วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สศก.แจงโควตานำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งปี63 กำหนดเกณฑ์ราคารับซื้อ

สศก.แจงโควตานำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งปี63 กำหนดเกณฑ์ราคารับซื้อ

วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 10.14 น.
Tag : นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่ง ราคารับซื้อ มั่นใจไม่กระทบราคาขายเกษตรกร สศก.
  •  

23 ธันวาคม 2562 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบริหารการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ภายใต้ความตกลง WTO ปี 2563 ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ได้เห็นชอบการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งพันธุ์โรงงาน ปี 2563 ครั้งที่ 1 ปริมาณรวม 5,208.75 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 (อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 125)

โดยกำหนดให้การนำเข้ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563 และจัดสรรให้บริษัททั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด  จำนวน 4,347 ตัน  บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด จำนวน 850 ตัน และบริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด จำนวน 11.75 ตัน


การนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่ง กำหนดปีละ 3 ครั้ง เพื่อให้เกษตรกรปลูก คือ 1) ช่วงเม.ย. – ก.ค. 2) ช่วง ส.ค. – ต.ค. และ3) ช่วงพ.ย. – ม.ค. (ปีถัดไป) โดยผู้ที่มีความประสงค์ขอนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งต้องเป็นนิติบุคคล และต้องจัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเข้ามายัง สศก. ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเอกสารการนำเข้าประกอบด้วย 1) หนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูก  2) ทะเบียนเกษตรกร 3) ข้อมูลปริมาณหัวพันธุ์ที่สอดคล้องกัน โดยมีเกษตรจังหวัดหรือสหกรณ์จังหวัดรับรอง  ส่วนในกรณีที่บริษัทนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่ง เพื่อมาเพาะปลูกในพื้นที่ของตนเอง ให้บริษัททำหนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูกและข้อมูลปริมาณหัวพันธุ์ที่สอดคล้องกัน โดยมีเกษตรจังหวัดหรือสหกรณ์จังหวัดรับรองด้วย ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะต้องจำหน่ายหัวพันธุ์มันฝรั่งโรงงานให้แก่เกษตรกร ในราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 35.00 บาท 

สำหรับการบริหารการนำเข้าหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ปี 2563กำหนดอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 27 (อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 125) ปริมาณรวม 52,000 ตันกำหนดการนำเข้าในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2563 โดยจัดสรรให้ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ปริมาณ 44,750 ตัน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด ปริมาณ 6,750 ตัน และบริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด ปริมาณ 500 ตัน  โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้นำเข้าหรือผู้แทนผู้นำเข้าจะต้องมีการทำสัญญารับซื้อผลผลิตหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งภายในประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบปริมาณในโควตาที่ขอขยายเพิ่มเติม อีกปริมาณ 6,400 ตัน โดยจัดสรรให้บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ปริมาณ 5,400 ตันบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัดปริมาณ 1,000 ตัน ซึ่งสศก. จะนำเข้าคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ด้านราคารับซื้อ ผู้นำเข้าหรือผู้แทนผู้นำเข้าจะต้องรับซื้อผลผลิตหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกร ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14.00 บาท ในช่วงฤดูฝน (ก.ค.-ธ.ค.) และในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 10.60 บาท ในช่วงฤดูแล้ง (ม.ค.-มิ.ย.)

ขณะที่แนวทางการจัดการสินค้ามันฝรั่ง ในปี 2563 เน้นมาตรการกระจายผลผลิต ในช่วงที่ออกสู่ตลาดมาก อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรด พร้อมตรวจสอบสต็อกของผู้ประกอบการเพื่อป้องกันการกักตุนและเก็งกำไร ขณะที่กรมศุลกากร จะดำเนินมาตรการในการปราบปรามการลักลอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด

ทั้งนี้ สศก. คาดว่า ปี 2563 (ปีเพาะปลูก 2562/63) มันฝรั่งมีเนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 47,297 ไร่ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 ผลผลิตรวม 138,782 ตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 โดยผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว เฉลี่ย2,943 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 92 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 3 โดยเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทผู้รับซื้อมันฝรั่งมีแผนความต้องการและส่งเสริมให้ขยายการผลิตในปี 61-63 ซึ่งขอเพิ่มโควตานำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งพันธุ์โรงงาน ส่งผลทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ของมันฝรั่ง และบริษัทผู้รับซื้อมันฝรั่ง ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หัวพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน ผลผลิตได้ขนาดตามความต้องการ ภาพรวมผลผลิต รวมทั้งประเทศจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงแม้จะมีการขยายการผลิตและการนำเข้าเพิ่มขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาที่เกษตรกรได้รับเนื่องจากมีการรับซื้อตามราคาขั้นต่ำที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนดอยู่แล้ว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สศก.ชี้ดัชนีความผาสุกพุ่ง  คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น5ด้าน สศก.ชี้ดัชนีความผาสุกพุ่ง คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น5ด้าน
  •  

Breaking News

จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved