วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เพาะฟัก‘ปูม้า’ปล่อยคืนทะเล  อนุรักษ์แหล่งอาหาร-รายได้ให้ยั่งยืน

เพาะฟัก‘ปูม้า’ปล่อยคืนทะเล อนุรักษ์แหล่งอาหาร-รายได้ให้ยั่งยืน

วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

“ปูม้า (Blue Swimming Crab)” หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Portunus Pelagicus เป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลของไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปูม้าถูกนำไปทำอาหารหลากหลายชนิดหรือแม้กระทั่งทำน้ำพริก จึงจัดเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” อีกชนิดหนึ่ง แต่เพราะตลาดมีความต้องการสูงนี้เองทำให้ปูม้าลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย อาทิ ในปี 2557 กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เผยแพร่บทความ “ปูม้าตัวใหญ่มีจำนวนลดลง พวกเราจะช่วยได้อย่างไร?” บนหน้าเว็บไซต์ภาคภาษาไทยขององค์กร ระบุว่า..

“เมื่อพูดถึงปูเรามักนึกถึงอาหารทะเลหรือสิ่งมีชีวิตที่วิ่งอยู่บนชายหาด แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักไม่ค่อยนึกถึงคือ ปูบางชนิดให้โอกาสในการทำมาหากินที่สำคัญแก่ชาวบ้านที่มีทางเลือกจำกัดในการหาเงินเพื่อการดำรงชีวิต นี่คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปูม้า ปูม้ามีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย ปูม้าได้ชื่อว่าเป็นอาหารอันโอชาสำหรับผู้คน และทุกวันนี้ธุรกิจมีกำไรมากและมีโอกาสในการพัฒนาเกี่ยวกับการประมงปูม้า


โดยในปี 2554 การประมงปูม้าในประเทศไทยสร้างมูลค่าได้มากถึง 3,200 ล้านบาท ตัวเลขนี้ยังไม่รวมถึงการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกในรูปของเนื้อปู ปูม้ามีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามมากขึ้น ปูม้าขนาดเล็ก (หรือปูที่มีอายุน้อย) พบถูกนำมาขายในตลาดหรือร้านอาหารเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่สู้ดีนัก เพราะหากไม่มีปูวัยเจริญเติบโตมาแทนปูที่โตเต็มวัยจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่ออัตราการเจริญเติบโตของประชากรปูม้าในอนาคต”

จากปัญหาที่เกิดขึ้น นำมาสู่ความพยายามใช้ประโยชน์จากปูม้าอย่างยั่งยืน นอกจากมาตรการทางกฎหมายอย่างการกวดขันไม่ให้ใช้เครื่องมือประมงที่มีลักษณะทำลายล้างกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รวมถึงรณรงค์ไม่จับปูหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ยังไม่โตเต็มวัยแล้ว “การเพิ่มประชากรปูม้า” ก็เป็นอีกด้านที่หลายฝ่ายลงมือทำ ดังที่ผ่านมาจะปรากฏคำว่า“ธนาคารปูม้า” ที่ชาวประมงพื้นบ้านร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ นำไข่แม่ปูมาเพาะในสถานที่ปิดเพื่อให้ลูกปูมีโอกาสอยู่รอดเพิ่มขึ้นก่อนนำปล่อยคืนสู่ท้องทะเลต่อไป

“ที่เราปล่อยจะเป็นไซส์ยังแคร็บ(Young Crab หรือปูวัยอ่อน) แล้ว ซึ่งเปอร์เซ็นต์รอดถ้ามีที่หลบ มีอาหารกินที่ดี ระยะของปูม้า ที่บอกว่าซูเอี้ย (Zoea) จะเป็นแบบนี้อยู่ 10-12 วัน เป็นระยะที่ฟักออกจากไข่วันแรก จากซูเอี้ยมาเป็นเมกะโลปา (Megalopa) ใช้เวลาประมาณ 10 วัน แต่ก็ยังไม่เหมือนลูกปู แต่ระยะที่เราปล่อยวันนี้เป็นยังแคร็บ ไซส์ที่เราปล่อยเราใช้ระยะเวลาอนุบาลอยู่ที่สิบกว่าวัน วงจรชีวิตก็จะประมาณนี้”

สิริวรรณ หนูเซ่ง นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 3 (สุราษฎร์ธานี) อธิบายวงจรชีวิตของปูม้าให้กับคณะผู้บริหารของ บริษัท ซีพีแรม จำกัด รวมถึงคณะสื่อมวลชนที่เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ โดยการทำงานเริ่มจากการรวบรวมแม่ปูจากธรรมชาติ เช่น รับซื้อจากแพปูหรือจากเรือประมง สำหรับปูม้านั้นระยะแรกไข่จะอยู่ในกระดอง ต่อมาเมื่อหน้าท้องเปิดก็จะเห็นไข่ชัดเจนหรือขั้นไข่นอกกระดอง ซึ่งไข่นอกกระดองจะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากเหลืองอมส้มเป็นเหลืองปนเทา สีเทา และเทาอมดำซึ่งระยะนี้คือระยะวางไข่

สำหรับอาหารที่ใช้อนุบาลลูกปูม้า อาทิ “แพลงก์ตอนพืช” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำเขียว” ชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือ สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella sp.) ใช้คู่กับหัวเชื้อ โรติเฟอร์ (Rotifer) หรือแพลงก์ตอน สำหรับซูเอี้ยระยะที่ 1-2 ส่วนซูเอี้ยระยะที่ 3-4 จะสามารถกิน อาร์ทีเมีย(Artemia) หรือไรน้ำเค็ม โดยผู้เลี้ยงจะต้องนำอาร์ทีเมียมาเพาะเตรียมไว้ก่อนจากนั้นเมื่อกลายเป็นเมกะโลปาก็จะต้องใส่“วัสดุหลบซ่อน” เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและเมื่อได้ลูกปูม้าระยะปูวัยอ่อนหรือ Young Crab แล้วนำไปในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โอกาสที่จะรอดก็มีสูงมาก

“มาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 2546 ใช้กิ่งสนทำมาโดยตลอด อัตรารอดก็ดีนะไม่ใช่ไม่ดี แต่ที่เราต้องปรับเปลี่ยนเพราะอยู่นานๆ ไม่ได้เน่าแต่ใบจะร่วง จะยากในการจับลูกปู แต่ถ้าเป็นอวน เราสะบัดอวนทีเดียวมันง่ายกว่า อวนไม่ใช่ว่าเราจะซื้อในราคาแพง ที่ชาวประมงเขาทำปูม้าแล้วเขาตัดปูที่ติดที่อวนแล้วเขาก็ตัดอวนทิ้ง เราก็ไปซื้อกิโลละไม่กี่บาทเอง ก็เลยเอามาใช้ประโยชน์” สิริวรรณ เล่าถึงการทำวัสดุหลบซ่อน

ในวันเดียวกันนั้นเองยังมี “พิธีเปิดโครงการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โรงเพาะฟักลูกปู” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาการได้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 3 (สุราษฎร์ธานี) กับบริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่ง สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนและส่งเสริมด้านวิชาการ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอด เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูม้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ขณะที่ สาธิต แสงเรืองอ่อนผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรมจำกัด กล่าวว่า ลูกค้าเมื่อซื้ออาหารของบริษัทผลกำไรที่ได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำกลับไปตอบแทนต่อชุมชนและสังคม แต่บริษัท ทำเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีพันธมิตร ซึ่งในส่วนของภาครัฐก็คือกรมประมง ด้วยการร่วมกันพัฒนาพันธุ์และนำปูม้าไปปล่อย จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ได้มาช่วยกันให้ปูม้าในทะเลไทยมีความยั่งยืน ส่งต่อทรัพยากรอันมีค่านี้ให้กับรุ่นลูกหลานต่อไป

ย้อนไปเมื่อต้นปี 2560 ทีมงาน “นสพ.แนวหน้า” นำเสนอเรื่องราวของชาวบ้านในพื้นที่ ต.เขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา รวมตัวกันจัดตั้งธนาคารปูม้า โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 สงขลา ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ภายใต้หลักคิดที่ว่า “เมื่อชาวประมงเข้าใจก็จะหวงแหนและปกป้อง” (“ธนาคารปูม้า” ต้นแบบ “ประมง...รักษ์ทะเล” : หน้า 13 นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 1 มี.ค. 2560) ซึ่งทุกวันนี้กิจกรรมธนาคารปูม้าและการปล่อยลูกปูม้าที่เพาะเลี้ยงคืนสู่ท้องทะเลเป็นที่รู้จักมากขึ้น

เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของภาพใหญ่คือหลักการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างสมดุลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผลิต\'อาหารปลา\' สุดประหยัด...ลดต้นทุน!!! ผลิต'อาหารปลา' สุดประหยัด...ลดต้นทุน!!!
  • สพป.พิษณุโลก เขต 2 จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางการศึกษาส่งเสริมประชาธิปไตย สพป.พิษณุโลก เขต 2 จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางการศึกษาส่งเสริมประชาธิปไตย
  • อพวช.เปิดกิจกรรม \'ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 44\' อพวช.เปิดกิจกรรม 'ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 44'
  • มทร.ธัญบุรี เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สร้างโอกาสคนรุ่นใหม่ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อชาติ มทร.ธัญบุรี เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สร้างโอกาสคนรุ่นใหม่ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อชาติ
  • ปลุกนักธุรกิจสายยั่งยืน เปิดหลักสูตร ‘IBEs Driving Green Innovation’ เร่งสปีด SMEs ไทยสู่ตลาด ‘นวัตกรรมสีเขียว’ ปลุกนักธุรกิจสายยั่งยืน เปิดหลักสูตร ‘IBEs Driving Green Innovation’ เร่งสปีด SMEs ไทยสู่ตลาด ‘นวัตกรรมสีเขียว’
  • ศธ.เล็งตั้งสหกรณ์กลางระดับภูมิภาค ทางเลือกให้ครูกู้เงินสหกรณ์ดอกเบี้ยต่ำ ศธ.เล็งตั้งสหกรณ์กลางระดับภูมิภาค ทางเลือกให้ครูกู้เงินสหกรณ์ดอกเบี้ยต่ำ
  •  

Breaking News

'บุญส่ง’รองปธ.วุฒิสภาคนที่ 2 ยิ้ม-ขออภัย! ปัดตอบปมคดี ‘ฮั้ว สว.’

อยู่มา10ปีแล้ว! 'ซน'ลั่นถึงเวลาพาไก่คว้าแชมป์แรก

'คปท.-ศปปส.-กองทัพธรรม'บุกชาติไทยพัฒนา ถามจุดยืน'บ่อนกาสิโน'เอาหรือไม่เอา?

เกษตรกรน้ำตาตก! ‘กระเทียมราคารูด’ วอนพาณิชย์เร่งหาตลาดช่วยเหลือ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved