็ตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดขนาดสัตว์น้ำตามมาตร 57 ซึ่งคณะกรรมการ ชุดนี้ได้พิจารณา “ปลาทู” เป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่ต้องกำหนดขนาดในการจับ ซึ่งขนาดที่กำหนดที่ได้พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม คือ 14 เซนติเมตร ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของกรมประมงที่ระบุว่า ปลาทูขนาด 14 เซนติเมตร เป็นขนาดแรกสืบพันธุ์ หรือเริ่มวางไข่ครั้งแรก แต่ก็ยังมีข้อกังวลต่อไปอีกว่า เครื่องมือจับปลาทั้งเครื่องมือพื้นบ้าน และ ประมงพาณิชย์ สามารถจะจับปลาขนาดที่ต่ำกว่า 14 เซนติเมตรได้เท่ากัน จึงทำให้ชาวประมงเสี่ยงที่จะกระทำผิดได้โดยง่าย กรมประมงคงต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนจนกว่าจะหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

จะว่าไปแล้ว การหายไปของปลาทู มิได้เกิดจากการใช้เครื่องมือจับปลาแบบทำลายล้างเพียงอย่างเดียว ยังมีเรื่องของสภาพแวดล้อมในอ่าวไทยที่มีส่วนทำให้สัตว์น้ำรวมถึงปลาทู ได้รับผลกระทบไปด้วย....

เมื่อเดือนธันวาคม 2561 มีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “วิกฤตอ่าวไทย รวมใจแก้ไข..มุ่งไป SDGs” รศ.ดร. เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า จากการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2560-2561 บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำบางประกง ปากแม่น้ำท่าจีน ปากแม่น้ำแม่กลอง ผลสำรวจคุณภาพน้ำพบว่า น้ำเปลี่ยนสีไปจากเดิม อันเกิดจากการเพิ่มจำนวนของแพลงค์ตอน ก้นอ่าวมีออกซิเจนเบาบาง สัตว์น้ำอาศัยอยู่ไม่ได้ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม

คณบดีคณะประมง ยังกล่าวถึงปลาทูว่า ในอ่าวไทยรูปตัว “ก” หาลูกปลาทูไม่พบ ไม่พบการกระจายตัวของปลาวัยอ่อน.....เป็นการยืนยันถึงสถานการณ์ที่วิกฤติของปลาทู จริงๆ.....

กรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่า อ่าวไทยรูปตัว “ก” ที่มีสภาพผิดไปกว่าเดิมเพราะเกิดมาจากแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่กลอง บางปะกง ท่าจีน และเจ้าพระยา แม่น้ำ 2 สายแรกคุณภาพน้ำพอใช้ แต่แม่น้ำ 2 สายหลังมีสภาพเสื่อมโทรม คูคลองในกรุงเทพฯ เสื่อมโทรมทั้งหมด โรงงานปล่อยน้ำเสีย ชุมชนไม่มีระบบจัดการน้ำเสียเบื้องต้น นี่ยังไม่รวมขยะที่กำจัดไม่ได้และไหลลงทะเลฝั่งอ่าวไทยซ้ำเติมเข้าไปอีก

จะทำอย่างไรให้คุณภาพน้ำในอ่าวไทยดีขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัย และวางไข่ของสัตว์น้ำ จะทำอย่างไรให้ชาวประมง ทำประมงอย่างถูกต้อง ใช้เครื่องมือประมงตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ปลาได้เจริญเติบโต แพร่พันธุ์ได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนต่อไป ที่สำคัญคือจะได้เห็นเมนูอหารไทยที่ขึ้นชื่อ คือ น้ำพริกกะปิเสิร์ฟคู่กับปลาทูทอดตัวงามๆ ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

อยากเห็นความร่วมมือของหน่วยงานด้านประมง และสิ่งแวดล้อมทำงานร่วมกับ ชาวประมง ภาคเอกชนและชุมชนในการฟื้นฟูอ่าวไทยและการทำประมงให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง...รัฐบาลใหม่ทำได้ป่ะล่ะ....

แว่นขยาย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

รวบแล้ว!!! 'นักโทษซอยจุ๊' ปีนกำแพงเรือนจำบุรีรัมย์หนี หลังหลบซ่อนในป่าเขากระโดง

ฝากตัวชาว‘วธ.’ ‘อิ๊งค์’ถือฤกษ์ 09.09 น.เข้า‘ก.วัฒนธรรม’วันแรก

'ก่อแก้ว'ขำกลิ้งข่าวดัน'อนุทิน'นั่งนายกฯ ชั่วคราวแก้รธน. ชี้ย้อนแย้ง เหตุภท.ได้ประโยชน์

4X100 พันธุ์ใหม่! บุกจับ ไซรัปผสมกระท่อม 'ปรุงมือ-ไร้มาตรฐาน'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved