วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เลาะรั้วเกษตร : เรื่องของหมอน

เลาะรั้วเกษตร : เรื่องของหมอน

วันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : เลาะรั้วเกษตร
  •  

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่มีเรื่องราวเล่าต่อกันมาในหน้าหนังสือพิมพ์บ้าง ในสังคมออนไลน์บ้างว่า จะมีโครงการผลิตหมอนยางพาราแจกชาวบ้านจำนวน 30 ล้านใบ ใช้งบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีคนบวกลบคูณหารแล้ว ผลลัพธ์ออกมาว่าหมอนยางพาราที่จะแจกชาวบ้านนี้ตกราคาใบละ 600 บาท

มีคนบวกลบคูณหารอีกเช่นกันบอกว่าหมอนยางพาราผลิตใบเดียวอาจจะใบละ 600 บาทแต่ถ้าผลิต 100 ใบขึ้นไป ราคาจะลดลงเกือบครึ่ง และยิ่งผลิตเป็นหลายสิบล้านใบให้มากที่สุดก็อาจจะตกที่ใบละเพียง 100 บาทเท่านั้น....


ส่วนวิธีการที่จะนำงบประมาณผลิตหมอนยางพารามาจากไหนนั้น ก็เล่าต่อๆกันมาอีกเช่นกันว่า จะให้การยางแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการโดยไปกู้เงิน ธ.ก.ส. มาดำเนินการผลิตหมอนยางพารา และใช้วิธีการออกสลากการกุศล ใช้เวลาประมาณ 1 ปี นำเงินมาคืน ธ.ก.ส. ส่วนหมอนที่ผลิตนั้นก็แจกประชาชนเดือนละ 3 ล้านใบ เป้าหมายของโครงการนี้คือการดึงยางพาราออกจากตลาดได้ 1.5 แสนตัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางขยับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 65 บาท ซึ่งมีคนคัดค้านว่า ปริมาณยางที่ดึงออกจากระบบไปเพียงเท่านี้ไม่น่าจะมีผลให้ราคายางขึ้นมามากมายขนาดนั้น....

ทำไมต้องเป็นหมอนยางพารา คงต้องไปถามเจ้าของความคิดนี้กันเอาเอง....

รู้แต่ว่าหมอนยางพารา เป็นหมอนเพื่อสุขภาพ ผลิตจากยางธรรมชาติ มีความนุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นที่เกาะอาศัยของไรฝุ่น หรือแบคทีเรียซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค มีปุ่มนวดเวลาหนุนจึงช่วยในการไหลเวียนโลหิต ลดการนอนกรนได้ ทำความสะอาดง่าย สามารถซักได้ด้วยเครื่องซักผ้า และปั่นแห้งได้ มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรตากแดด

อุตสาหกรรมผลิตหมอนยางพารามีมานานเกือบ 50 ปีแล้ว แต่มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย จนกระทั่งยางพาราประสบภาวะราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จึงมีการรวมกลุ่มกันแก้ปัญหาราคายางตกต่ำด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆและหนึ่งในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นคือ หมอนยางพารา ซึ่งการรวมกลุ่มนั้นมีทั้งวิสาหกิจชุมชน และ กลุ่มสหกรณ์ ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ และการทำตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน

ขณะเดียวกันก็มีโรงงานผลิตหมอนยางพาราในลักษณะอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมาอีกไม่น้อย และตลาดของหมอนยางพารายังไม่มีปัญหาทั้งในและต่างประเทศ โดยโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จะมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มิได้มีเฉพาะหมอน แต่ยังมีที่นอน เครื่องนอนสำหรับเด็ก เบาะรองนั่ง อาสนสงฆ์ และหมอนรองคอ เป็นต้น

โครงการแจกหมอนยางพาราจะดำเนินต่อหรือพักไว้ก่อน ต้องรอดูกันต่อไป คนคิดโครงการคงต้องคิดให้รอบคอบถึงผลได้ผลเสีย ผลกระทบกับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอยู่แล้วในขณะนี้

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์เคยนั่งโต๊ะแถลงข่าวร่วมกันถึงมาตรการช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ อันเป็นนโยบายสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์เคยประกาศไว้ตอนหาเสียงว่าจะต้องแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำให้ได้โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ คุยว่าได้ไปเปิดตลาดยางที่อินเดีย 100,000 ตัน มูลค่า 7.5 พันล้านบาท นอกจากนี้การยางแห่งประเทศไทย ยังสามารถเจรจาขายยางSTR20 ให้กับบริษัทเอกชนของจีน และบริษัทเอกชนของฮ่องกง มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอีกหลายมาตรการ มาตรการแรกคือ การประกันรายได้ชาวสวนยาง สำหรับยางพาราอายุ 7 ปีขึ้นไป ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ในราคาประกัน ยางแผ่นดิบราคากิโลกรัมละ 60 บาท น้ำยางสดราคากิโลกรัมละ 57 บาท ยางก้อนถ้วยราคากิโลกรัมละ 23 บาท ซึ่งได้ทยอยโอนเงินส่วนต่างของราคาประกันกับราคาที่เกษตรกรขายได้ให้เกษตรกรไปแล้วงวดแรก เม่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 และจะโอนอีก 2 งวด คือ 1 มกราคม และ 1 มีนาคม 2563

มีมาตรการเสริม 11 โครงการ ใช้งบประมาณรวมเกือบ 2 แสนล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการซึ่งใช้ยางแห้งเพื่อดูดซับยางออกจากระบบ

โครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยางโดยเป้าหมายเน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่มีมูลค่าสูง เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม และอื่นๆ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยเป็นของเจ้าของสวน 1,100 บาท และเป็นของคนกรีดยาง 700 บาท และโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ทั่วประเทศจำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร เป็นต้น

มาตรการเหล่านี้ ถ้ายังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำได้ การทำหมอนยางพาราแจกประชาชน 30 ล้านใบ ก็คงช่วยแก้ปัญหาราคายางไม่ได้ นอกจากจะทำให้ประชาชนมีหมอนเพื่อสุขภาพไปนอนหนุนเล่นเย็นๆ ใจเท่านั้น.....

แว่นขยาย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved