วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เลาะรั้วเกษตร : ปลูกได้ก็โค่นได้

เลาะรั้วเกษตร : ปลูกได้ก็โค่นได้

วันศุกร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : เลาะรั้วเกษตร
  •  

ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2547 สมัยนายกรัฐมนตรี ชื่อทักษิณ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชื่อสมศักดิ์ เทพสุทินรัฐมนตรีช่วยว่าการ ชื่อเนวิน ชิดชอบ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า โครงการยางล้านไร่

โครงการนี้ รัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปใน 36 จังหวัด เป็นจังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด พื้นที่ 3 แสนไร่ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด พื้นที่ 7 แสนไร่ ใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในยุคนั้น


วัตถุประสงค์ของโครงการก็กำหนดไว้อย่างน่าชื่นชม คือ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และเพื่อให้มีผลผลิตยางสอดคล้องกับความต้องการยางของโลกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ต่อปี ขณะที่อัตราการผลิตยางของโลกเพิ่มขึ้น 2.04 ต่อปี ถ้าไม่เพิ่มปริมาณการผลิตยางเสียแต่บัดนั้น นับไปอีก 4 ปี โลกจะขาดแคลนยาง (ข้อมูล ณ ขณะนั้น)

คงจำกันได้อีกว่า โครงการนี้มีการว่าจ้างบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรของไทย เป็นผู้ผลิตกล้ายางให้กับโครงการ แต่มีการร้องเรียนว่ากล้ายางไม่ได้คุณภาพ มีการทุจริต คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส.ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง แต่สุดท้ายศาลยกฟ้อง นั่นหมายถึงพิสูจน์ได้ว่า การจัดซื้อจัดจ้างผลิตกล้ายางเป็นไปโดยถูกต้อง

โครงการยางล้านไร่ ต้องใช้กล้ายาง 90 ล้านต้น ซึ่งบริษัทผู้รับจ้างผลิตกล้ายางจะต้องผลิตกล้ายางส่งมอบให้เกษตรกรเป็น 3 ระยะ ปีแรก 18 ล้านต้น ปี 2548 ต้องส่งมอบ 27 ล้านต้น และ ปี 2549 ต้องส่งมอบจำนวนที่เหลือทั้งหมด 45 ล้านต้น ซึ่งปีสุดท้ายนี้ บริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามจำนวนที่ โดยให้เหตุผลว่าประสบภัยธรรมชาติ จึงขอต่อสัญญา ตามข่าวระบุว่า กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัท แจ้งให้บริษัททราบว่ายินยอมให้ต่อสัญญา

แต่ไม่รู้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น หรือเกิดช่องว่างทางการสื่อสาร หรือทางเอกสารต่างๆ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร (ซึ่งเปลี่ยนเกือบทุกปี) เมื่อครบเวลาต่อสัญญา บริษัทจะส่งมอบกล้ายาง แต่ทางหน่วยงานคู่สัญญาบอกว่าขอยกเลิกโครงการ และไม่เคยมีหนังสือแจ้งให้บริษัทต่อสัญญาแต่อย่างใด บริษัทจึงฟ้องร้องหน่วยงานคู่สัญญา คือ กรมวิชาการเกษตร เรียกค่าเสียหายกว่า 1,700 ล้านบาท และสุดท้ายศาลฎีกาตัดสินเมื่อปี 2560 ให้บริษัทชนะคดี กรมวิชาการเกษตรต้องชดใช้ค่าเสียหายตามนั้น...กรมเป็นหน่วยราชการจะเอาเงินไปให้เอกชนเฉยๆก็คงไม่ได้ จำเป็นต้องไล่บี้ค่าเสียหายเอากับข้าราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนที่ลงนามยกเลิกสัญญา.....นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้า...สำหรับโครงการยางล้านไร่ ที่เริ่มต้นจากคนหนึ่ง แต่ไปจบกับอีกคนหนึ่ง และเป็นจบที่ไม่สวยเสียด้วย.....

มาถึงวันนี้ยางล้านไร่ในวันนั้น ได้แก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรจำนวนกว่า 1.4 แสนราย ที่ร่วมโครงการในวันนั้นหรือไม่ ไม่มีใครประเมินผลโครงการมายืนยัน แต่ที่แน่ๆเกษตรกรผู้ปลูกยางในวันนี้ได้รับผลกระทบกับราคาผลผลิตยางตกต่ำอย่างแน่นอน แม้ว่าราคายางเคยขึ้นไปถึงกิโลกรัม 172 บาทในปี 2554 แต่ยางล้านไร่เมื่อปี 2547 ก็ยังไม่ได้รับอานิสงส์ เพราะคงยังกรีดไม่ได้ หรือ เพิ่งเริ่มกรีดได้ แต่หลังจากปี 2554 เป็นต้นมา ราคายางก็เริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับ จนทำให้รัฐบาลในสมัยต่อๆ มาต้องหาทางแก้ปัญหาราคายางมาโดยตลอด

นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา พื้นที่ปลูกยางของไทยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จากประมาณ 16 ล้านไร่ จนถึงปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 23.3 ล้านไร่ มากเป็นที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย คงไม่ใช่การส่งเสริมปลูกยางล้านไร่ในปี 2547 เพียงอย่างเดียว ยังมีราคายางที่เคยเพิ่มสูงถึงกิโลกรัมละกว่า 100 บาท ก็เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรที่อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น หันมาปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

มาถึงวันนี้ จากสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เสนอยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี ให้ ครม. พิจารณา และครม. เพิ่งให้ความเห็นชอบไปเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยมีสาระสำคัญคือ ลดพื้นที่ปลูกยางลงจาก  23.3 ล้านไร่ เหลือ 18.4 ล้านไร่  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยมีเป้าหมายปริมาณผลผลิตยางเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 224 กิโลกรัม/ไร่ เป็นเฉลี่ย 360 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศ จากร้อยละ 13.6 เป็นร้อยละ 35เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา จาก 250,000 ล้านบาท/ปี เป็น 800,000 ล้านบาท/ปี และ เพิ่มรายได้จากการทำสวนยาง จาก 11,984 บาท/ไร่ เป็น 19,800 บาท/ไร่

ส่วนวิธีการจะทำอย่างไรให้ได้ตามนั้น คงต้องติดตามดู....ว่าแต่ 20 ปี จะตามดูไหวไหม....

ล่าสุดมีคณะทำงานศึกษาการทำสวนยางอย่างยั่งยืนของกยท. มีข้อเสนอว่า ให้ลดปริมาณจำนวนต้นยางที่ปลูกจากไร่ละ70-80 ต้น เหลือเพียง 35-40 ต้น โดยจะของบกลางจากรัฐบาลปีละ 2,000 ล้านบาท มาจูงใจให้ชาวสวนยางโค่นยางเพิ่มจากไร่ละ 16,000 บาท เป็น 26,000 บาท ซึ่งจะทำให้สามารถลดพื้นที่ปลูกยางลงได้ร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ และจะทำให้ผลผลิตยางหายไป 2 ล้านตัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางสูงขึ้น

คนคิด ก็คิดกันไป วันหนึ่งบอกให้ปลูกยางเพิ่ม วันดีคืนร้าย บอกให้โค่นยางทิ้ง ทั้งให้ปลูกยางเพิ่ม และโค่นยางทิ้งล้วนแต่ใช้งบประมาณมหาศาล ก่อนจะออกมาเป็นนโยบาย และนำไปสู่การปฏิบัติ คิดกันให้รอบคอบก่อนดีไหม....

แว่นขยาย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'พิชัย'ยังไม่ตัดสินใจ! ปมเรียกค่าเสียหาย'ยิ่งลักษณ์'หมื่นล้าน คดีจำนำข้าว

เตรียมยกของขึ้นที่สูง! ปภ.ส่ง Cell Broadcast เตือน'อ่างทอง-อยุธยา'เฝ้าระวังน้ำท่วม

'ต่าย เพ็ญพักตร์'แฮปปี้ชีวิตโสด ถ้ามีแฟนแล้วไม่ช่วยอะไรก็อยู่คนเดียวได้!!

’นายกฯอิ๊งค์‘มอบนโยบายปราบยาเสพติด ปลื้ม 3 เดือน‘Seal Stop Safe’เห็นผลชัด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved