วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เลาะรั้วเกษตร :  ยังไม่ติดกระดุมเสื้อ

เลาะรั้วเกษตร : ยังไม่ติดกระดุมเสื้อ

วันศุกร์ ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : เลาะรั้วเกษตร
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ส่วนจะผ่านด้วยบรรยากาศแบบไหนท่านที่ติดตามการอภิปรายคงทราบดี อาจจะสะใจ อาจจะเบื่อหน่าย อาจจะชื่นชม ขึ้นอยู่กับว่าท่านเชียร์ฝ่ายไหน พรรคไหน สส. สว. หรือ รัฐมนตรีท่านใด

แม้ สส. ฝ่ายค้าน หลายท่านจะออกมาวิจารณ์ว่า เป็นนโยบายที่เลื่อนลอย ไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ แต่ดูๆ แล้วก็ไม่ได้ต่างจากรัฐบาลที่ผ่านมา คือเป็นนโยบายในภาพรวมส่วนรายละเอียดวิธีการดำเนินงาน หรือการขับเคลื่อนในแต่ละนโยบายให้เป็นไปตามที่แถลงไว้ ก็ต้องให้แต่ละกระทรวงไปว่ากันเอง


การแถลงนโยบายคงไม่ต้องกำหนดรายละเอียดไปจนถึงเม็ดเงินที่จะใช้ในแต่ละนโยบาย เหมือนอย่างที่รัฐบาลในอดีตเมื่อปี 2554 เคยแถลงไว้ เช่น ระบุว่า “นำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ....” แล้วรัฐบาลก็ถือเป็นคำภีร์ว่าจะต้องดำเนินการตามนี้ แม้จะมีการทักท้วงจากหลายฝ่าย รัฐบาลก็ยืนยันว่าต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นนโยบายที่ได้แถลงไว้แล้วต่อรัฐสภาจนเกิดความเสียหายมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ

ย้อนกลับไปปี 2551 หรือกว่า 10 ปีมาแล้ว รัฐบาลในอดีตได้แถลงนโยบายไว้ว่า จะรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐ สร้างระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า และประกันภัยพืชผลจากภัยธรรมชาติ พัฒนาตลาดและระบบกระจายสินค้า จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพ จัดการพื้นที่ผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และ จัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร

มีการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวหรือไม่ไม่ยืนยัน แต่ผ่านมากว่า 10 ปี ราคาสินค้าเกษตรยังตกต่ำ ประกันภัยพืชผลยังไม่ได้รับความสนใจเท่าไรนัก ตลาดและการกระจายสินค้ายังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง สภาเกษตรกรแห่งชาติไม่ได้เป็นปากเป็นเสียงแทนเกษตรกรอย่างที่คาดหวัง ระบบโลจิสติกส์อาจจะดีขึ้นแต่ไม่ได้มาจากนโยบายเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนหนทาง ระบบไฟฟ้า น้ำประปา หรือชลประทานในพื้นที่ห่างไกลยังขาดแคลนอยู่มาก

มาถึง พ.ศ.นี้ นโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ประกอบด้วยนโยบายหลัก 12 ด้าน นโยบายเร่งด่วนอีก 12 ด้านสำหรับการพัฒนาภาคการเกษตร อยู่ในนโยบายหลักด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ประกอบด้วยการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและรายได้ให้กับเกษตรกรในสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย และข้าวโพด โดยจะใช้ระบบประกันภัยสินค้าเกษตร พัฒนาระบบตลาด รวมทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์สำหรับการเกษตร

เหมือนรถติดหล่ม แผ่นเสียงตกร่อง สาระสำคัญเหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว อาจจะใช้ถ้อยคำ ข้อความตกแต่งให้ดูต่างเล็กๆ น้อยๆ

นอกจากนี้มีเรื่องของการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยจะปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตด้านเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เครื่องจักรกลเกษตร แหล่งน้ำ และระบบไฟฟ้า จะนำระบบข้อมูลสารสนเทศและแผนที่เกษตร (Agri Map)มาจัดพื้นที่เพาะปลูก หรือ โซนนิ่ง พัฒนาองค์กรเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ดูแลเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกิน แหล่งเงินทุน โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการผลิตต่างๆ ส่งเสริมการทำปศุสัตว์ ฟื้นฟูและสนับสนุนอาชีพประมงให้ยั่งยืนบนพื้นฐานของการรักษาทรัพยากรทางการประมงและทรัพยากรทางทะเลให้มีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง

ข้างต้นนี้ คือ นโยบายหลักที่ 4 รัฐมนตรีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องมานั่งวางแนวทางการดำเนินงานให้ไปถึงเป้าหมายตามนโยบายให้สำเร็จภายใน 4 ปี (ถ้าอยู่ครบวาระ) อย่ามัวไปลงพื้นที่จับตั๊กแตนมาทอด หรือไปดูพื้นที่ระบาดศัตรูพืชที่มีอยู่เล็กๆ น้อยๆ เลย นั่นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เขาต้องทำอยู่แล้ว รัฐมนตรีควรทำเรื่องใหญ่ๆ ที่เป็นนโยบายหลัก ควบคู่ไปกับนโยบายเร่งด่วนในเรื่องของการรับมือภัยแล้ง และการจัดการสารเคมีให้เป็นระบบตามมาตรฐานสากล

มาถึงวันนี้ รัฐมนตรีทุกท่านควรจะตั้งหลักทำงานด้านนโยบายได้แล้ว.......เห็นด้วยกับ สส. ดาวดวงใหม่ของสภาฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ว่าต้องจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาภาคการเกษตรให้เหมือนการติดกระดุมเสื้อ ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกถูก กระดุมเม็ดต่อๆ ไปก็ติดได้เรียบร้อยไม่ผิด

แต่วันนี้กระทรวงเกษตรฯ ยังไม่เริ่มติดกระดุมเสื้อเลย.......

แว่นขยาย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'แพรรี่'เทศน์พระเอี่ยวสีกา สึกออกมาก็แค่ตาแก่คนหนึ่ง สีกาก็ร้ายไปเป็นเปรตแน่นอน

เชียงใหม่ พบผู้เสียชีวิตอีก 2 ราย จาก'โรคไข้หูดับ' หลังกินหมูดิบ

ชำแหละ 4 ข้อ 'ทักษิณ'โชว์วิสัยทัศน์! 'หลงยุค หลงตัวเอง ขายฝัน แก้ตัว'

'ยุน ซอกยอล'อดีตปธน.เกาหลีใต้ติดคุกอีกรอบ ศาลอนุมัติหมายจับหวั่นหลักฐานถูกทำลาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved