ราชบุรีถกแขวงทางหลวงฯ เตรียมผลักดันโครงการ รื้อสะพานสิริลักษณ์ อายุกว่า 60 ปี เพื่อสร้างสะพานใหม่ทดแทน หลังสะพานหมดอายุการใช้งาน มีสภาพแตกร้าวโดยที่สะพานใหม่ขยายช่องทางจราจรให้กว้างขึ้น เป็น 6 ช่องจราจร เป็นการลดอุบัติเหตุและเป็นจุดแลนด์มาร์คด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี
18 พฤศจิกายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมแขวงทางหลวงราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายมานิต นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ประชุมร่วมกับ นายสุนทร แก้วศรีใส ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงราชบุรี พร้อมด้วย สภาอุสาหกรรมราชบุรี หอการค้าจังหวัดราชบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง เพื่อเตรียมการดำเนินการโครงการประปรุงถนนวงแหวนตะวันตกราชบุรีและการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองที่มีขนาดกว้างขึ้น เพื่อทดแทนสะพานสิริลักษณ์ ที่ข้ามแม่น้ำแม่กลอง กม.100 ถนนเพชรเกษม หมายเลข 4 ตอนคลองอีจาง – หลุมดิน ที่ กม.99+631 Lt ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และมีสภาพเก่าเสื่อมโทรม หมดอายุการใช้งานตามมาตรฐานการก่อสร้าง อีกทั้งบางจุดมีสภาพแตกร้าว นอกจากนี้ความกว้างของหน้าผิวจราจรบนสะพานมีขนาดแคบใช้ได้เพียงแค่ 2 เลน ไม่สามารถรองรับปริมาณรถในช่วงการจราจรที่หนาแน่นได้ ประกอบกับมีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ราวสะพาน พื้นผิวของสะเกิดการชำรุด หวั่นเกิดอันตรายต่อประชาชนที่สัญจรไปมา
นายมานิต นพอมรบดี กล่าวว่า การดำเนินโครงการในการปรับปรุงถนนวงแหวนฝั่งตะวันตก ของเมืองราชบุรี ทางหลวงเพชรเกษมหมายเลข 4 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของที่ขึ้นล่อง กรุงเทพมหานคร และ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานขามทางแยกในทุกจุด ตั้งแต่ที่ สะพานยกระดับถนนเพชรเกษมหมายเลข 4 ตัดถนนเส้นบายพาสทางเลี่ยงเมือง หน้าหมู่บ้านนิรัน ต.ดอนตะโก สี่แยกห้วยไผ่, สี่แยกเจดีย์หัก ได้ดำเนินการก่อสร้างและใช้งานในปัจจุบัน ส่วนที่สีแยกเขางู หรือแยกนิสสันยังไม่ได้มีการดำเนินการก่องสร้าง และอยู่ในขั้นตอนรอการก่อสร้างหลังโครงการผ่านแล้ว ในส่วนของสะพานสิริลักษณ์ กม.100 ถนนเพชรเกษม หมายเลข 4 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ที่ก่อสร้างมานานกว่า 60 ปี ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟเข้าตัวเมืองราชบุรี ที่ กม.100+000 อยู่ไม่ห่างกันมาก ทำให้รถที่วิ่งออกจากตัวเมืองราชบุรีจะเลี้ยวขึ้นสะพาน สิริลักษณ์จะถูกบีบทางร่วมกับสายหลักที่ลงมาจากสะพานก่อนที่จะขึ้นสะพานสิริลักษณ์ เป็นคอขวดการจราจรจะติดขัด และมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
นายมานาติ กล่าวอีกว่า ในส่วนปัญหาที่เป็นห่วงเพราะตัวสะพานสิริลักษณ์มีอายุนานกว่า 60 ปีแล้ว การที่จะให้มีการขยายความกว้างของสะพาน ทำได้ยากเนื่องจากมีอายุมาก สภาพบางจุดมีรอยร้าวและมีสภาพแตกเสื่อมโทรม ที่ผ่านมาตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน อยากให้มีการพัฒนาปรับปรุง หรือขยายสะพาน เมื่อครั้งที่ตนเองเป็น ส.ส.ราชบุรี และมาในสมัยที่ทาง น.ส.กุลวลี นพอมรบดี ได้เข้ามาเป็น ส.ส.ได้นำเรื่องเข้าสู่สภา ในคราวการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ว่าด้วยการจราจรบนถนนทางหลวงหมายเลข 4 ช่วง กม.ที่ 101 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3087 (แยกเขางู) มีปริมาณรถที่หน้าแน่นและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอให้สร้างสะพานลอยข้ามแยกและขยายสะพานสิริลักษณ์ จนได้รับความเห็นชอบให้มีการดำเนินโครงการพัฒนาและปรับปรุงถนนและสะพานสิริลักษณ์ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้รถใช้ถนนอย่างสะดวกและปลอดภัย ตนจึงขอให้กรมทางหลวงได้ทำการออกแบบสำรวจ และจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง จากที่ประชุมได้กำหนดแบบตัวอย่าง มานำเสนอแล้วและเป็นรูปแบบที่มาตรฐาน มีความกว้าง สอดคล้องกลับภูมิศาสตร์ ทั้งทางบกและทางน้ำ อีกทั้งจะเป็นสะพานที่สวยอีก 1 แห่งเป็นจุดแลนด์มาร์คของเมืองราชบุรีที่สวยอีกแห่งด้วย
ด้านนายวิโรจน์ คงแก้ว รอง ผอ.สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง กล่าวว่า จากข้อมูลการจัดสร้างสะพานของกรมทางหลวง สะพานสิริลักษณ์ก่อสร้างมาได้เกือบจะ 60 ปีแล้ว ส่วนสะพานที่สร้างคู่กับสะพานสิริลักษณ์ ประมาณ 25 ปี ซึ่งทั้ง 2 สะพานมีขนาดที่ค่อนข้างจะแคบและเราได้มีโครงการที่จะปรับปรุงสร้างสะพานข้ามแยกเขางู หรือ แยกนิสสัน เพิ่มทางหลักเป็น 6 ช่องจราจรจะไม่สอดรับกับสะพานทั้ง 2 นี้เนื่องจากสะพานอยู่เบี้ยวมาทางด้านซ้าย และมีลักษณะที่เป็นคอขวดอยู่ ซึ่งต้องได้รัยการปรับปรุงเช่นเดียวกัน จึงต้องสร้างสะพานหลักวิ่งไปมา 6 ช่องจราจร ส่วนประชาชนที่อยู่ 2 ข้างทางจะใช้ไปมาในชุมชน จะเพิ่มอีก 2 สะพาน เป็น 4 สะพาน แต่ด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดของกรมเจ้าท่าสะพานข้ามแม่น้ำในการก่อสร้างใหม่ ไม่อยากให้มีตอหม้อสะพานแต่ถ้ามีความจะเป็นเพราะสะพานจะสูงก็จะสามารถลงตอหม้อสะพานได้ 2 ต้น ซึ่งปัจจุบันสะพานทั้ง 2 นี้ลงเสาตอหม้อไป 5 ตับด้วยกัน ค่อนข้างจะกีดขวางการขนส่งทางน้ำ ในการออกแบบสะพานชุดใหม่จะลงเสาตอหม้อเพียง 2 ต้นเท่านั้น โดยจะรื้อถอนเสาตอหม้อเดิมออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การขนส่งทางน้ำนั้นดีขึ้น โดยการออกแบบสะพานทางหลัก 6 ช่องจราจร จะยกสูงขึ้น ส่วนสะพานทางข้ามของประชาชนทั้ง 2 ข้าง จะลงต่ำลงมา ช่องรอดก็สามารถวิ่งได้ดังเดิม สะพานบาล้านกาดิวริเวอร์ เบื้องต้นคาดว่าประมาณ 80 เมตร
ทั้งนี้การก่อสร้างสะพานจะทำไปที่ระส่วนโดยจะทำสะพานทางของประชาชน เมื่อเสร็จแล้วจะทำการรื้อสะพานสิริลักษณ์ ออกเนื่องจากสะพานมีอายุ 60 ปี หมดอายุของการก่อสร้างสะพานแล้ว แต่จะไม่ให้กระทบการเดินทางสัญจรของประชาชน เราจะแบ่งออกเป็นช่วงๆไป ในส่วนความกังวลของประชาชนเนื่องเรื่องของการเห็นชอบหรือไม่นั้นตรงนี้เราสำรวจแล้วพบว่าส่วนใหญ่อยากให้มีการพัฒนาและปรับปรุงเพราะอยากให้สะพานสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก ลดอุบัติเหตุ ซึ่งตนรับรองว่าสะพานดังกล่าวมีความเหมาะสมและสวยงามคู่เมืองราชบุรีอย่างแน่นอน สำหรับระยะการก่อสร้างหลังจากที่เราได้ลงมือทำประมาณ 3 ปีจะแล้วเสร็จ ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนการเสนอสำนักแผนงาน กรมทางหลวงเพื่อพิจารณาบรรจุเข้าในแผนปีงบประมาณต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี